อโยธยา (ต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงฯครั้งที่ ๑) ก่อตั้งมาด้วยการร่วมมือกันของ ๒ ราชวงศ์ หรือ ๒ กลุ่มการเมือง อันได้แก่ กลุ่มของพระเจ้าอู่ทองที่มาจากละโว้ (ลพบุรี) และกลุ่มของขุนหลวงพ่องั่วจากสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) การร่วมมือกันของชนชั้นนำเช่นนี้เข้ากันได้กับทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่เรียกว่า “พหุชนชั้นนำ” (Phural Elites)
ทฤษฎีพหุชนชั้นนำ (Phural Elites)
ทฤษฎีพหุชนชั้นนำเกิดจากการคลี่คลายความสุดโต่งของ ๒ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีชนชั้นนำนิยม (Elitism) ที่อธิบายว่า แต่ละสังคมไม่ได้มีความเท่าเทียมกัน แต่ประกอบไปด้วยชนชั้นต่างๆ โดยอำนาจจะตกอยู่กับชนชั้นที่เรียกว่า “ชนชั้นนำ” (elite) ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็กๆ ทฤษฎีนี้มักถูกเปรียบเทียบกับรูปปิระมิดซึ่งแบ่งเป็นชั้นๆ โดยส่วนยอดซึ่งเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของรูปก็คือชนชั้นนำซึ่งกุมอำนาจทางการเมืองไว้นั่นเอง
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีพหุนิยม (Phuralism) ซึ่งอธิบายว่า สังคมประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆที่มีส่วนผลักดันให้รัฐกำหนดนโยบายที่กลุ่มของตนต้องการ บางครั้งทฤษฎีนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับลูกบิลเลียดที่กระทบชิ่งกันไปมา อันเปรียบได้กับกลุ่มต่างๆที่ทั้งต่อสู้กันเองและกดดันรัฐให้ออกนโยบายที่ตนต้องการไปพร้อมๆกัน
เมื่อนำจุดแข็งของทั้ง ๒ ทฤษฎีมารวมกันก็จะได้เป็นแนวคิดที่อธิบายว่า แต่ละสังคมนั้นมีชนชั้น และในสังคมก็มีหลายกลุ่มก้อนด้วย ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีชนชั้นนำของตน เช่น ในกลุ่มกรรมกรก็มีชนชั้นนำ กลุ่มทุนก็มีชนชั้นนำ ดังนั้น ชนชั้นนำของแต่ละกลุ่มจึงต้องอยู่ในสภาวะที่ต่อรองกัน หากชนชั้นนำของทั้งสองกลุ่มตกลงกันได้ที่เรียกว่า “การตกลงยินยอมร่วมกันของชนชั้นนำ” (elite accommodation) หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างกลุ่มต่างๆ การร่วมมือกันก็ย่อมเกิดขึ้นได้
การก่อตั้งอโยธยาศรีรามเทพนคร: การตกลงยินยอมร่วมกันของ ๒ แคว้น
เมื่อนำทฤษฎีนี้มาใช้มองการก่อตั้งอาณาจักรอโยธยาก็จะได้ว่า ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีกลุ่มอำนาจทางการเมืองที่สำคัญ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เมืองละโว้ กับกลุ่มที่เมืองสุพรรณภูมิ แต่ละกลุ่มมีชนชั้นนำ ได้แก่ พระเจ้าอู่ทองและขุนหลวงพ่องั่วตามลำดับ ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาพบว่า อาณาจักรแห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าเป็นหลัก ดังนั้น ชนชั้นนำของทั้งสองกลุ่มคงเกิดการต่อรองแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อสร้างศูนย์กลางทางการค้าขึ้นมา ซึ่งได้แก่ เกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยการต่อรองหรือตกลงกันครั้งนั้นเปิดโอกาสให้พระเจ้าอู่ทองได้เป็นกษัตริย์ของแคว้นใหม่ที่จะก่อตั้งขึ้น
นี่คือภาพการก่อตั้งอาณาจักรอโยธยาขึ้น โดยอาศัยการตกลงต่อรองกันระหว่าง ๒ กลุ่มอำนาจ ซึ่งในที่นี้อาจเป็นการตกลงกันภายในเครือญาติ เพราะปรากฏในเอกสารบางชิ้นว่า พระเจ้าอู่ทองกับขุนหลวงพ่องั่วนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน และคงไม่แปลกหากจะบอกว่าพระเจ้าอู่ทองเกิดหรือมีความเกี่ยวข้องกับเมืองโบราณอู่ทอง ในเขตแคว้นสุพรรณภูมิ ขณะที่วงศ์จากละโว้กับสุพรรณภูมิคงต่างได้มีความสัมพันธ์กันโดยการแต่งงานอย่างน้อยก็ ๒-๓ ชั่วอายุคน จนวงศ์ทั้งสองดูจะกลายเป็นวงศ์เดียวกันจนแยกได้ยาก หากแต่มีศูนย์อำนาจ ๒ แห่ง และผู้นำของแต่ละศูนย์อำนาจคงสืบทอดตามสายผู้ชาย ขณะที่พระราชมารดาของผู้นำอาจเป็นเจ้าหญิงของอีกแคว้น ซึ่งกรณีพระเจ้าอู่ทองก็คงอยู่ในกรณีนี้ด้วย โดยชื่ออู่ทองอาจเป็นการแสดงที่มาของพระราชมารดา หรือเป็นการบอกว่ามีอำนาจเหนือเมืองดังกล่าวด้วยก็ได้ (โดยอ้างความเป็นเครือญาติกับแคว้นสุพรรณภูมิ) ในสมัยของขุนหลวงพ่องั่วและพระเจ้าอู่ทอง ความสัมพันธ์ของทั้งสองแคว้นคงมาถึงจุดสุกงอมพอที่จะตกลงเพื่อลงทุนร่วมกันในการก่อตั้งเมืองท่าบนเกาะใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีการตกลงจัดสรรผลประโยชน์กันในหมู่เครือญาติอย่างลงตัว
เราจะเห็นได้ว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองสามารถขยายอำนาจไปทางหัวเมืองเหนือ เข้ายึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้ พระเจ้าอู่ทองก็เวนเมืองให้ขุนหลวงพ่องั่ว แต่ปรากฏว่าพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยในขณะนั้นได้ถวายบรรณาการเป็นอันมากจนได้เมืองคืนไป ซึ่งคงมีการตกลงผลประโยชน์กันอย่างมหาศาลพอที่จะแลกเมืองคืนไปได้ เป็นอันว่าขุนหลวงพ่องั่วก็ต้องกลับมาที่สุพรรณภูมิตามเดิม แต่ก็สะท้อนการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างชัดเจน
พระเจ้าอู่ทองสวรรคต: จุดเริ่มแห่งการเสื่อมสลายของการตกลงร่วมกัน
แต่แล้วเหตุการณ์ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ.๑๙๑๒) กลับแสดงให้เห็นดุลยภาพที่ค่อยๆเสื่อมลงระหว่างกลุ่มการเมืองที่ร่วมกันก่อตั้งอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยพระราเมศวรที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาถูกขุนหลวงพ่องั่วผู้เป็นญาติฝ่ายแม่ (อาจเป็นพี่ของพระราชมารดา) เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจ โดยพระราเมศวรต้องกลับไปแคว้นละโว้ตามเดิม ก่อนจะกลับมาทวงอำนาจคืนในภายหลัง การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองของทั้ง ๒ กลุ่มดำเนินไปจนกระทั่งเจ้านครอินทร์แห่งกลุ่มแคว้นสุพรรณภูมิสามารถยึดอำนาจไว้ได้ใน พ.ศ.๑๙๕๒
ถ้าหากใช้ทฤษฎีพหุชนชั้นนำมาทำความเข้าใจ นี่ก็คงเป็นสถานการณ์ที่เกิดจากการตกลง หาข้อลงตัวกันไม่ได้อีกต่อไประหว่างชนชั้นนำของทั้ง ๒ กลุ่ม ซึ่งอยู่ที่เรื่องของอำนาจทางการเมืองที่สัมพันธ์กับอำนาจทางเศรษฐกิจอันหอมหวานด้วยนั่นเอง พระเจ้าอู่ทองอาจได้รับการยอมรับจากทั้ง ๒ กลุ่ม แต่ไม่ได้หมายความว่าพระราเมศวรจะได้รับการยอมรับเหมือนกับพระราชบิดาของพระองค์ ดังนั้น ขุนหลวงพ่องั่วซึ่งมีทั้งอำนาจและการยอมรับในระดับที่สูงกว่า ประกอบเข้ากับความต้องการอำนาจและผลประโยชน์จึงเข้ายึดอำนาจจากพระราชนัดดาของพระองค์
พระราเมศวร: จุดเปลี่ยนผ่านสู่ความแตกแยก
หลังจากชนชั้นนำที่ได้ร่วมตกลงกันก่อตั้งอโยธยาขึ้นมาสิ้นพระชนม์ไปทั้งคู่ (ขุนหลวงพ่องั่วสวรรคต พ.ศ.๑๙๓๑) ดุลยภาพระหว่าง ๒ วงศ์จึงยากที่จะดำรงอยู่เช่นกัน พระราเมศวรทำรัฐประหารพระเจ้าทองลันแทบจะทันทีที่ขุนหลวงพ่องั่วสวรรคต จะเห็นได้ว่า เพียงแค่ชนชั้นนำในรุ่นลูกก็ไม่อาจรักษาการตกลงร่วมกันไว้ได้แล้ว และดูจะเข้าสู่การขับเคี่ยวกันระหว่าง ๒ วงศ์อย่างเต็มตัว เอกสารจีนบ่งชี้ว่าทั้งสองวงศ์ต่างพยายามหาความชอบธรรมในราชสมบัติด้วยการแข่งกันส่งทูตไปยังพระเจ้ากรุงจีน อย่างไรก็ดี อาจด้วยการเตรียมสรรพกำลังของพระราเมศวรหลังถูกพระปิตุลายึดอำนาจไป และอาจรวมถึงพระญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองวงศ์ที่ยังมองเห็นความเป็นเครือญาติ จึงสามารถส่งเสริมให้พระองค์ยังรักษาอำนาจไว้ได้จนพระชนมายุขัยไปเอง เมื่อ พ.ศ.๑๙๓๘
ต่อจากพระราเมศวร ก็คือชนชั้นนำในรุ่นหลานของพระเจ้าอู่ทองและขุนหลวงพ่องั่ว อันได้แก่ สมเด็จพระรามราชา จากกลุ่มแคว้นละโว้ และเจ้านครอินทร์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระอินทราธิราช) จากกลุ่มแคว้นสุพรรณภูมิ ซึ่งไม่ได้ร่วมตกลงกัน และต่างมีผลประโยชน์ของตนเองที่ต่างไปจากเมื่อครั้งบรรพบุรุษที่เคยมองเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งสองพระองค์ได้แข่งกันส่งทูตไปยังพระเจ้ากรุงจีนเพื่อหาความชอบธรรมในราชบัลลังก์ (ซึ่งแน่นอนว่า จีนยังสามารถสื่อถึงจุดหมายทางการค้าได้อีกด้วย) แม้จะเคยมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติที่แน่นแฟ้นก็ตาม แต่เป็นไปได้ว่า ความสัมพันธ์ทางเครือญาติได้ค่อยๆห่างเหินกันไป เพราะฝ่ายกลุ่มสุพรรณภูมิดูจะไปมีความสัมพันธ์เช่นนี้กับทางฝ่ายราชวงศ์พระร่วง หรือราชวงศ์สุโขทัยทางตอนเหนือมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมาถึงจุดนี้จึงไร้ที่ยึดเหนี่ยวที่จะดึงให้ผลประโยชน์ของทั้งสองกลุ่มกลับมาประสานกันอีกครั้ง และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่ควบคู่มากับอำนาจทางการเมือง (ซึ่งอาจมากกว่าที่บรรพบุรุษของทั้งสองกลุ่มคิดไว้มาก) คงเป็นอีกแรงหนุนให้การตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างชนชั้นนำทั้งสองกลุ่มสั่นคลอนและสลายลง จนกระทั่งเจ้านครอินทร์ (ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าหญิงสุโขทัยด้วย) ได้ยึดอำนาจไว้ได้เมื่อ พ.ศ.๑๙๕๒
สรุป
สรุปแล้ว เมื่อมองการเมืองต้นอยุธยา (หรือสมัยอโยธยา) ผ่านทฤษฎีพหุชนชั้นนำแล้วก็พบว่า มีความเป็นไปได้ที่ชนชั้นนำของ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มของพระเจ้าอู่ทองที่ละโว้ กับกลุ่มของขุนหลวงพ่องั่วที่สุพรรณภูมิ ซึ่งคงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันได้ต่อรองและตกลงกันตั้งอโยธยาศรีรามเทพนครเพื่อเป็นเมืองท่าการค้ากลางลำน้ำเจ้าพระยา โดยมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้จัดสรรกันอย่างลงตัวเป็นที่ตั้ง แต่ต่อมา ดุลยภาพที่เคยมีอยู่กลับค่อยๆลดลง จนกระทั่งขุนหลวงพ่องั่ว คู่เจรจาพระองค์สุดท้ายได้สวรรคตไปเมื่อ พ.ศ.๑๙๓๘ ดุลยภาพนั้นก็ขาดสะบั้นลง เพราะกลุ่มชนชั้นนำรุ่นใหม่ไม่ได้ร่วมตกลงด้วยแม้แต่ในรุ่นลูก และต่างมีผลประโยชน์ส่วนตัว ต่างไปจากบรรพบุรุษของตนที่มองเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะที่ความสัมพันธ์ด้านเครือญาติค่อยๆถอยห่างและไร้ซึ่งความรู้สึกถึงความเป็นญาติไป จนในที่สุดนำไปสู่การแย่งชิงราชสมบัติกันโดยจบลงที่ฝ่ายวงศ์จากสุพรรณภูมิสามารถกุมสถานการณ์ไว้ได้ และกลายเป็นราชวงศ์ที่มีกษัตริย์ครองราชย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์อยุธยา
เอกสารประกอบการเขียน
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน,๒๕๕๓.
ขอบคุณทฤษฎีจากอาจารย์เซษฐา พวงหัตถ์ครับ (เคยสอนไว้)
๒๗-๑๒-๑๐
วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ชำแหละ Episode I
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย…..”
ก่อนเคารพธงชาติ คุณคุ้นชินกับข้อความเช่นนี้ใช่ไหม?
และขณะที่รับฟังคุณมีความรู้สึกร่วมใช่หรือไม่?
นั่นคือเหตุผลให้บทความนี้เกิดขึ้นเพื่อชำแหละข้อความเหล่านี้ และเตือนสติมิให้หลงไปกับข้อความชาตินิยมเช่นนี้
สิ่งที่ปรากฏในข้อความก่อนเคารพธงชาติที่เห็นเด่นชัด คือ
๑. นิยามของ ๐ความเป็น (คน/ประชาชน) ไทย๐ คือ ชาติ (ไทย) ศาสนา (พุทธ) และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบชาตินิยมรุ่นแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สร้างขึ้นมา เมื่อมีความเป็นไทยก็ต้องมีความไม่เป็นไทย เช่น ชาติกะเหรี่ยง ชาติพม่า ชาติมอญ ชาติมลายู-มุสลิม ชาติลาว ชาติญวน ชาติจีน ฯลฯ รวมถึงคนเสื้อแดงที่ถูกเหมารวมจากสังคมว่าล้มเจ้า
ความเป็นไทยเช่นนี้ก่อให้เกิดประชาชนชั้นสอง (หรืออาจมากชั้นกว่านั้น) โดยเฉพาะกับคนที่ไม่เป็นไทยตามความเป็นไทยข้างต้น เช่น น้องก้านธูปที่ถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร เพราะมีความคิดต่างจาบจ้วงสถาบันอันเป็นที่รักของชาวไทย ทั้งที่การจะเป็นไทยในยุครัฐชาติ คือ เรื่องของสัญชาติ และภักดีต่อรัฐมิใช่ต่อกลุ่มของตน (เช่น กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มศาสนา ฯลฯ) และแน่นอนว่าประชาธิปไตยยอมรับในเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดความหลากหลายอย่างเท่าเทียม
ดังนั้น นี่คือการสร้างความขัดแย้ง สร้างกลุ่มย่อย (ที่ไม่ใช่ไทยตามนิยามความเป็นไทย) มากกว่าการสร้างเอกภาพ ด้วยการเก็บกดปิดกั้นอัตลักษณ์ที่หลากหลายด้วย “ความเป็นไทย” แทนที่จะสร้างความยอมรับในความหลากหลาย (ซึ่งรวมถึงทางความคิดด้วย) และในที่สุด ก็จะเกิดการปะทะของกลุ่มย่อย ดังเช่น ความรุนแรงใน ๓-๔ จังหวัดชายแดนใต้นั่นเอง
๒. เราควรภูมิใจในเอกราชอย่างไร? เราควรภูมิใจที่เคยเสียพ่ายแพ้เสียท่าแก่พม่าข้าศึก ๒ ครั้งในประวัติศาสตร์ รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกเพียงชาติเดียวในอุษาคเนย์?
ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็ตกอยู่ภายใต้วังวนของประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม/ล้าหลัง-คลั่งชาติ ที่เส้นพรมแดนถูกขีดมาตั้งแต่อดีตกาล และมีความเชื่อมโยงจากสุโขทัยจนถึงกรุงเทพฯ คนในเส้นพรมแดนแต่ละยุคคือคนไทย แล้วก็พี่ไทยนี่เองที่เก่งที่สุดในสามโลก ซึ่งมันเหลวไหลทั้งเพ!
เอาเรื่องแรกก่อน คือ กรณีกับพม่าข้าศึก (ตลอดกาลในประวัติศาสตร์?) เรื่องนี้ยาว ต้องย้อนไปอธิบายว่า เส้นพรมแดนของรัฐสยามที่ต่อมาเป็นรัฐไทยเพิ่งถูกลากเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ปฏิรูปการปกครอง (เริ่มใน พ.ศ.๒๔๓๕) รวบ (ริบ) อำนาจเจ้าประเทศราชทั้งหลาย และ (ซ้ำร้าย) ยึดดินแดนของเจ้าประเทศราชเหล่านั้นมาเป็นของตน (และเอาบางส่วนไปแลกกับสิ่งอื่นอันเป็นประโยชน์แก่ตนเอง เช่น แลกหัวเมืองมลายูกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับอังกฤษ) นี่คือจุดเริ่มต้นของรัฐชาติไทยในปัจจุบันที่มีเส้นแดนแน่นอน (และจุดเริ่มต้นกลายๆของขบวนการแบ่งแยกดินแดนชายแดนใต้)
และแน่นอน เราต้องรู้ด้วยว่าในอดีต ระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นเป็นเรื่องของการยอมรับอำนาจ รัฐเล็กยอมรับอำนาจรัฐใหญ่ ซึ่งนั่นก็คือระบบประเทศราชหรือบรรณาการนั่นเอง เรามักรับรู้ว่ารัฐประเทศราชหรือเมืองประเทศราชนั้นก็คือส่วนหนึ่งของรัฐ เพราะประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมวาดแผนที่รัฐสยามแต่ละยุคขึ้นมาแบบแผนที่ปัจจุบันที่มีเขตแดนแน่นอน คำอธิบายที่ควรจะเป็นคือ รัฐประเทศราชนั้นเพียงแต่ยอมรับอำนาจผ่านการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ผ่านการส่งกำลังคนไปช่วยรัฐที่ตนยอมรับอำนาจ และเช่นเดียวกัน ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าก็มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองรัฐที่อำนาจน้อยกว่านั้นด้วย เป็นระบบความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนที่สร้างความพอใจให้แก่ทั้งสองฝ่ายพอสมควร (อย่างน้อยปัตตานีก็พอใจที่จะอยู่ภายใต้ระบบคสามสัมพันธ์นี้มากกว่าถูกผนวกเข้าในรัฐชาติสยาม)
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็คงพอจะเดาได้ว่า ความหมายของคำว่า “เอกราช” ในอดีตและปัจจุบันคงมิได้พ้องกันเป็นแน่ ธงชัย วินิจจะกูล อธิบายว่า เอกราช หรืออิสรภาพ มิได้เพียงหมายถึง การเป็นราชาผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เป็นสองรองใคร ภาวะไม่อยู่ใต้อำนาจผู้อื่น แต่ยังหมายรวมถึง “การเป็นราชาธิราชเหนือราชาอื่น” คำถามจึงเกิดว่า เราเป็นหรือมีเอกราชต่อพม่าจริงๆหรือ? ลองนึกภาพแผนที่ในปัจจุบันก็ได้ อยุธยาเคยรุกคืบเข้าไปในดินแดนพม่าได้เกินหัวเมืองมอญหรือ? อยุธยาเคยไปปลงพระชนม์กษัตริย์พม่าได้หรือ? แล้วอยุธยาจะมีเอกราชได้อย่างไร? อยุธยาสนใจการค้ามากกว่าที่จะสนใจการเป็นราชาเหนือราชา (แม้แต่พระนเรศวร เมื่อตัดขาดความสัมพันธ์กับพม่า แม้พระเจ้าบุเรงนองจะสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็ไม่ได้ขยายอำนาจไปสู่พม่า) ถ้าจะเป็นราชาเหนือราชาก็เพียงแต่รัฐเล็กๆ มิใช่รัฐใหญ่ที่มีอำนาจในระดับเดียวกันอย่างพม่า เช่น เขมร ล้านนา ปัตตานี ฯลฯ ซึ่งดูแล้วเกี่ยวข้องกับการค้าทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน ดูเหมือนว่าพม่าต่างหากที่เป็นฝ่ายที่มีเอกราช (หรือพยายามมีเอกราช) ต่อสยาม และก็เป็นได้อย่างน้อยตั้ง ๒ ครั้ง เป็นอันว่า อยุธยา มิได้เป็นเอกราชตามความหมายในยุคจารีต และมิได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าความรุ่งเรืองด้านการค้า ซึ่งสุดท้ายความเจริญทางการค้าที่ทำลายระบบการเมืองและสังคม (โดยเฉพาะระบบควบคุมคน) ก็มีส่วนให้อยุธยาล่มสลายไปในที่สุด
อีกกรณี คือ การไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ในขณะที่รัฐเล็กรัฐน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อยๆตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจไปทีละรัฐสองรัฐ นี่เป็นความภูมิใจอย่างสูงสุดของใครหลายคนที่ประเทศของตนสามารถต่อกรกับมหาอำนาจทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศสได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ และรักษาเอกราช (ตามความหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับดินแดน และอำนาจอธิปไตยแบบรัฐชาติสมัยใหม่) ไว้ได้ ขณะที่กษัตริย์ของพวกเขาได้รับเครดิตไปอย่างท่วมท้น
แต่เรื่องที่พวกเขาไม่เคยรู้ หรือจงใจปิดหูปิดตาคือ สยาม (แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา) ที่โชคดีอย่างที่สุด เพราะอยู่ตรงกลางของภูมิภาคถูกอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงให้เป็นรัฐกันชน (buffer state) จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน และชะตากรรมของสยามก็ไม่ได้ดีเด่ไปกว่าชาติอื่นรัฐอื่น ทั้งโดนขูดรีด เอาเปรียบ (เพียงแต่ระดับก็คงน้อยกว่า) สนธิสัญญาเบาว์ริงที่การเรียนการสอนพยายามกลบๆความขายหน้าด้วยการสรรเสริญว่าเป็นการเริ่มต้นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของสยามประเทศ ทั้งที่นั่นคือจุดเริ่มต้นของสนธิสัญญาแบบเสียเปรียบของสยามที่นานาประเทศจะประดังประเดเข้ามาทำแบบนี้อีกกว่า ๒๐ ประเทศ การค่อยๆรุกคืบเข้ามาในเขตอิทธิพลของสยาม แม้แต่เมื่อสยามกลายสภาพจากรัฐจารีตเป็นรัฐชาติแล้ว (empire สู่ kingdom) สยามก็ไม่อาจต้านทานอะไรได้ ดูกรณี ร.ศ.๑๑๒ ที่สยามมิได้มีความสามารถจะไปสู้อะไรกับใครได้ และการกลายสภาพจากรัฐจารีตสู่รัฐชาติที่สร้างปัญหาวุ่นวายไม่เฉพาะในภาคใต้ แต่ตามภาคเหนือ-อีสาน ก็มีกบฏผีบุญ/ผู้มีบุญเกิดขึ้นนั้น มิใช่ความจำเป็นและแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมที่กำลังเข้าประชิดสยามหรอกหรือ? เช่นเดียวกับการสร้างความทันสมัยที่ทำให้กษัตริย์สยามพระองค์หนึ่งได้รับการยกย่องจากชาวสยามในปัจจุบันอย่างสูงก็มิใช่เพราะมหาอำนาจที่มาจ่ออยู่หน้าประตูบ้านหรอกหรือ? และนี่คือความน่าภาคภูมิใจในเอกราชของประเทศ (ไม่อยากใช้คำว่าชาติ) ใช่หรือไม่? เชิญตัดสินด้วนตัวท่านเอง
ความจริงยังมีอีกกรณีหนึ่ง คือ กรณีญี่ปุ่นช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเคยถูกอธิบายว่าเป็นมิตรประเทศที่มีความเท่าเทียมกัน แต่แท้จริงแล้วต่างกัน และไทยก็ราวกับลูกไก่ในกำมือญี่ปุ่น ญี่ปุ่นคือนาย และไทยต้องยอมญี่ปุ่นไปเสียทุกอย่าง นี่คือความสัมพันธ์ตามความเป็นจริง แต่นิยายเรื่องคู่กรรมคงสร้างความตรึงใจจนคนไทยอาจจะสับสนและทำเป็นลืมมันไปเสีย ทั้งที่นี่คือหน้าประวัติศาสตร์ที่อาจเรียกได้ว่าไทยเสียเอกราช (ตามความหมายปัจจุบัน)
๓. ความเสียสละของบรรพบุรุษไทยที่เราควรภูมิใจคือใคร? คนอย่างเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จะเป็นความภาคภูมิใจของราชสำนักสยามหรือไม่? ตนกูอับดุล กาเดร์ สุลต่านองค์สุดท้ายของปัตตานีเป็นวีรบุรุษของคนไทยทุกคนหรือไม่? ชาวบ้านบางระจันมีบุญคุณอะไรต่อสงขลาหรือเปล่า? ฯลฯ คำถามพวกนี้อธิบายคำถามแรกได้เป็นอย่างดี
บรรพบุรุษของคนในรัฐไทยปัจจุบันเคยต่อสู้ แย่งชิง หรือแม้แต่ฆ่าฟันกัน นี่คือความจริงที่อาจเลวร้ายสำคัญบางคนที่มองประวัติศาสตร์ตามแบบชาตินิยม คือ คนไทยฆ่ากัน คนไทยแตกสามัคคี แต่อย่างที่อธิบายไปเมื่อข้อที่แล้ว รัฐไทยที่มีเขตแดนชัดเจนเพิ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ (ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีเท่านั้น) ก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลาง (ขอนับแค่ อยุธยา-กรุงเทพฯ ไม่ขอนับสุโขทัย เพราะสุโขทัย-อยุธยา ดูเป็นศัตรูกันกว่าจะมีความต่อเนื่องกัน ความต่อเนื่องของอยุธยาควรมาจากรัฐเล็กรัฐน้อย เช่น สุพรรณบุรี ละโว้ เสียมากกว่า) กับรัฐประเทศราชยังคงเป็นแบบจารีต แน่นอนว่ารัฐเล็กย่อมต้องยอมรับอำนาจรัฐใหญ่ แต่เมื่อรัฐใหญ่อำนาจอ่อนลง แผ่อำนาจไปไม่ถึงรัฐเล็ก รัฐที่อำนาจด้อยกว่านั้นก็พร้อมจะหลุดออกจากระบบความสัมพันธ์กับรัฐใหญ่ (ดูช่วงเสียกรุงครั้งที่ ๒ ซึ่งบ้านเมืองมีก๊กเต็มไปหมด ซึ่งจริงๆก็คืออำนาจของท้องถิ่นต่างๆที่หลุดออกจากระบบความสัมพันธ์) ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาของรัฐในอดีตที่ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของรัฐไทยที่จะต่อสู้ ฆ่าฟันกัน
บางคนบอกว่า ก็พระนเรศวรไง ผมไม่รู้ว่าท่านเคยไปรบรากับใครที่ไหนบ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยพยายามลืม หรือถูกพยายามทำให้ลืม คือ พระราชบิดาของท่าน อันได้แก่พระมหาธรรมราชา ก็คือผู้ที่ช่วยพม่าเอาชนะอยุธยา (อโยธยา) ในคราวเสียกรุง ครั้งแรก ฟังดูอาจไม่เข้าท่า ตีวัวกระทบคราด ตีพ่อกระทบลูก เอาอย่างนี้แล้วกัน พระนเรศวรเคยไปทำอะไรให้ปัตตานีหรือไม่? เคยไปทำอะไรให้ภาคอีสานหรือไม่? เท่านี้ก็คงพอนึกภาพออกว่า แต่ละที่ก็มีบรรพบุรุษของตนเอง แต่สิ่งที่ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมสื่อออกมานั้นผ่านทฤษฎีที่ธงชัย วินิจจะกูล (ไม่รู้คนอื่นเรียกก่อนหรือไม่) เรียกว่า “ทฤษฎีมหาบุรุษ” คือ การยกกษัตริย์ หรือบุคคลของส่วนกลางที่เก่งกล้า มีผลงานโดดเด่นขึ้นมาเป็นวีรบุรุษแห่งชาติ เช่น พระนเรศวร ชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น กล่าวคือ ประวัติศาสตร์แนวนี้เน้นศูนย์กลาง วีรบุรุษเหล่านี้จึงเป็นเพียงวีรบุรุษของส่วนกลางเท่านั้น และอาจมีความพยายามกลบวีรบุรุษของพื้นที่อื่นๆด้วย แล้วทีนี้ บรรพบุรุษไทยที่ควรภูมิใจอยู่ที่ไหน? ตอบง่ายๆว่า มันไม่มี ..
ขอทิ้งท้ายบทความด้วยคำกล่าวของ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นกรอบเล็กๆในมติชนสุดสัปดาห์เมื่อหลายปีก่อน ขณะที่ปัญหาชายแดนใต้กำลังรุนแรงยุคทักษิณ
“การแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยเฉพาะการลดความเกลียดชังในสังคมไทยจะเป็นไปได้ก็ต่อเมี่อ สังคมไทยตระหนักว่าความแตกต่างในสังคมซึ่งประกอบด้วยผู้คนหลากหลายที่ตระหนักรับรู้ความจริงแตกต่างกันมิใช่ปัญหา แต่เป็นพลังสร้างสรรค์ที่จะนำพาสังคมไปสู่สันติธรรมได้”
หยุดชาตินิยมไร้สาระ ที่พาลแต่จะนำความแตกแยก ร้าวฉานมาสู่สังคมและเพื่อนบ้าน แล้วก้าวข้ามมันสู่สังคมแห่งความหลากหลายที่สร้างสรรค์ ปรองดองทั้งในและระหว่างประเทศ!
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย…..”
ก่อนเคารพธงชาติ คุณคุ้นชินกับข้อความเช่นนี้ใช่ไหม?
และขณะที่รับฟังคุณมีความรู้สึกร่วมใช่หรือไม่?
นั่นคือเหตุผลให้บทความนี้เกิดขึ้นเพื่อชำแหละข้อความเหล่านี้ และเตือนสติมิให้หลงไปกับข้อความชาตินิยมเช่นนี้
สิ่งที่ปรากฏในข้อความก่อนเคารพธงชาติที่เห็นเด่นชัด คือ
๑. นิยามของ ๐ความเป็น (คน/ประชาชน) ไทย๐ คือ ชาติ (ไทย) ศาสนา (พุทธ) และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบชาตินิยมรุ่นแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สร้างขึ้นมา เมื่อมีความเป็นไทยก็ต้องมีความไม่เป็นไทย เช่น ชาติกะเหรี่ยง ชาติพม่า ชาติมอญ ชาติมลายู-มุสลิม ชาติลาว ชาติญวน ชาติจีน ฯลฯ รวมถึงคนเสื้อแดงที่ถูกเหมารวมจากสังคมว่าล้มเจ้า
ความเป็นไทยเช่นนี้ก่อให้เกิดประชาชนชั้นสอง (หรืออาจมากชั้นกว่านั้น) โดยเฉพาะกับคนที่ไม่เป็นไทยตามความเป็นไทยข้างต้น เช่น น้องก้านธูปที่ถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร เพราะมีความคิดต่างจาบจ้วงสถาบันอันเป็นที่รักของชาวไทย ทั้งที่การจะเป็นไทยในยุครัฐชาติ คือ เรื่องของสัญชาติ และภักดีต่อรัฐมิใช่ต่อกลุ่มของตน (เช่น กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มศาสนา ฯลฯ) และแน่นอนว่าประชาธิปไตยยอมรับในเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดความหลากหลายอย่างเท่าเทียม
ดังนั้น นี่คือการสร้างความขัดแย้ง สร้างกลุ่มย่อย (ที่ไม่ใช่ไทยตามนิยามความเป็นไทย) มากกว่าการสร้างเอกภาพ ด้วยการเก็บกดปิดกั้นอัตลักษณ์ที่หลากหลายด้วย “ความเป็นไทย” แทนที่จะสร้างความยอมรับในความหลากหลาย (ซึ่งรวมถึงทางความคิดด้วย) และในที่สุด ก็จะเกิดการปะทะของกลุ่มย่อย ดังเช่น ความรุนแรงใน ๓-๔ จังหวัดชายแดนใต้นั่นเอง
๒. เราควรภูมิใจในเอกราชอย่างไร? เราควรภูมิใจที่เคยเสียพ่ายแพ้เสียท่าแก่พม่าข้าศึก ๒ ครั้งในประวัติศาสตร์ รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกเพียงชาติเดียวในอุษาคเนย์?
ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็ตกอยู่ภายใต้วังวนของประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม/ล้าหลัง-คลั่งชาติ ที่เส้นพรมแดนถูกขีดมาตั้งแต่อดีตกาล และมีความเชื่อมโยงจากสุโขทัยจนถึงกรุงเทพฯ คนในเส้นพรมแดนแต่ละยุคคือคนไทย แล้วก็พี่ไทยนี่เองที่เก่งที่สุดในสามโลก ซึ่งมันเหลวไหลทั้งเพ!
เอาเรื่องแรกก่อน คือ กรณีกับพม่าข้าศึก (ตลอดกาลในประวัติศาสตร์?) เรื่องนี้ยาว ต้องย้อนไปอธิบายว่า เส้นพรมแดนของรัฐสยามที่ต่อมาเป็นรัฐไทยเพิ่งถูกลากเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ปฏิรูปการปกครอง (เริ่มใน พ.ศ.๒๔๓๕) รวบ (ริบ) อำนาจเจ้าประเทศราชทั้งหลาย และ (ซ้ำร้าย) ยึดดินแดนของเจ้าประเทศราชเหล่านั้นมาเป็นของตน (และเอาบางส่วนไปแลกกับสิ่งอื่นอันเป็นประโยชน์แก่ตนเอง เช่น แลกหัวเมืองมลายูกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับอังกฤษ) นี่คือจุดเริ่มต้นของรัฐชาติไทยในปัจจุบันที่มีเส้นแดนแน่นอน (และจุดเริ่มต้นกลายๆของขบวนการแบ่งแยกดินแดนชายแดนใต้)
และแน่นอน เราต้องรู้ด้วยว่าในอดีต ระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นเป็นเรื่องของการยอมรับอำนาจ รัฐเล็กยอมรับอำนาจรัฐใหญ่ ซึ่งนั่นก็คือระบบประเทศราชหรือบรรณาการนั่นเอง เรามักรับรู้ว่ารัฐประเทศราชหรือเมืองประเทศราชนั้นก็คือส่วนหนึ่งของรัฐ เพราะประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมวาดแผนที่รัฐสยามแต่ละยุคขึ้นมาแบบแผนที่ปัจจุบันที่มีเขตแดนแน่นอน คำอธิบายที่ควรจะเป็นคือ รัฐประเทศราชนั้นเพียงแต่ยอมรับอำนาจผ่านการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ผ่านการส่งกำลังคนไปช่วยรัฐที่ตนยอมรับอำนาจ และเช่นเดียวกัน ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าก็มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองรัฐที่อำนาจน้อยกว่านั้นด้วย เป็นระบบความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนที่สร้างความพอใจให้แก่ทั้งสองฝ่ายพอสมควร (อย่างน้อยปัตตานีก็พอใจที่จะอยู่ภายใต้ระบบคสามสัมพันธ์นี้มากกว่าถูกผนวกเข้าในรัฐชาติสยาม)
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็คงพอจะเดาได้ว่า ความหมายของคำว่า “เอกราช” ในอดีตและปัจจุบันคงมิได้พ้องกันเป็นแน่ ธงชัย วินิจจะกูล อธิบายว่า เอกราช หรืออิสรภาพ มิได้เพียงหมายถึง การเป็นราชาผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เป็นสองรองใคร ภาวะไม่อยู่ใต้อำนาจผู้อื่น แต่ยังหมายรวมถึง “การเป็นราชาธิราชเหนือราชาอื่น” คำถามจึงเกิดว่า เราเป็นหรือมีเอกราชต่อพม่าจริงๆหรือ? ลองนึกภาพแผนที่ในปัจจุบันก็ได้ อยุธยาเคยรุกคืบเข้าไปในดินแดนพม่าได้เกินหัวเมืองมอญหรือ? อยุธยาเคยไปปลงพระชนม์กษัตริย์พม่าได้หรือ? แล้วอยุธยาจะมีเอกราชได้อย่างไร? อยุธยาสนใจการค้ามากกว่าที่จะสนใจการเป็นราชาเหนือราชา (แม้แต่พระนเรศวร เมื่อตัดขาดความสัมพันธ์กับพม่า แม้พระเจ้าบุเรงนองจะสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็ไม่ได้ขยายอำนาจไปสู่พม่า) ถ้าจะเป็นราชาเหนือราชาก็เพียงแต่รัฐเล็กๆ มิใช่รัฐใหญ่ที่มีอำนาจในระดับเดียวกันอย่างพม่า เช่น เขมร ล้านนา ปัตตานี ฯลฯ ซึ่งดูแล้วเกี่ยวข้องกับการค้าทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน ดูเหมือนว่าพม่าต่างหากที่เป็นฝ่ายที่มีเอกราช (หรือพยายามมีเอกราช) ต่อสยาม และก็เป็นได้อย่างน้อยตั้ง ๒ ครั้ง เป็นอันว่า อยุธยา มิได้เป็นเอกราชตามความหมายในยุคจารีต และมิได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าความรุ่งเรืองด้านการค้า ซึ่งสุดท้ายความเจริญทางการค้าที่ทำลายระบบการเมืองและสังคม (โดยเฉพาะระบบควบคุมคน) ก็มีส่วนให้อยุธยาล่มสลายไปในที่สุด
อีกกรณี คือ การไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ในขณะที่รัฐเล็กรัฐน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อยๆตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจไปทีละรัฐสองรัฐ นี่เป็นความภูมิใจอย่างสูงสุดของใครหลายคนที่ประเทศของตนสามารถต่อกรกับมหาอำนาจทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศสได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ และรักษาเอกราช (ตามความหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับดินแดน และอำนาจอธิปไตยแบบรัฐชาติสมัยใหม่) ไว้ได้ ขณะที่กษัตริย์ของพวกเขาได้รับเครดิตไปอย่างท่วมท้น
แต่เรื่องที่พวกเขาไม่เคยรู้ หรือจงใจปิดหูปิดตาคือ สยาม (แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา) ที่โชคดีอย่างที่สุด เพราะอยู่ตรงกลางของภูมิภาคถูกอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงให้เป็นรัฐกันชน (buffer state) จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน และชะตากรรมของสยามก็ไม่ได้ดีเด่ไปกว่าชาติอื่นรัฐอื่น ทั้งโดนขูดรีด เอาเปรียบ (เพียงแต่ระดับก็คงน้อยกว่า) สนธิสัญญาเบาว์ริงที่การเรียนการสอนพยายามกลบๆความขายหน้าด้วยการสรรเสริญว่าเป็นการเริ่มต้นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของสยามประเทศ ทั้งที่นั่นคือจุดเริ่มต้นของสนธิสัญญาแบบเสียเปรียบของสยามที่นานาประเทศจะประดังประเดเข้ามาทำแบบนี้อีกกว่า ๒๐ ประเทศ การค่อยๆรุกคืบเข้ามาในเขตอิทธิพลของสยาม แม้แต่เมื่อสยามกลายสภาพจากรัฐจารีตเป็นรัฐชาติแล้ว (empire สู่ kingdom) สยามก็ไม่อาจต้านทานอะไรได้ ดูกรณี ร.ศ.๑๑๒ ที่สยามมิได้มีความสามารถจะไปสู้อะไรกับใครได้ และการกลายสภาพจากรัฐจารีตสู่รัฐชาติที่สร้างปัญหาวุ่นวายไม่เฉพาะในภาคใต้ แต่ตามภาคเหนือ-อีสาน ก็มีกบฏผีบุญ/ผู้มีบุญเกิดขึ้นนั้น มิใช่ความจำเป็นและแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมที่กำลังเข้าประชิดสยามหรอกหรือ? เช่นเดียวกับการสร้างความทันสมัยที่ทำให้กษัตริย์สยามพระองค์หนึ่งได้รับการยกย่องจากชาวสยามในปัจจุบันอย่างสูงก็มิใช่เพราะมหาอำนาจที่มาจ่ออยู่หน้าประตูบ้านหรอกหรือ? และนี่คือความน่าภาคภูมิใจในเอกราชของประเทศ (ไม่อยากใช้คำว่าชาติ) ใช่หรือไม่? เชิญตัดสินด้วนตัวท่านเอง
ความจริงยังมีอีกกรณีหนึ่ง คือ กรณีญี่ปุ่นช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเคยถูกอธิบายว่าเป็นมิตรประเทศที่มีความเท่าเทียมกัน แต่แท้จริงแล้วต่างกัน และไทยก็ราวกับลูกไก่ในกำมือญี่ปุ่น ญี่ปุ่นคือนาย และไทยต้องยอมญี่ปุ่นไปเสียทุกอย่าง นี่คือความสัมพันธ์ตามความเป็นจริง แต่นิยายเรื่องคู่กรรมคงสร้างความตรึงใจจนคนไทยอาจจะสับสนและทำเป็นลืมมันไปเสีย ทั้งที่นี่คือหน้าประวัติศาสตร์ที่อาจเรียกได้ว่าไทยเสียเอกราช (ตามความหมายปัจจุบัน)
๓. ความเสียสละของบรรพบุรุษไทยที่เราควรภูมิใจคือใคร? คนอย่างเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จะเป็นความภาคภูมิใจของราชสำนักสยามหรือไม่? ตนกูอับดุล กาเดร์ สุลต่านองค์สุดท้ายของปัตตานีเป็นวีรบุรุษของคนไทยทุกคนหรือไม่? ชาวบ้านบางระจันมีบุญคุณอะไรต่อสงขลาหรือเปล่า? ฯลฯ คำถามพวกนี้อธิบายคำถามแรกได้เป็นอย่างดี
บรรพบุรุษของคนในรัฐไทยปัจจุบันเคยต่อสู้ แย่งชิง หรือแม้แต่ฆ่าฟันกัน นี่คือความจริงที่อาจเลวร้ายสำคัญบางคนที่มองประวัติศาสตร์ตามแบบชาตินิยม คือ คนไทยฆ่ากัน คนไทยแตกสามัคคี แต่อย่างที่อธิบายไปเมื่อข้อที่แล้ว รัฐไทยที่มีเขตแดนชัดเจนเพิ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ (ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีเท่านั้น) ก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลาง (ขอนับแค่ อยุธยา-กรุงเทพฯ ไม่ขอนับสุโขทัย เพราะสุโขทัย-อยุธยา ดูเป็นศัตรูกันกว่าจะมีความต่อเนื่องกัน ความต่อเนื่องของอยุธยาควรมาจากรัฐเล็กรัฐน้อย เช่น สุพรรณบุรี ละโว้ เสียมากกว่า) กับรัฐประเทศราชยังคงเป็นแบบจารีต แน่นอนว่ารัฐเล็กย่อมต้องยอมรับอำนาจรัฐใหญ่ แต่เมื่อรัฐใหญ่อำนาจอ่อนลง แผ่อำนาจไปไม่ถึงรัฐเล็ก รัฐที่อำนาจด้อยกว่านั้นก็พร้อมจะหลุดออกจากระบบความสัมพันธ์กับรัฐใหญ่ (ดูช่วงเสียกรุงครั้งที่ ๒ ซึ่งบ้านเมืองมีก๊กเต็มไปหมด ซึ่งจริงๆก็คืออำนาจของท้องถิ่นต่างๆที่หลุดออกจากระบบความสัมพันธ์) ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาของรัฐในอดีตที่ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของรัฐไทยที่จะต่อสู้ ฆ่าฟันกัน
บางคนบอกว่า ก็พระนเรศวรไง ผมไม่รู้ว่าท่านเคยไปรบรากับใครที่ไหนบ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยพยายามลืม หรือถูกพยายามทำให้ลืม คือ พระราชบิดาของท่าน อันได้แก่พระมหาธรรมราชา ก็คือผู้ที่ช่วยพม่าเอาชนะอยุธยา (อโยธยา) ในคราวเสียกรุง ครั้งแรก ฟังดูอาจไม่เข้าท่า ตีวัวกระทบคราด ตีพ่อกระทบลูก เอาอย่างนี้แล้วกัน พระนเรศวรเคยไปทำอะไรให้ปัตตานีหรือไม่? เคยไปทำอะไรให้ภาคอีสานหรือไม่? เท่านี้ก็คงพอนึกภาพออกว่า แต่ละที่ก็มีบรรพบุรุษของตนเอง แต่สิ่งที่ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมสื่อออกมานั้นผ่านทฤษฎีที่ธงชัย วินิจจะกูล (ไม่รู้คนอื่นเรียกก่อนหรือไม่) เรียกว่า “ทฤษฎีมหาบุรุษ” คือ การยกกษัตริย์ หรือบุคคลของส่วนกลางที่เก่งกล้า มีผลงานโดดเด่นขึ้นมาเป็นวีรบุรุษแห่งชาติ เช่น พระนเรศวร ชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น กล่าวคือ ประวัติศาสตร์แนวนี้เน้นศูนย์กลาง วีรบุรุษเหล่านี้จึงเป็นเพียงวีรบุรุษของส่วนกลางเท่านั้น และอาจมีความพยายามกลบวีรบุรุษของพื้นที่อื่นๆด้วย แล้วทีนี้ บรรพบุรุษไทยที่ควรภูมิใจอยู่ที่ไหน? ตอบง่ายๆว่า มันไม่มี ..
ขอทิ้งท้ายบทความด้วยคำกล่าวของ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นกรอบเล็กๆในมติชนสุดสัปดาห์เมื่อหลายปีก่อน ขณะที่ปัญหาชายแดนใต้กำลังรุนแรงยุคทักษิณ
“การแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยเฉพาะการลดความเกลียดชังในสังคมไทยจะเป็นไปได้ก็ต่อเมี่อ สังคมไทยตระหนักว่าความแตกต่างในสังคมซึ่งประกอบด้วยผู้คนหลากหลายที่ตระหนักรับรู้ความจริงแตกต่างกันมิใช่ปัญหา แต่เป็นพลังสร้างสรรค์ที่จะนำพาสังคมไปสู่สันติธรรมได้”
หยุดชาตินิยมไร้สาระ ที่พาลแต่จะนำความแตกแยก ร้าวฉานมาสู่สังคมและเพื่อนบ้าน แล้วก้าวข้ามมันสู่สังคมแห่งความหลากหลายที่สร้างสรรค์ ปรองดองทั้งในและระหว่างประเทศ!
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เมืองราดอยู่ที่ไหน?
เมืองราด คือ เมืองของพ่อขุนผาเมือง ผู้ซึ่งได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยางขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากสุโขทัย เดิมมีความเชื่อว่าเมืองราดนั้นตั้งอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จนมีการสร้างตำนานไปต่างๆนานา รวมทั้งมีนำชื่อพ่อขุนผาเมืองไปตั้งชื่อสถานที่สำคัญ เช่น สะพานพ่อขุนผาเมือง แต่แนวคิดดังกล่าวมิได้มีหลักฐานมาสนับสนุนยืนยัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเกิดข้อเสนอที่อาศัยหลักฐานมาโต้แย้ง
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้เสนอแนวคิดการเรียงเมืองในจารึกตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากศิลาจารึกหลักที่ ๘ (จารึกเขาสุมนกูฎ) หลักที่ ๙๓ (จารึกวัดอโสการาม) และหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) เป็นอาทิ รวมถึงการใช้หลักฐานอื่นๆนอกเหนือจากศิลาจารึก คือ ใบลานที่เล่าเรื่องสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยกล่าวถึงอำเภอท่าปลา (จังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริมเป็น “เมืองราดเก่าหั้น” และตั้งข้อสังเกตถึงการใช้คำว่า “ผา” ในพระนามของพ่อขุนผาเมือง ซึ่งไปพ้องกับกษัตริย์เมืองน่าน (ผานอง ผากอง ผาสุม) จึงสรุปว่า เมืองราดนั้นควรอยู่บนลุ่มน้ำน่าน และต้องอยู่ทางทิศเหนือกวาดลงมาถึงตะวันออกของเมืองสุโขทัย (ตามแนวคิดเรียงเมืองตามเข็มนาฬิกา) และต้องอยู่เหนือเมืองพิษณุโลก อย่างไรก็ดี แม้ผู้เขียนจะเห็นด้วยในการตั้งข้อสังเกต โดยเฉพาะเรื่องอิทธิพลของเมืองน่านในกรณีคำว่า “ผา” ในพระนาม แต่กลับยังคงตั้งข้อสงสัยในแนวคิดการเรียงเมืองตามเข็มนาฬิกา ซึ่งต้องการการตรวจสอบความถูกต้องต่อไป
ส่วนอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เสนอว่าเมืองราด คือ เมืองทุ่งยั้ง (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์) โดยอาศัยการสังเกตว่า ชื่อเมืองราดนั้นปรากฏเฉพาะในหลักฐานของสุโขทัย (จารึกหลักต่างๆ) ส่วนชื่อเมืองทุ่งยั้งที่อยู่ในเขตอิทธิพลของสุโขทัยเช่นกันกลับไม่ปรากฏชื่อในหลักฐานของสุโขทัยเลย แต่กลับไปอยู่ในหลักฐานของล้านนาและอยุธยา ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า เมืองราดกับเมืองทุ่งยั้งก็คือเมืองเดียวกัน แต่มีการเรียกชื่อต่างกันระหว่างสุโขทัยเองกับที่อื่น (ล้านนาและอยุธยา) ซึ่งมีกรณีศรีสัชนาลัย (สุโขทัยเรียก) - สวรรคโลก (อยุธยาเรียก) เป็นกรณีตัวอย่างอยู่แล้ว นอกจากนี้ อาจารย์พิเศษยังได้ตั้งสมมุติฐานถึงลักษณะของเมืองราดไว้ ๓ ประการ คือ
ประการแรก เมืองราดควรมีร่องรอยขอมอยู่ เพราะจากความในจารึกหลักที่ ๒ นั้น พ่อขุนผาเมืองได้รับสถาปนาจากขอม และยังได้พระราชธิดาเมืองขอมมาแต่งงานด้วย ซึ่งสมมุติฐานนี้ก็ปรากฏในเมืองทุ่งยั้งด้วย กล่าวคือ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปะเขมร (หรือละโว้) อยู่ด้วย
ประการต่อมา เมืองราดควรมีความศักดิ์สิทธิ์หรือมีศักดิ์ศรีไม่ด้อยไปกว่าสุโขทัย (ควรจะมากกว่าด้วย) เพราะพ่อขุนผาเมืองไม่คิดปกครองเมืองสุโขทัย แต่กลับไปครองเมืองราดตามเดิม ซึ่งข้อนี้ถูกตอบด้วยเรื่องในพงศาวดารเหนือ (ที่มีลักษณะเป็นตำนาน) โดยมีเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า “กัมโพชนคร” ซึ่งเป็นชื่อวงศ์ของอินเดียโบราณ อาณาจักรขอม (พระนคร) และละโว้ เป็นสองเมืองที่ได้รับเอาชื่อกัมโพชมาเป็นชื่อวงศ์ของตน และมีการเรียกชื่อทั้งแห่งว่า กัมโพชด้วย ดังนั้น กัมโพช จึงมีนัยอันแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีอารยธรรมอันสูงส่งของเมืองแฝงอยู่ด้วย นอกจากนี้ การที่เมืองทุ่งยั้งถูกเรียกว่า กัมโพช ก็สะท้อนความสัมพันธ์กับขอมตามสมมุติฐานข้อแรกด้วย ส่วนสมมุติฐาน
ประการสุดท้าย เมืองราดควรจะอยู่ไม่ห่างจากสุโขทัยนัก เพราะมิเช่นนั้น พ่อขุนผาเมืองจะยกพลมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวตีกระหนาบขอมไม่ทัน ซึ่งเมืองทุ่งยั้งก็ไม่ได้ห่างสุโขทัยเท่าใดเลย เป็นอันว่าเมืองทุ่งยั้งเข้ากันได้กับลักษณะที่ควรเป็นของเมืองราดทุกข้อ
เมืองทุ่งยั้งยังมีความสำคัญจากการตั้งอยู่ตรงรอยต่อของภูมิประเทศแบบที่ราบแม่น้ำของภาคกลางกับแบบเขาสูงทางภาคเหนือที่แม่น้ำมีเกาะแก่ง ดังนั้น ทุ่งยั้งจึงเป็นจุดแวะพัก (ยั้ง) เพื่อเปลี่ยนวิธีการเดินทางหรือขนส่ง และควรมีความเจริญทางเศรษฐกิจพอสมควร อย่างน้อยก็น่าจะเกิดตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้น ซึ่งช่วยส่งเสริมความสำคัญของเมืองแห่งนี้อีกประการหนึ่ง
แต่หากวันหนึ่งมีสมมุติฐานข้ออื่นๆเกี่ยวกับลักษณะที่ควรเป็นของเมืองราดขึ้นมาอีก ที่ตั้งของเมืองราดก็อาจไม่อยู่ที่เมืองทุ่งยั้งก็ได้
สรุปแล้ว เมืองราดก็ควรอยู่แถบลุ่มน้ำน่าน ซึ่งอาจเป็นเมืองทุ่งยั้งหรือเมืองโบราณอื่นๆแถบจังหวัดอุตรดิตถ์หรือไม่ก็ได้ ตามแต่ที่ผู้ศึกษาจะได้อาศัยหลักฐานเพื่อชี้ทางต่อไป แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรตะหนักจากเรื่องนี้คือ ปัจจุบันยังคงมีความเชื่อที่เลื่อนลอยแต่ได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนั้น การอาศัยหลักฐานมาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและโต้แย้งความเชื่อเหล่านั้นจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้สังคมไทยหลุดพ้นจากการเป็นสังคมทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่างที่ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียรกล่าวไว้เสมอ
เอกสารประกอบการเขียน
ประเสริฐ ณ นคร. การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “เมืองราดและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ไทย” ใน ศาสนาและการเมืองในประวัติศาสตร์สุโขทัย-อยุธยา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕.
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้เสนอแนวคิดการเรียงเมืองในจารึกตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากศิลาจารึกหลักที่ ๘ (จารึกเขาสุมนกูฎ) หลักที่ ๙๓ (จารึกวัดอโสการาม) และหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) เป็นอาทิ รวมถึงการใช้หลักฐานอื่นๆนอกเหนือจากศิลาจารึก คือ ใบลานที่เล่าเรื่องสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยกล่าวถึงอำเภอท่าปลา (จังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริมเป็น “เมืองราดเก่าหั้น” และตั้งข้อสังเกตถึงการใช้คำว่า “ผา” ในพระนามของพ่อขุนผาเมือง ซึ่งไปพ้องกับกษัตริย์เมืองน่าน (ผานอง ผากอง ผาสุม) จึงสรุปว่า เมืองราดนั้นควรอยู่บนลุ่มน้ำน่าน และต้องอยู่ทางทิศเหนือกวาดลงมาถึงตะวันออกของเมืองสุโขทัย (ตามแนวคิดเรียงเมืองตามเข็มนาฬิกา) และต้องอยู่เหนือเมืองพิษณุโลก อย่างไรก็ดี แม้ผู้เขียนจะเห็นด้วยในการตั้งข้อสังเกต โดยเฉพาะเรื่องอิทธิพลของเมืองน่านในกรณีคำว่า “ผา” ในพระนาม แต่กลับยังคงตั้งข้อสงสัยในแนวคิดการเรียงเมืองตามเข็มนาฬิกา ซึ่งต้องการการตรวจสอบความถูกต้องต่อไป
ส่วนอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เสนอว่าเมืองราด คือ เมืองทุ่งยั้ง (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์) โดยอาศัยการสังเกตว่า ชื่อเมืองราดนั้นปรากฏเฉพาะในหลักฐานของสุโขทัย (จารึกหลักต่างๆ) ส่วนชื่อเมืองทุ่งยั้งที่อยู่ในเขตอิทธิพลของสุโขทัยเช่นกันกลับไม่ปรากฏชื่อในหลักฐานของสุโขทัยเลย แต่กลับไปอยู่ในหลักฐานของล้านนาและอยุธยา ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า เมืองราดกับเมืองทุ่งยั้งก็คือเมืองเดียวกัน แต่มีการเรียกชื่อต่างกันระหว่างสุโขทัยเองกับที่อื่น (ล้านนาและอยุธยา) ซึ่งมีกรณีศรีสัชนาลัย (สุโขทัยเรียก) - สวรรคโลก (อยุธยาเรียก) เป็นกรณีตัวอย่างอยู่แล้ว นอกจากนี้ อาจารย์พิเศษยังได้ตั้งสมมุติฐานถึงลักษณะของเมืองราดไว้ ๓ ประการ คือ
ประการแรก เมืองราดควรมีร่องรอยขอมอยู่ เพราะจากความในจารึกหลักที่ ๒ นั้น พ่อขุนผาเมืองได้รับสถาปนาจากขอม และยังได้พระราชธิดาเมืองขอมมาแต่งงานด้วย ซึ่งสมมุติฐานนี้ก็ปรากฏในเมืองทุ่งยั้งด้วย กล่าวคือ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปะเขมร (หรือละโว้) อยู่ด้วย
ประการต่อมา เมืองราดควรมีความศักดิ์สิทธิ์หรือมีศักดิ์ศรีไม่ด้อยไปกว่าสุโขทัย (ควรจะมากกว่าด้วย) เพราะพ่อขุนผาเมืองไม่คิดปกครองเมืองสุโขทัย แต่กลับไปครองเมืองราดตามเดิม ซึ่งข้อนี้ถูกตอบด้วยเรื่องในพงศาวดารเหนือ (ที่มีลักษณะเป็นตำนาน) โดยมีเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า “กัมโพชนคร” ซึ่งเป็นชื่อวงศ์ของอินเดียโบราณ อาณาจักรขอม (พระนคร) และละโว้ เป็นสองเมืองที่ได้รับเอาชื่อกัมโพชมาเป็นชื่อวงศ์ของตน และมีการเรียกชื่อทั้งแห่งว่า กัมโพชด้วย ดังนั้น กัมโพช จึงมีนัยอันแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีอารยธรรมอันสูงส่งของเมืองแฝงอยู่ด้วย นอกจากนี้ การที่เมืองทุ่งยั้งถูกเรียกว่า กัมโพช ก็สะท้อนความสัมพันธ์กับขอมตามสมมุติฐานข้อแรกด้วย ส่วนสมมุติฐาน
ประการสุดท้าย เมืองราดควรจะอยู่ไม่ห่างจากสุโขทัยนัก เพราะมิเช่นนั้น พ่อขุนผาเมืองจะยกพลมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวตีกระหนาบขอมไม่ทัน ซึ่งเมืองทุ่งยั้งก็ไม่ได้ห่างสุโขทัยเท่าใดเลย เป็นอันว่าเมืองทุ่งยั้งเข้ากันได้กับลักษณะที่ควรเป็นของเมืองราดทุกข้อ
เมืองทุ่งยั้งยังมีความสำคัญจากการตั้งอยู่ตรงรอยต่อของภูมิประเทศแบบที่ราบแม่น้ำของภาคกลางกับแบบเขาสูงทางภาคเหนือที่แม่น้ำมีเกาะแก่ง ดังนั้น ทุ่งยั้งจึงเป็นจุดแวะพัก (ยั้ง) เพื่อเปลี่ยนวิธีการเดินทางหรือขนส่ง และควรมีความเจริญทางเศรษฐกิจพอสมควร อย่างน้อยก็น่าจะเกิดตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้น ซึ่งช่วยส่งเสริมความสำคัญของเมืองแห่งนี้อีกประการหนึ่ง
แต่หากวันหนึ่งมีสมมุติฐานข้ออื่นๆเกี่ยวกับลักษณะที่ควรเป็นของเมืองราดขึ้นมาอีก ที่ตั้งของเมืองราดก็อาจไม่อยู่ที่เมืองทุ่งยั้งก็ได้
สรุปแล้ว เมืองราดก็ควรอยู่แถบลุ่มน้ำน่าน ซึ่งอาจเป็นเมืองทุ่งยั้งหรือเมืองโบราณอื่นๆแถบจังหวัดอุตรดิตถ์หรือไม่ก็ได้ ตามแต่ที่ผู้ศึกษาจะได้อาศัยหลักฐานเพื่อชี้ทางต่อไป แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรตะหนักจากเรื่องนี้คือ ปัจจุบันยังคงมีความเชื่อที่เลื่อนลอยแต่ได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนั้น การอาศัยหลักฐานมาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและโต้แย้งความเชื่อเหล่านั้นจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้สังคมไทยหลุดพ้นจากการเป็นสังคมทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่างที่ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียรกล่าวไว้เสมอ
เอกสารประกอบการเขียน
ประเสริฐ ณ นคร. การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “เมืองราดและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ไทย” ใน ศาสนาและการเมืองในประวัติศาสตร์สุโขทัย-อยุธยา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕.
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ยกเลิก ป.บัณฑิต เพื่อใคร?
หลังคุรุสภาแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีมติยกเลิกประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา หรือป.บัณฑิต นอกจากการโต้เถียงกัน (โดยที่คนทั่วไปไม่ได้ยิน และยอมรับมันโดยไม่ตั้งคำถาม) โดยเฉพาะความไม่พอใจจากนิสิตนักศึกษาที่อยากเป็นครู (หรืออย่างน้อยก็เสียผลประโยชน์ที่พึงได้อยู่เดิม) กับฝ่ายผู้กำหนดนโยบายแล้ว เรากลับเห็นความเคลื่อนไหวบางอย่างที่ตามมา ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
เมื่อไม่มี ป.บัณฑิตแล้ว สิ่งที่ต้องทำถ้าหากอยากเป็นครู (สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู) เหมือนจะมีทางแก้หลักก็คือ เรียนปริญญาโทในคณะครู … เพื่อให้ได้ชื่อว่าจบคณะครู และสามารถมีสิทธิ์เป็นครูได้โดยไม่ผิดกฎหมาย!
นั่นหมายความว่าอะไร? – ความเป็นครูไม่ได้ติดตัวคนมาโดยกำเนิด (ครูมืออาชีพ) แต่ความเป็นครูเกิดจากการรับรองตามกฎหมายว่ามีสิทธิ์ (อาชีพครู)
และแน่นอนว่า สิทธิ์ความเป็นครูตามกฎหมายมิได้คำนึงถึงเรื่องความรู้ความสามารถมากไปกว่า “มึงต้องจบคณะครู”
ศาสตร์หลายแขนงต้องการความรู้เฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย (ที่ลึกซึ้ง) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แต่เรากลับพบว่าครูผู้สอนวิชาเหล่านี้จบ “คณะครู” ที่ไม่ได้มีความรู้เฉพาะเหล่านี้มาก่อน ขณะที่ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางกลับถูกตัดสิทธิ์จากมติของคุรุสภาดังกล่าวข้างต้น โดยอ้างเพียงว่าครูล้นตลาดและต้องการ “กั๊ก” ตำแหน่งครูไว้ให้บัณฑิตคณะครู
นี่ได้สะท้อนความคิดของผู้กำหนดนโยบายที่เน้น “ปริมาณ” มากกว่า “คุณภาพ” และที่สำคัญ คือ นี่คือการละเลยคุณภาพของ “ครู” ผู้ซึ่งมีหน้าที่ในทางตรงต่อการให้ความรู้พื้นฐานแก่คนรุ่นถัดไป ซึ่งการศึกษา (และสาธารณสุข) ได้รับความสำคัญอย่างมากตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบตะวันตก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ (การศึกษา-ความรู้ความสามารถ/สาธารณสุข-สุขภาพที่ดี)
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะคาดหวังถึงความรู้ของคนรุ่นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด?
และสิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นมากไปกว่านั้นคือ เราอาจกำลังเห็นเบื้องหลังของนโยบายยกเลิก ป.บัณฑิต อย่างหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยต่างๆได้เร่ง (ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพ) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี เพื่อรองรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู ซึ่งแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายคงมหาศาลขึ้นอย่างมาก และผู้ที่ได้ประโยชน์คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง (เช่น คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ) โดยผลเสียไม่ได้ตกอยู่แค่กับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครูที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น แต่กลับมีผลแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอนาคตทางปัญญาของเด็กรุ่นถัดไป ดังนั้น ผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเล็กมากๆ (ที่ส่งผลเสียอย่างกว้างขวาง) คือเหตุผลของการยกเลิก ป.บัณฑิตใช่หรือไม่!
หมายเหตุ : ผู้เขียนมิได้มีเจตนาดูถูก "คณะครู" แต่อย่างใด เพียงต้องการแสดงความเลวร้ายและอยุติธรรมของระบบซึ่งมีคณะครูเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น และมิได้ดูหมิ่นนักศึกษาคณะครูเช่นกัน เพราะเพื่อนคณะครูบางท่านเก่งกาจกว่าผู้เขียนมากนัก
เมื่อไม่มี ป.บัณฑิตแล้ว สิ่งที่ต้องทำถ้าหากอยากเป็นครู (สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู) เหมือนจะมีทางแก้หลักก็คือ เรียนปริญญาโทในคณะครู … เพื่อให้ได้ชื่อว่าจบคณะครู และสามารถมีสิทธิ์เป็นครูได้โดยไม่ผิดกฎหมาย!
นั่นหมายความว่าอะไร? – ความเป็นครูไม่ได้ติดตัวคนมาโดยกำเนิด (ครูมืออาชีพ) แต่ความเป็นครูเกิดจากการรับรองตามกฎหมายว่ามีสิทธิ์ (อาชีพครู)
และแน่นอนว่า สิทธิ์ความเป็นครูตามกฎหมายมิได้คำนึงถึงเรื่องความรู้ความสามารถมากไปกว่า “มึงต้องจบคณะครู”
ศาสตร์หลายแขนงต้องการความรู้เฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย (ที่ลึกซึ้ง) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แต่เรากลับพบว่าครูผู้สอนวิชาเหล่านี้จบ “คณะครู” ที่ไม่ได้มีความรู้เฉพาะเหล่านี้มาก่อน ขณะที่ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางกลับถูกตัดสิทธิ์จากมติของคุรุสภาดังกล่าวข้างต้น โดยอ้างเพียงว่าครูล้นตลาดและต้องการ “กั๊ก” ตำแหน่งครูไว้ให้บัณฑิตคณะครู
นี่ได้สะท้อนความคิดของผู้กำหนดนโยบายที่เน้น “ปริมาณ” มากกว่า “คุณภาพ” และที่สำคัญ คือ นี่คือการละเลยคุณภาพของ “ครู” ผู้ซึ่งมีหน้าที่ในทางตรงต่อการให้ความรู้พื้นฐานแก่คนรุ่นถัดไป ซึ่งการศึกษา (และสาธารณสุข) ได้รับความสำคัญอย่างมากตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบตะวันตก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ (การศึกษา-ความรู้ความสามารถ/สาธารณสุข-สุขภาพที่ดี)
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะคาดหวังถึงความรู้ของคนรุ่นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด?
และสิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นมากไปกว่านั้นคือ เราอาจกำลังเห็นเบื้องหลังของนโยบายยกเลิก ป.บัณฑิต อย่างหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยต่างๆได้เร่ง (ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพ) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี เพื่อรองรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู ซึ่งแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายคงมหาศาลขึ้นอย่างมาก และผู้ที่ได้ประโยชน์คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง (เช่น คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ) โดยผลเสียไม่ได้ตกอยู่แค่กับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครูที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น แต่กลับมีผลแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอนาคตทางปัญญาของเด็กรุ่นถัดไป ดังนั้น ผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเล็กมากๆ (ที่ส่งผลเสียอย่างกว้างขวาง) คือเหตุผลของการยกเลิก ป.บัณฑิตใช่หรือไม่!
หมายเหตุ : ผู้เขียนมิได้มีเจตนาดูถูก "คณะครู" แต่อย่างใด เพียงต้องการแสดงความเลวร้ายและอยุติธรรมของระบบซึ่งมีคณะครูเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น และมิได้ดูหมิ่นนักศึกษาคณะครูเช่นกัน เพราะเพื่อนคณะครูบางท่านเก่งกาจกว่าผู้เขียนมากนัก
วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ม.อิตีเมอร์ คือใคร?
วันนี้เพิ่งซื้อและอ่านหนังสือรวมบทความของ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ชื่อ “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” ในเรื่องที่สองหรือบทความที่สอง “ไม่มีเมืองสระหลวงในสมัยสุโขทัย” (เคยตีพิมพ์ในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม เดือนเมษายน 2542) ได้อธิบายถึงความคลาดเคลื่อนของคำในสมัยหลัง จากการที่คนในสมัยหลังไม่เคยรู้จักกับคำคำนั้นมาก่อน โดยในเรื่องนี้ คือ ชื่อเมืองในสมัยสุโขทัยที่ชื่อว่า “สรลวงสองแคว” (อ่านว่า สะ-ระ-ลวง - เมืองพิษณุโลก) แต่ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์เกิดความคลาดเคลื่อนไปเป็น “สหลวงสองแคว” (น่าจะอ่านว่า สะ-หะ-หลวง) และต่อมาเป็น “สระหลวงสองแคว” ตามลำดับ และสุดท้ายถูกจับแยกเป็นสองเมือง คือ “สระหลวง” และ “สองแคว” โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาประวัติศาสตร์ไทย ทั้งที่จริงแล้วคือเมืองเดียวกัน จนนักวิชาการต่างพากันตามหาเมืองสระหลวง (รู้อยู่แล้วว่าเมืองสองแควคือพิษณุโลก) โดยพยายามใช้ชื่อเมืองที่แปลว่า สระขนาดใหญ่ เป็นตัวบ่งชี้สำคัญ (ซึ่งสุดท้ายก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าอยู่ที่ไหน เพราะมันไม่มี ฮี่ๆ) – ถ้าสนใจรายละเอียดทั้งหมดก็ลองหามาอ่านกัน ในเล่มมีทั้งหมด 12 เรื่อง ซึ่งให้ข้อโต้แย้งความคิดความเชื่อเดิมอย่างน่าสนใจและเป็นระบบระเบียบทางวิชาการ (เขาอ้างไว้)
เมื่ออ่านเรื่องนี้จบก็สะกิดใจถึงเรื่องแบบนี้ที่เคยผ่านสมองอืดๆของตัวเองไป เรื่องของเรื่องก็คือ ไปเจอชื่อคนที่ชื่อว่า ม.อีตีเมอร์ ปรากฏในประวัติเมืองจันทบุรี ดังนี้
“จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในประเทศไทย แต่เริ่มสร้างเมื่อใดไม่สามารถจะหาหลักฐานแน่นอนได้ ปรากฏหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ แคมโบช ซึ่งชาวฝรั่งเศสชื่อ ม.อิตีเมอร์ เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2444 ว่าได้มีบาทหลวงองค์หนึ่ง พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ที่ตำบลเขาสระบาป ในศิลาจารึกนั้นมีข้อความว่า เมื่อ 1,000 ปี ล่วงมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่า ควนคราบุรี เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ตั้งอยู่เชิงเขาสระบาป”
ข้อความเช่นนี้ (หมายความว่าเหมือนทุกตัวอักษร) ปรากฏในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจันทบุรีมากมาย (เช่น เว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้ไปคัดลอกข้อความข้างบนนี้มา) โดยไม่ได้อ้างถึงที่มา จึงทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วต้นฉบับมาจากแหล่งใด และชื่อ ม.อิตีเมอร์ ปรากฏครั้งแรกเมื่อใด แต่ถ้าจะให้เดาก็คงเป็นเรื่องในหนังสือ “ชุมนุมเรื่องจันทบุรี” เพราะหนังสือที่เขียนถึงประวัติเมืองจันทบุรีมีไม่กี่เล่ม
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าอีตาชาวฝรั่งเศสคนนี้เป็นใคร จะได้ไปค้นหนังสือต้นฉบับจริงๆมาดู ก็เลยเริ่มจากการแปลงคำว่า ม.อิตีเมอร์ ในภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็ได้ประมาณ M.Etimer, M.Iteemer, M.Itimer, ฯลฯ แล้วก็หาใน Google แต่ก็ล้มเหลว ไม่เจอชื่อนี้เลย แต่ยังเหลือเบาะแสอีกอย่าง คือ ชื่อหนังสือ “แคมโบช” (กัมพูชาในภาษาฝรั่งเศส) และปีที่พิมพ์ คือ พ.ศ.2448 คิดออกมาก็เป็น ค.ศ.1901 (ยังดีที่ใส่รายละเอียดมาบ้าง) ก็เลยลองค้นหาใน Google คราวนี้พอจะได้เบาะแสบ้าง แต่ชื่อหนังสือเป็น เลอ แคมโบช (Le Cambodge) ซึ่งพิมพ์เป็น 3 เล่ม ในช่วงปี 1900-1904 (ถ้าจำไม่ผิด) และคนแต่งกลายเป็น เอเตียน อายโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) แต่ปีที่พิมพ์มันใกล้เคียง ก็พอจะเดาได้ว่าคงมาถูกทางแล้ว
แต่จุดที่น่าสงสัยก็ คือ ทำไมชื่อคนแต่งถึงผิดพลาดไปได้ขนานใหญ่เช่นนี้ เมื่อสังเกตดีๆ ก็พบว่า ชื่อ Etienne นั้น ถ้าคนอ่านตาลายไปสักนิดเดียวก็อาจพลาดพลั้ง มองตัว n ที่ติดกันสองตัวเป็นตัว m ได้ และเมื่อรวมกับการแบ่งวรรคที่ผิดไปก็เลยกลายเป็น E-tie-me หรือ อิตีเมอร์ นั่นเอง (ตัว ร์ คงเติมเอง) ส่วน ม. นั้น เมื่อไม่ใช่ชื่อแล้ว ที่มาก่อนชื่อก็เหลือแค่คำนำหน้าชื่อ ถ้าภาษาอังกฤษก็เป็น มิสเตอร์ (Mister) แต่อายโมนิเยร์เป็นชาวฝรั่งเศส ดังนั้น ก็ต้องเป็นมองซิเออร์ (Monsieur) นั่นเอง
เหตุที่เกิดความคลาดเคลื่อนนี้ ก็คงเป็นเพราะผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีนั้น ไม่เคยได้รู้จักกับชื่อของเอเตียน อายโมนิเยร์มาก่อน เหมือนที่คนสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ (หมายถึง คนที่ศูนย์กลาง) ไม่เคยรู้จักชื่อเมืองสรลวงสองแคว จนที่สุดแล้วถูกแยกเป็นสองเมือง ยิ่งประกอบกับผู้เขียนคงเป็นคนรุ่นเก่าที่ไม่สันทัดภาษาฝรั่งเศสเท่าใดนักก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ หรืออีกแง่หนึ่ง ผู้เขียนอาจรู้ภาษาฝรั่งเศสพอสมควร ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เขียนนั้น ใช้คำว่ามองซิเออร์เอเตียน แทนที่จะเรียกชื่อ เอเตียน อายโมนิเยร์ แบบธรรมดา เพียงแต่อ่านชื่อผิดไป ขณะเดียวกัน ตัว n สองตัวในคำว่า Etienne ก็อาจจะชิดกันมาก จนทำให้ผู้เขียนเข้าใจผิดไปว่าเป็นตัว m จนกลายเป็น ม.อิตีเมอร์ไปในที่สุด
ก็คงสรุปอย่างง่ายๆว่า ม.อิตีเมอร์ เป็นคนเดียวกับ เอเตียน อายโมนิเยร์ แต่ผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีคงไม่ได้รู้จักนามของนักโบราณคดีฝรั่งเศสคนนี้มาก่อนจึงอ่านผิด รวมถึงเหตุผลอื่นๆอย่างที่กล่าวไป ก็เลยทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในชื่อของอายโมนิเยร์ ก็หวังว่า ผู้ที่เจอกับชื่อ ม.อิตีเมอร์ โดยเฉพาะผู้สนใจศึกษาประวัติของเมืองหรือจังหวัดจันทบุรี แล้วสงสัยว่าเขาเป็นใครเผื่อจะได้ไปหาผลงานมาอ่านเพิ่มเติม ก็คงจะได้คำตอบอันเป็นที่น่าพอใจจากบทความนี้นะครับ
สุดท้าย ขอหยิบยกข้อความที่หน้าปกหนังสือฟื้นฝอยหาตะเข็บ ซึ่งกระชับและชัดเจนสำหรับการศึกษาทางประวัติศาสตร์มาลงไว้ด้วย “…หากหยิบหลักฐานดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์โบราณคดี…พิจารณาอย่างรอบคอบ ก็จะไม่ยากเลยที่จะพบเห็นความผิดพลาด…” ซึ่งบทความนี้ก็ได้ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆข้อหนึ่งไปแล้ว ^ ^
เมื่ออ่านเรื่องนี้จบก็สะกิดใจถึงเรื่องแบบนี้ที่เคยผ่านสมองอืดๆของตัวเองไป เรื่องของเรื่องก็คือ ไปเจอชื่อคนที่ชื่อว่า ม.อีตีเมอร์ ปรากฏในประวัติเมืองจันทบุรี ดังนี้
“จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในประเทศไทย แต่เริ่มสร้างเมื่อใดไม่สามารถจะหาหลักฐานแน่นอนได้ ปรากฏหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ แคมโบช ซึ่งชาวฝรั่งเศสชื่อ ม.อิตีเมอร์ เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2444 ว่าได้มีบาทหลวงองค์หนึ่ง พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ที่ตำบลเขาสระบาป ในศิลาจารึกนั้นมีข้อความว่า เมื่อ 1,000 ปี ล่วงมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่า ควนคราบุรี เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ตั้งอยู่เชิงเขาสระบาป”
ข้อความเช่นนี้ (หมายความว่าเหมือนทุกตัวอักษร) ปรากฏในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจันทบุรีมากมาย (เช่น เว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้ไปคัดลอกข้อความข้างบนนี้มา) โดยไม่ได้อ้างถึงที่มา จึงทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วต้นฉบับมาจากแหล่งใด และชื่อ ม.อิตีเมอร์ ปรากฏครั้งแรกเมื่อใด แต่ถ้าจะให้เดาก็คงเป็นเรื่องในหนังสือ “ชุมนุมเรื่องจันทบุรี” เพราะหนังสือที่เขียนถึงประวัติเมืองจันทบุรีมีไม่กี่เล่ม
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าอีตาชาวฝรั่งเศสคนนี้เป็นใคร จะได้ไปค้นหนังสือต้นฉบับจริงๆมาดู ก็เลยเริ่มจากการแปลงคำว่า ม.อิตีเมอร์ ในภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็ได้ประมาณ M.Etimer, M.Iteemer, M.Itimer, ฯลฯ แล้วก็หาใน Google แต่ก็ล้มเหลว ไม่เจอชื่อนี้เลย แต่ยังเหลือเบาะแสอีกอย่าง คือ ชื่อหนังสือ “แคมโบช” (กัมพูชาในภาษาฝรั่งเศส) และปีที่พิมพ์ คือ พ.ศ.2448 คิดออกมาก็เป็น ค.ศ.1901 (ยังดีที่ใส่รายละเอียดมาบ้าง) ก็เลยลองค้นหาใน Google คราวนี้พอจะได้เบาะแสบ้าง แต่ชื่อหนังสือเป็น เลอ แคมโบช (Le Cambodge) ซึ่งพิมพ์เป็น 3 เล่ม ในช่วงปี 1900-1904 (ถ้าจำไม่ผิด) และคนแต่งกลายเป็น เอเตียน อายโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) แต่ปีที่พิมพ์มันใกล้เคียง ก็พอจะเดาได้ว่าคงมาถูกทางแล้ว
แต่จุดที่น่าสงสัยก็ คือ ทำไมชื่อคนแต่งถึงผิดพลาดไปได้ขนานใหญ่เช่นนี้ เมื่อสังเกตดีๆ ก็พบว่า ชื่อ Etienne นั้น ถ้าคนอ่านตาลายไปสักนิดเดียวก็อาจพลาดพลั้ง มองตัว n ที่ติดกันสองตัวเป็นตัว m ได้ และเมื่อรวมกับการแบ่งวรรคที่ผิดไปก็เลยกลายเป็น E-tie-me หรือ อิตีเมอร์ นั่นเอง (ตัว ร์ คงเติมเอง) ส่วน ม. นั้น เมื่อไม่ใช่ชื่อแล้ว ที่มาก่อนชื่อก็เหลือแค่คำนำหน้าชื่อ ถ้าภาษาอังกฤษก็เป็น มิสเตอร์ (Mister) แต่อายโมนิเยร์เป็นชาวฝรั่งเศส ดังนั้น ก็ต้องเป็นมองซิเออร์ (Monsieur) นั่นเอง
เหตุที่เกิดความคลาดเคลื่อนนี้ ก็คงเป็นเพราะผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีนั้น ไม่เคยได้รู้จักกับชื่อของเอเตียน อายโมนิเยร์มาก่อน เหมือนที่คนสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ (หมายถึง คนที่ศูนย์กลาง) ไม่เคยรู้จักชื่อเมืองสรลวงสองแคว จนที่สุดแล้วถูกแยกเป็นสองเมือง ยิ่งประกอบกับผู้เขียนคงเป็นคนรุ่นเก่าที่ไม่สันทัดภาษาฝรั่งเศสเท่าใดนักก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ หรืออีกแง่หนึ่ง ผู้เขียนอาจรู้ภาษาฝรั่งเศสพอสมควร ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เขียนนั้น ใช้คำว่ามองซิเออร์เอเตียน แทนที่จะเรียกชื่อ เอเตียน อายโมนิเยร์ แบบธรรมดา เพียงแต่อ่านชื่อผิดไป ขณะเดียวกัน ตัว n สองตัวในคำว่า Etienne ก็อาจจะชิดกันมาก จนทำให้ผู้เขียนเข้าใจผิดไปว่าเป็นตัว m จนกลายเป็น ม.อิตีเมอร์ไปในที่สุด
ก็คงสรุปอย่างง่ายๆว่า ม.อิตีเมอร์ เป็นคนเดียวกับ เอเตียน อายโมนิเยร์ แต่ผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีคงไม่ได้รู้จักนามของนักโบราณคดีฝรั่งเศสคนนี้มาก่อนจึงอ่านผิด รวมถึงเหตุผลอื่นๆอย่างที่กล่าวไป ก็เลยทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในชื่อของอายโมนิเยร์ ก็หวังว่า ผู้ที่เจอกับชื่อ ม.อิตีเมอร์ โดยเฉพาะผู้สนใจศึกษาประวัติของเมืองหรือจังหวัดจันทบุรี แล้วสงสัยว่าเขาเป็นใครเผื่อจะได้ไปหาผลงานมาอ่านเพิ่มเติม ก็คงจะได้คำตอบอันเป็นที่น่าพอใจจากบทความนี้นะครับ
สุดท้าย ขอหยิบยกข้อความที่หน้าปกหนังสือฟื้นฝอยหาตะเข็บ ซึ่งกระชับและชัดเจนสำหรับการศึกษาทางประวัติศาสตร์มาลงไว้ด้วย “…หากหยิบหลักฐานดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์โบราณคดี…พิจารณาอย่างรอบคอบ ก็จะไม่ยากเลยที่จะพบเห็นความผิดพลาด…” ซึ่งบทความนี้ก็ได้ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆข้อหนึ่งไปแล้ว ^ ^
ความผิดแบบปรนัย (Objective)
หลังจากดูหนังเรื่อง หนีตามกาลิเลโอ มีอยู่ตอนหนึ่งที่เรย์ แม็คโดนัลด์ เถียงกับ ต่าย (season change) ต้องย้อนกลับไปก่อนทั้งคู่จะได้มาเถียงกันว่า ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์เพื่อเข้าใช้ห้องเขียนแบบและโดนพักการเรียน ก็เลยตัดสินใจชวนเพื่อนอีกคนคือ เต้ย ออกเดินทางไปยุโรป จนได้มาเจอเรย์ที่ฝรั่งเศส เอาล่ะ คงพอจะรู้ภูมิหลังไปแล้ว ก็ถึงประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ เรย์บอกว่า ที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์นั้นผิด และแน่นอนว่าก็คือผิดโดยไร้ข้อแก้ต่าง นั่นหมายความว่า ในความคิดของเรย์ มีความผิดแบบปรนัย (objective) ตายตัวอยู่
ในปัจจุบัน ความผิดแบบปรนัยที่ชัดเจนที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย รวมถึงความผิดที่อิงอยู่กับจารีต ประเพณี (อาจรวมถึงวัฒนธรรม เช่น ไม่ทำตามวัฒนธรรมอันดีงามของไทย) แน่นอนว่า ความผิดหลายสิ่งหลายอย่าง เราไม่เห็นด้วย อาทิ แม่ลูกอ่อนขโมยนมผงเพื่อเอาไปเลี้ยงลูกเพราะความจน การกระทำผิดเช่นนี้ได้รับความเห็นใจ และไม่อยากคิดว่าทำผิดจากสังคม และต้องการที่จะช่วยเหลือมากกว่าลงโทษหรือเอาผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะอธิบายกรณีนี้อย่างไร เพราะที่สุดแล้ว การลักขโมยที่เป็นความผิดตามกฎหมาย (รวมถึงตามจารีต) ก็ยังมีข้อหรือกรณียกเว้น (exception) ดังนั้น เราพอจะสรุปได้มั้ยว่าความผิดแบบปรนัย แท้จริงแล้วคือสิ่งที่ถูกสร้างว่าเป็นความผิด เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นที่สร้างคนผิด (เลว) และคนถูก (ดี) ขึ้นในสังคม และอีกเช่นกัน แท้จริงแล้ว การกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ก่อขึ้นก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการได้ทำสิ่งๆนั้น ถ้าไม่มีเรื่องของคุณค่า (ดี-เลว) รวมถึงเรื่องผิด-ถูก เข้าไป เพียงแต่อาจต้องการคำอธิบายที่สร้างความยอมรับให้แก่สังคม เพราะมนุษย์ต้อง (ถูกบังคับให้) อยู่ในสังคม และสังคมย่อมมีเรื่องคุณค่า เรื่องถูก-ผิด ในรูปของจารีต ประเพณี ดังนั้น มนุษย์ก็ยังคงต้องสร้างคำอธิบายแก่การกระทำของตน แม้จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ถ้ามนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคม
แล้วเรื่องที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์ล่ะ? นี่ก็แค่เรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคนที่เป็นครู กับนักเรียน (นักศึกษา) ซึ่งฝ่ายหนึ่ง (ถูกทำให้) ต้องรักษากฎระเบียบ อบรมสั่งสอนในทางที่สังคมต้องการ กับนักเรียนที่มักมีความคิดที่เหนือไปกว่านั้น แต่ก็พร้อมจะให้คำอธิบายในการกระทำของตน (ที่อาจารย์มักไม่ฟังเสมอ) ดังนั้น ถ้าไม่มีความผิดแบบตายตัวแล้ว ต่ายก็เพียงแค่อธิบายการกระทำของตนว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่สังคมรับไม่ได้เสียทีเดียว (อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ไม่เห็นความผิดอะไรถึงขั้นพักการเรียน) ขณะที่อาจารย์ ถ้าไร้ซึ่งความคิดที่โลกนี้มีความผิดแบบปรนัย ก็คงสามารถรับฟังคำอธิบายของต่ายได้ไม่ยาก และคงไม่ได้ข้ามโลกไปนั่งเถียงกับเรย์ที่ฝรั่งเศสเป็นแน่ ฮา..
สรุปแล้ว ความผิดแบบปรนัยก็เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมของผู้มีอำนาจ (ผู้ออกกฎหมาย ผู้นำสังคม ฯลฯ) เพื่อวัตถุประสงค์ (หรือข้ออ้าง) บางอย่าง เช่น รักษาความสงบของบ้านเมือง แต่จริงๆแล้ว กลับยังปรากฏกรณียกเว้น เนื่องจากการสร้างวาทกรรมย่อมกำหนดให้ทุกคนต้องเป็นไปตามนั้น และไม่ได้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย (เช่น วาทกรรมชาติไทย ที่คนในรัฐไทยเป็นเชื้อไทยไปเสียหมด) ซึ่งสะท้อนว่า ความผิดแบบปรนัยไม่มีจริง และสุดท้าย เราเพียงแค่ควรเปิดโอกาสให้แก่คำอธิบายของการกระทำในฐานะที่มนุษย์ต้องอยู่ในสังคม เป็นมนุษย์สังคม (จริงๆแล้วมันก็แค่การกระทำที่ไม่ได้ต้องการคำอธิบายอะไร) เพื่อให้เกิดความยอมรับ (หรือไม่ยอมรับ) ในการกระทำเท่านั้นใช่หรือไม่?
ในปัจจุบัน ความผิดแบบปรนัยที่ชัดเจนที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย รวมถึงความผิดที่อิงอยู่กับจารีต ประเพณี (อาจรวมถึงวัฒนธรรม เช่น ไม่ทำตามวัฒนธรรมอันดีงามของไทย) แน่นอนว่า ความผิดหลายสิ่งหลายอย่าง เราไม่เห็นด้วย อาทิ แม่ลูกอ่อนขโมยนมผงเพื่อเอาไปเลี้ยงลูกเพราะความจน การกระทำผิดเช่นนี้ได้รับความเห็นใจ และไม่อยากคิดว่าทำผิดจากสังคม และต้องการที่จะช่วยเหลือมากกว่าลงโทษหรือเอาผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะอธิบายกรณีนี้อย่างไร เพราะที่สุดแล้ว การลักขโมยที่เป็นความผิดตามกฎหมาย (รวมถึงตามจารีต) ก็ยังมีข้อหรือกรณียกเว้น (exception) ดังนั้น เราพอจะสรุปได้มั้ยว่าความผิดแบบปรนัย แท้จริงแล้วคือสิ่งที่ถูกสร้างว่าเป็นความผิด เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นที่สร้างคนผิด (เลว) และคนถูก (ดี) ขึ้นในสังคม และอีกเช่นกัน แท้จริงแล้ว การกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ก่อขึ้นก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการได้ทำสิ่งๆนั้น ถ้าไม่มีเรื่องของคุณค่า (ดี-เลว) รวมถึงเรื่องผิด-ถูก เข้าไป เพียงแต่อาจต้องการคำอธิบายที่สร้างความยอมรับให้แก่สังคม เพราะมนุษย์ต้อง (ถูกบังคับให้) อยู่ในสังคม และสังคมย่อมมีเรื่องคุณค่า เรื่องถูก-ผิด ในรูปของจารีต ประเพณี ดังนั้น มนุษย์ก็ยังคงต้องสร้างคำอธิบายแก่การกระทำของตน แม้จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ถ้ามนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคม
แล้วเรื่องที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์ล่ะ? นี่ก็แค่เรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคนที่เป็นครู กับนักเรียน (นักศึกษา) ซึ่งฝ่ายหนึ่ง (ถูกทำให้) ต้องรักษากฎระเบียบ อบรมสั่งสอนในทางที่สังคมต้องการ กับนักเรียนที่มักมีความคิดที่เหนือไปกว่านั้น แต่ก็พร้อมจะให้คำอธิบายในการกระทำของตน (ที่อาจารย์มักไม่ฟังเสมอ) ดังนั้น ถ้าไม่มีความผิดแบบตายตัวแล้ว ต่ายก็เพียงแค่อธิบายการกระทำของตนว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่สังคมรับไม่ได้เสียทีเดียว (อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ไม่เห็นความผิดอะไรถึงขั้นพักการเรียน) ขณะที่อาจารย์ ถ้าไร้ซึ่งความคิดที่โลกนี้มีความผิดแบบปรนัย ก็คงสามารถรับฟังคำอธิบายของต่ายได้ไม่ยาก และคงไม่ได้ข้ามโลกไปนั่งเถียงกับเรย์ที่ฝรั่งเศสเป็นแน่ ฮา..
สรุปแล้ว ความผิดแบบปรนัยก็เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมของผู้มีอำนาจ (ผู้ออกกฎหมาย ผู้นำสังคม ฯลฯ) เพื่อวัตถุประสงค์ (หรือข้ออ้าง) บางอย่าง เช่น รักษาความสงบของบ้านเมือง แต่จริงๆแล้ว กลับยังปรากฏกรณียกเว้น เนื่องจากการสร้างวาทกรรมย่อมกำหนดให้ทุกคนต้องเป็นไปตามนั้น และไม่ได้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย (เช่น วาทกรรมชาติไทย ที่คนในรัฐไทยเป็นเชื้อไทยไปเสียหมด) ซึ่งสะท้อนว่า ความผิดแบบปรนัยไม่มีจริง และสุดท้าย เราเพียงแค่ควรเปิดโอกาสให้แก่คำอธิบายของการกระทำในฐานะที่มนุษย์ต้องอยู่ในสังคม เป็นมนุษย์สังคม (จริงๆแล้วมันก็แค่การกระทำที่ไม่ได้ต้องการคำอธิบายอะไร) เพื่อให้เกิดความยอมรับ (หรือไม่ยอมรับ) ในการกระทำเท่านั้นใช่หรือไม่?
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การพัฒนาของไทยกับงบด้านความมั่นคง (บทความรำลึก 14 ตุลา)
เนื่องในโอกาสครบรอบวันที่เผด็จการทหารสิ้นอำนาจ (ในทางทฤษฎี) จากการเมืองไทย จากเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อ 39 ปี กับ 1 วันที่แล้ว ตัวผู้เขียนไม่รู้ตื้นลึกหนาบางดีเท่ากับคนที่เกิดร่วมสมัย จึงอยากจะเขียนบทความก่นด่าทหารยุคปัจจุบันที่ใหญ่คับประเทศแทน เป็นการอุทิศแด่วีรชนที่ยืนหยัดกับคมกระสุน คมหอก คมดาบของเหล่าทหารของระบอบเผด็จการทหารในอดีต จนบาดเจ็บล้มตาย และสูญหาย
ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงจำนวนที่สูงมาก และหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย สิ่งที่เกิดควบคู่กันไปย่อมหนีไม่พ้นงบประมาณที่จะนำไปใช้พัฒนาประเทศที่น้อยลงเป็นเงาตามตัว คำถามสำหรับประเทศไทยวันนี้คือ งบประมาณด้านความมั่นคงจำเป็นต้องสูงขนาดนั้นหรือไม่? เราคงต้องดูกันว่างบด้านความมั่นคงสูงเพราะอะไร (จากปัญหาอะไร)? และสมเหตุสมผลหรือไม่?
ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญในอันดับต้นๆ และยืดเยื้อยาวนาน คือ ปัญหาชายแดนใต้ ปัญหานี้เกิดขึ้นแทบจะพร้อมๆกับการขีดเส้นรัฐ-ชาติ (Nation-state) ไทยใน พ.ศ.2435 ซึ่งได้ดูดเอาอำนาจท้องถิ่นทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง คือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหนึ่งในนั้นก็คือ อำนาจของเหล่าสุลต่านในคาบสมุทรมลายู ขณะที่ต่อมา ปัญหาถูกซ้ำเติมด้วยนักชาตินิยมอย่างจอมพล ป.พิบูลสงคราม (รวมถึงหลวงวิจิตรฯ) จนปัญหาลงสู่รากหญ้าอย่างเต็มตัว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างราชสำนักที่กรุงเทพฯ กับราชสำนักท้องถิ่นที่สูญอำนาจอีกต่อไป ขณะที่หลังวาทะ “โจรกระจอก” ของอดีตนายกฯทักษิณ ก็ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวประกาศตนว่าไม่ได้กระจอกอย่างลมปากนั้น ด้วยการก่อความไม่สงบอันนำไปสู่การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอย่างยากที่จะประเมินค่าได้อย่างต่อเนื่องและรุนแรง คำถามก็คือ รัฐไทยใช้งบกับปัญหานี้อย่างไร? แน่นอนว่า คำตอบต้องรวมค่าโง่หลายล้านบาทที่จ่ายไปกับเครื่องมือเต่าถุยที่ชื่อว่า GT200 และเงินเดือนที่ล่อให้ทหาร ตำรวจตาดำๆ (และจนๆ) ลงไปตายห่างไกลบ้านเกิดหลายร้อยกิโลฯ แล้วยังมีเงินที่ซื้ออาวุธให้ขบวนการปลดปล่อย (Liberation Movement) หยิบยืมไปใช้โดยไม่นำมาคืน และ ฯลฯ นี่คือผลงานของงบความมั่นคงที่ใช้ไปกับปัญหานี้ใช่หรือไม่? ท่านทั้งหลายคงสรุปเองในใจได้เองว่าคุ้มค่าหรือไม่ …
ปัญหาความมั่นคงต่อมาคือ ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหนีไม่พ้นกัมพูชากับปัญหาเขาพระวิหาร และดินแดนอื่นๆที่จะเป็นผลติดตามมาจากกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นระยะๆ และครั้งล่าสุดก็ช่วงไม่กี่ปีมานี้จนถึงปัจจุบัน (แม้จะซาๆลงไปบ้าง) แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นมรดกจากลัทธิอาณานิคม อันได้แก่ เจ้าอาณานิคมชื่อฝรั่งเศส ที่มาไล่เขมือบดินแดนแถบอินโดจีนและดินแดนของรัฐไทย แล้วงบที่ใช้กับปัญหานี้ล่ะ? เราไม่เห็นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากส่งทหารไปเป็นเป้านิ่งให้ทหารกัมพูชายิง ดังนั้น อย่ามาอ้างปัญหานี้เพื่อเรียกร้องงบบ้าบอคอแตก!
ปัญหาร่วมสมัยอีกปัญหา คือ ปัญหาการเมืองภายใน อันได้แก่ การชุมนุม และกลุ่มหัวรุนแรงที่ยังคง unidentified จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่คือข้อกังขากับการจัดงบมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่ไปจัดการ ทั้งที่ยังระบุเป้าหมายไม่ได้ … รวมถึงการจัดกำลังไปถล่มม็อบสีแดงเมื่อเมษา-พฤษภา เดือดที่ผ่านมา ทั้งที่ค่าเหนื่อยสูงลิ่วกับภารกิจพิเศษ แต่กำลังทหารกลับสังหารผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยมไปหลายศพ ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าเหนื่อยในการสลายม็อบตามหลักสากลเลยแม้แต่นิด แต่รัฐไทยก็รอดพ้นการประนามจากเวทีโลกในการปราบปรามผู้มีความคิดต่างทางการเมืองมาอย่างปาฏิหาริย์
ส่วนงบอีกอย่างที่ไม่เคยลดลง คือ การสั่งสมกำลังของกองทัพด้วยการเกณฑ์ทหาร โดยที่งบประมาณที่ใช้ไปนั้นมหาศาลในการจ่ายค่าแรงให้เด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์มาวิ่งเล่น ขัดรองเท้า ขับรถให้นายพล นายพันในกรมกอง แทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนาตนเองและประเทศ และจบด้วยการได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยรับใช้ชาติของ (วาทกรรม) ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ขณะที่รัฐไทยไม่ได้ทหารอาชีพมาประดับประเทศเสียด้วย (แต่เสียงบประมาณ และเสียบุคลากรไปโดยใช่เหตุ) แต่ประโยชน์ที่กองทัพคงมองเห็นคือ การดึงคนเข้าสู่กองทัพ การหลอมละลายคนให้เป็นกองทัพ (militarization) จนไม่คิดกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพอันเกรียงไกรของไทย และคิดเพียงกูจะปกป้องประเทศ (และชาติ) ของกูอย่างสุดชีวิตด้วยแรงชาตินิยมที่การเป็นทหารยัดใส่หัวพวกเขา (แค่ไม่ยัดก็ท่อง ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา) แล้วอย่างนี้เรียกว่าจำเป็นต้องคงงบอย่างนี้ไว้ใช่หรือไม่? ในการพัฒนาประเทศ เราต้องลดงบและขนาดกองทัพมิใช่หรือ? แต่ทำไมรัฐไทยจึงมุ่งไปในทางตรงข้าม ..
คำถามจึงเกิดว่า ควรเอางบด้านความมั่นคงที่ถลุงเล่นนี้ไปลงทุนในการพัฒนาประเทศหรือไม่? อย่างน้อยที่สุด เอาเงินเดือนพวกนี้ไปปรับปรุงการศึกษา ปรับปรุงระบบสาธารณสุข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และลดขนาดของกองทัพลง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ญี่ปุ่น ที่ไม่มีกองทัพ (ถูกบังคับให้ไม่มี) และสามารถใช้งบประมาณแผ่นดินไปในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่จนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญ คือ กองทัพไทยยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระดับสูงมาก และไม่มีทีท่าจะลดลง จึงเป็นไปได้น้อยที่เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะที่การพัฒนาก็ต้องพบกับนักการเมืองที่หิวโหย และพร้อมจะใช้งบประมาณที่เพิ่มมาจากงบความมั่นคงที่ลดลงเพื่อประโยชน์ของตน เลือดเนื้อของวีรชนเมื่อ 39 ปีก่อนกลับกลายเป็นสภาพปัจจุบันได้อย่างไร? เรารู้สึกชินชากับบทบาทของทหารในปัจจุบันได้อย่างไร? เรามุ่งพัฒนาประเทศหรือกองทัพกันแน่? หรือเหตุการณ์เมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนก็แค่เหตุการณ์ที่มีคนตาย และเราควรปล่อยให้วันหนึ่งทหารทำเช่นนั้นอีก ...
ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงจำนวนที่สูงมาก และหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย สิ่งที่เกิดควบคู่กันไปย่อมหนีไม่พ้นงบประมาณที่จะนำไปใช้พัฒนาประเทศที่น้อยลงเป็นเงาตามตัว คำถามสำหรับประเทศไทยวันนี้คือ งบประมาณด้านความมั่นคงจำเป็นต้องสูงขนาดนั้นหรือไม่? เราคงต้องดูกันว่างบด้านความมั่นคงสูงเพราะอะไร (จากปัญหาอะไร)? และสมเหตุสมผลหรือไม่?
ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญในอันดับต้นๆ และยืดเยื้อยาวนาน คือ ปัญหาชายแดนใต้ ปัญหานี้เกิดขึ้นแทบจะพร้อมๆกับการขีดเส้นรัฐ-ชาติ (Nation-state) ไทยใน พ.ศ.2435 ซึ่งได้ดูดเอาอำนาจท้องถิ่นทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง คือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหนึ่งในนั้นก็คือ อำนาจของเหล่าสุลต่านในคาบสมุทรมลายู ขณะที่ต่อมา ปัญหาถูกซ้ำเติมด้วยนักชาตินิยมอย่างจอมพล ป.พิบูลสงคราม (รวมถึงหลวงวิจิตรฯ) จนปัญหาลงสู่รากหญ้าอย่างเต็มตัว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างราชสำนักที่กรุงเทพฯ กับราชสำนักท้องถิ่นที่สูญอำนาจอีกต่อไป ขณะที่หลังวาทะ “โจรกระจอก” ของอดีตนายกฯทักษิณ ก็ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวประกาศตนว่าไม่ได้กระจอกอย่างลมปากนั้น ด้วยการก่อความไม่สงบอันนำไปสู่การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอย่างยากที่จะประเมินค่าได้อย่างต่อเนื่องและรุนแรง คำถามก็คือ รัฐไทยใช้งบกับปัญหานี้อย่างไร? แน่นอนว่า คำตอบต้องรวมค่าโง่หลายล้านบาทที่จ่ายไปกับเครื่องมือเต่าถุยที่ชื่อว่า GT200 และเงินเดือนที่ล่อให้ทหาร ตำรวจตาดำๆ (และจนๆ) ลงไปตายห่างไกลบ้านเกิดหลายร้อยกิโลฯ แล้วยังมีเงินที่ซื้ออาวุธให้ขบวนการปลดปล่อย (Liberation Movement) หยิบยืมไปใช้โดยไม่นำมาคืน และ ฯลฯ นี่คือผลงานของงบความมั่นคงที่ใช้ไปกับปัญหานี้ใช่หรือไม่? ท่านทั้งหลายคงสรุปเองในใจได้เองว่าคุ้มค่าหรือไม่ …
ปัญหาความมั่นคงต่อมาคือ ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหนีไม่พ้นกัมพูชากับปัญหาเขาพระวิหาร และดินแดนอื่นๆที่จะเป็นผลติดตามมาจากกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นระยะๆ และครั้งล่าสุดก็ช่วงไม่กี่ปีมานี้จนถึงปัจจุบัน (แม้จะซาๆลงไปบ้าง) แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นมรดกจากลัทธิอาณานิคม อันได้แก่ เจ้าอาณานิคมชื่อฝรั่งเศส ที่มาไล่เขมือบดินแดนแถบอินโดจีนและดินแดนของรัฐไทย แล้วงบที่ใช้กับปัญหานี้ล่ะ? เราไม่เห็นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากส่งทหารไปเป็นเป้านิ่งให้ทหารกัมพูชายิง ดังนั้น อย่ามาอ้างปัญหานี้เพื่อเรียกร้องงบบ้าบอคอแตก!
ปัญหาร่วมสมัยอีกปัญหา คือ ปัญหาการเมืองภายใน อันได้แก่ การชุมนุม และกลุ่มหัวรุนแรงที่ยังคง unidentified จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่คือข้อกังขากับการจัดงบมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่ไปจัดการ ทั้งที่ยังระบุเป้าหมายไม่ได้ … รวมถึงการจัดกำลังไปถล่มม็อบสีแดงเมื่อเมษา-พฤษภา เดือดที่ผ่านมา ทั้งที่ค่าเหนื่อยสูงลิ่วกับภารกิจพิเศษ แต่กำลังทหารกลับสังหารผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยมไปหลายศพ ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าเหนื่อยในการสลายม็อบตามหลักสากลเลยแม้แต่นิด แต่รัฐไทยก็รอดพ้นการประนามจากเวทีโลกในการปราบปรามผู้มีความคิดต่างทางการเมืองมาอย่างปาฏิหาริย์
ส่วนงบอีกอย่างที่ไม่เคยลดลง คือ การสั่งสมกำลังของกองทัพด้วยการเกณฑ์ทหาร โดยที่งบประมาณที่ใช้ไปนั้นมหาศาลในการจ่ายค่าแรงให้เด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์มาวิ่งเล่น ขัดรองเท้า ขับรถให้นายพล นายพันในกรมกอง แทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนาตนเองและประเทศ และจบด้วยการได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยรับใช้ชาติของ (วาทกรรม) ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ขณะที่รัฐไทยไม่ได้ทหารอาชีพมาประดับประเทศเสียด้วย (แต่เสียงบประมาณ และเสียบุคลากรไปโดยใช่เหตุ) แต่ประโยชน์ที่กองทัพคงมองเห็นคือ การดึงคนเข้าสู่กองทัพ การหลอมละลายคนให้เป็นกองทัพ (militarization) จนไม่คิดกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพอันเกรียงไกรของไทย และคิดเพียงกูจะปกป้องประเทศ (และชาติ) ของกูอย่างสุดชีวิตด้วยแรงชาตินิยมที่การเป็นทหารยัดใส่หัวพวกเขา (แค่ไม่ยัดก็ท่อง ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา) แล้วอย่างนี้เรียกว่าจำเป็นต้องคงงบอย่างนี้ไว้ใช่หรือไม่? ในการพัฒนาประเทศ เราต้องลดงบและขนาดกองทัพมิใช่หรือ? แต่ทำไมรัฐไทยจึงมุ่งไปในทางตรงข้าม ..
คำถามจึงเกิดว่า ควรเอางบด้านความมั่นคงที่ถลุงเล่นนี้ไปลงทุนในการพัฒนาประเทศหรือไม่? อย่างน้อยที่สุด เอาเงินเดือนพวกนี้ไปปรับปรุงการศึกษา ปรับปรุงระบบสาธารณสุข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และลดขนาดของกองทัพลง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ญี่ปุ่น ที่ไม่มีกองทัพ (ถูกบังคับให้ไม่มี) และสามารถใช้งบประมาณแผ่นดินไปในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่จนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญ คือ กองทัพไทยยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระดับสูงมาก และไม่มีทีท่าจะลดลง จึงเป็นไปได้น้อยที่เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะที่การพัฒนาก็ต้องพบกับนักการเมืองที่หิวโหย และพร้อมจะใช้งบประมาณที่เพิ่มมาจากงบความมั่นคงที่ลดลงเพื่อประโยชน์ของตน เลือดเนื้อของวีรชนเมื่อ 39 ปีก่อนกลับกลายเป็นสภาพปัจจุบันได้อย่างไร? เรารู้สึกชินชากับบทบาทของทหารในปัจจุบันได้อย่างไร? เรามุ่งพัฒนาประเทศหรือกองทัพกันแน่? หรือเหตุการณ์เมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนก็แค่เหตุการณ์ที่มีคนตาย และเราควรปล่อยให้วันหนึ่งทหารทำเช่นนั้นอีก ...
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
จากข้อความเพียงสั้นๆ Vol.1
จาก Facebook อาจารย์เชษฐา : ถ้านักศึกษาของเราไม่เคยต่อสู้เพื่อจะปกป้องสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิเหนือร่างกาย และการเลือกเครื่องแต่งกายของพวกเขาเมื่อได้เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาจะไม่สามารถจินตนาการถึงสิทธิที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น...[คำ ผกา, ‘ขอแสดงความยินดี’, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1563 (23-29 กรกฎาคม 2553), หน้า 91-92.]
ความเห็นส่วนตัว : เป็นข้อความที่กระแทกใจนักศึกษาอย่างเรายิ่งนัก และแม้จะถูกใจข้อความนี้ แต่ก็ควรระลึกเสมอว่า การไม่มีสำนึกถึงเรื่องสิทธิพื้นฐานอย่างการแต่งกายนั้น นำไปสู่การไร้จินตนาการถึงสิทธิที่ใหญ่กว่านั้นจริงหรือ? นอกจากนี้ ยังต้องดูบริบทต่างๆที่แวดล้อมตัวนักศึกษาด้วยว่า เป็นบริบทที่เอื้อแก่การมีสำนึกเหล่านี้หรือไม่ และคำถามต่อไปที่เป็นเชิงกลับของคำถามแรก ก็คือ ถ้านักศึกษามีสำนึกเรื่องสิทธิในการแต่งกายมาเรียนแล้ว พวกเขา (พวกเรานั่นแหละ) จะมีสำนึกในสิทธิที่ก้าวหน้าขึ้นจริงหรือไม่?
สรุป : ข้อความนี้เหมาะแก่การสร้างกระแสมากกว่า (เพราะสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะนักศึกษา) เพราะพร่องในเรื่องตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร ทั้งนี้ ข้อสรุปเกิดขึ้นจากเพียงข้อความสั้นๆนี้เท่านั้น มิได้หมายรวมถึงบทความที่ข้อความนี้ปรากฏอยู่ เพราะยังไม่ได้อ่าน (ฮี่ๆ) ซึ่งหากอ่านบทความทั้งหมดแล้ว อาจทำให้เข้าใจความคิดของผู้เขียนในเรื่องสิทธิมากขึ้น และคงจะดีถ้ามันสามารถกระตุ้นให้เกิดสำนึกเรื่องสิทธิขึ้นมาได้จริงๆ
ความเห็นส่วนตัว : เป็นข้อความที่กระแทกใจนักศึกษาอย่างเรายิ่งนัก และแม้จะถูกใจข้อความนี้ แต่ก็ควรระลึกเสมอว่า การไม่มีสำนึกถึงเรื่องสิทธิพื้นฐานอย่างการแต่งกายนั้น นำไปสู่การไร้จินตนาการถึงสิทธิที่ใหญ่กว่านั้นจริงหรือ? นอกจากนี้ ยังต้องดูบริบทต่างๆที่แวดล้อมตัวนักศึกษาด้วยว่า เป็นบริบทที่เอื้อแก่การมีสำนึกเหล่านี้หรือไม่ และคำถามต่อไปที่เป็นเชิงกลับของคำถามแรก ก็คือ ถ้านักศึกษามีสำนึกเรื่องสิทธิในการแต่งกายมาเรียนแล้ว พวกเขา (พวกเรานั่นแหละ) จะมีสำนึกในสิทธิที่ก้าวหน้าขึ้นจริงหรือไม่?
สรุป : ข้อความนี้เหมาะแก่การสร้างกระแสมากกว่า (เพราะสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะนักศึกษา) เพราะพร่องในเรื่องตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร ทั้งนี้ ข้อสรุปเกิดขึ้นจากเพียงข้อความสั้นๆนี้เท่านั้น มิได้หมายรวมถึงบทความที่ข้อความนี้ปรากฏอยู่ เพราะยังไม่ได้อ่าน (ฮี่ๆ) ซึ่งหากอ่านบทความทั้งหมดแล้ว อาจทำให้เข้าใจความคิดของผู้เขียนในเรื่องสิทธิมากขึ้น และคงจะดีถ้ามันสามารถกระตุ้นให้เกิดสำนึกเรื่องสิทธิขึ้นมาได้จริงๆ
หวังเหลือเกินว่า สักวันความคิดเรื่องสิทธิจะเกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยอย่างถ้วนหน้าสักทีT^T
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Planaonao vs Chetta Vol.1
Planaonao Plus : มี 2 เรื่องที่สงสัยจากการเรียนวันนี้ครับ (21 กรกฎาคม 2553)
1. ปัจจัยอะไรที่ทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นเฟดตัวไป และความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวมาเป็นประเด็นหลักแทนที่
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
ตอบแบบจะรีบไปห้องน้ำว่า
1.การสิ้นสุดของสงครามเย็น - การล่มสลายของคอมมิวนิสม์ในลักษณะของการแพร่ระบาด (contagion) – การใช้สำนึกทางชนชั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมการปฏิวัติชนชั้นแทบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
1. อ๋อ เข้าใจแล้ว เพราะคอมมิวนิสต์เน้นเรื่องชนชั้น การหมดบทบาทในกระแสหลักของคอมมิวนิสต์ก็เท่ากับเรื่องชนชั้นลดบทบาทลงไปด้วย
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายเท่าที่จำได้
อย่างไรก็ดี หลังจากการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์โซเวียตและหลังจากที่ประเทศจีนได้หันไปดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอันนำไปสู่การขยายตัวของความไม่เท่าเทียมกัน ดูเหมือนว่าความขัดแย้งทางชนชั้นก็ได้เริ่มลดบทบาทลงในฐานะเป็นต้นตอของการจับขั้วทางการเมือง (political polarisation) ในโลกกำลังพัฒนาและเปิดโอกาสให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้เข้ามามีบทบาทแทน
คงไม่มีการแตกแยกทางการเมือง (political division) รูปแบบใดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างยืดเยื้อเรื้อรังและรุนแรงในชาติกำลังพัฒนาทั้งหลายได้เท่ากับประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ (ethnicity)
ประชาชนในโลกที่สามแทบทั้งหมดได้ถูกดึงเข้าสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันบนพื้นฐานของภาษา วัฒนธรรม ศาสนา สีผิว และดูเหมือนว่าหลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้ทวีความรุนแรงจนขยายขอบเขตออกไปจนเกินกว่าที่จะเป็นแค่เพียงเรื่องของชนชั้นทางสังคมเศรษฐกิจเท่านั้น
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
แน่นอนว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ไมได้จำกัดขอบเขตอยู่แค่ในโลกที่สามเท่านั้น ทว่าความขัดแย้งดังกล่าวได้ผุดโผล่เมื่อไม่นานมานี้ในดินแดนหลายๆแห่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเช่นเซอร์เบีย ไอร์แลนด์เหนือ อดีตสหภาพโซวียต และแคนาคา อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์นี้กลับสร้างปัญหาอันขมขื่นโดยเฉพาะให้กับประเทศต่างๆที่มีการพัฒนาระดับต่ำ (LDCs) อันเป็นผลมาจากการแข่งขันอย่างเข้มข้นรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ขาดแคลน ดังนั้น แม้ว่าการเมืองในนาครของอเมริกา (American urban politics) ในบางครั้งสำแดงตัวออกมาลักษณะของการแข่งขันระหว่างชาวแองโกล-แซกซอน ชาวไอริช ชาวอิตาเลียน ชาวยิว ชาวอเมริกันที่พูดภาษาสเปน (Hispanics) และชาวอเมริกันแอฟริกัน (African Americans) แต่ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าวก็ไม่เคยรุนแรงเหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเชีย ประเทศเลบานอน และประเทศอินเดีย ในประเทศต่างๆเหล่านี้ หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่ขัดแย้งต่อสู้กันมีความรู้สึกว่าความอยู่รอดของพวกเขานั้นแขวนเอาไว้กับการกระจายงานในภาคสาธารณะ โอกาสในการศึกษา และโครงการพัฒนาของรัฐ
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:49 น.
แต่ทุนนิยมก็เป็นตัวการใหญ่ให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้น โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจไม่ใช่หรอครับอาจารย์ มันน่าจะยิ่งทวีความรุนแรงด้วยซ้ำไป ขณะที่ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์น่าจะควบคุมความขัดแย้งทางชนชั้นได้ดีกว่าอ่าครับ ผมก็เลยสงสัยอยู่นประเด็นนี้
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:06 น.
ผมไม่ได้บอกว่าความขัดแย้งทางชนชั้นหมดไปในโลกปัจจุบัน แต่มีบทบาทในการเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองน้อยกว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ในโลกทุนนิยมปัจจุบันหรือที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ทุนนิยมสามารถผลิตซ้ำตัวมันเองได้ในรูปแบบของการทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้าและการทำให้พวกเราไม่รู้สึกว่าเราถูกเอาเปรียบในสังคมบริโภคนิยม เรามีความเท่าทียใกนในการเข้าไปในห้องสรรสินค้าใช่หรือไม่ เรามีความเท่าเทียมกันในการ 'แดก' McDonald ใช่หรือไม่ หรือสินค้าบางอย่างเราซื้อของแท้ไม่ได้ แต่เราก็สามารถซื้อ imitation good ได้มิไช่หรือ
คุณคงเห็นขบวนการก่อการร้ายสากลของพวก Islamic Fundamentalism ใช่หรือไม่ จริงๆแล้วเขาทำสงครามกับทุนนิยม แต่อ้างความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ผมขอเน้นว่าความขัดแย้งทางชนชั้นยังไม่หายไป แต่มันมีบทบาทเป็นรองเท่านั้นสำหรับโลกกำลังพัฒนา
2. การที่ประเทศกำลังพัฒนาปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ผ่านขั้นทุนนิยมก่อนส่งผลอะไรต่อทฤษฎีของมาร์กซ์บ้างครับ
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
2. ยิ่งดีใหญ่ เพราะการปฏิวิติจะได้เกิดเร้ซขึ้นและเกิดขึ้นทั้วโลก ถ้า Marx ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงชอบใจมาก เพราะมีสาวกที่เอาการเอางานอย่าง Lenin, Mao, Ho Chi Minh, Castro, etc. ซึ่งล้วนเป็นทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิวัติในโลกที่สาม
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
2. แต่ทฤษฎีของมาร์กซ์ก็ผิดไป อย่างงี้ทฤษฎี 5 ขั้นสู่คอมมิวนิสต์มิเท่ากับถูกท้าทายหรอครับ แม้เป้าหมายจะยังคงเดิมก็ตาม
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:14 น.
ไม่ได้ถูกท้าทาย เพราะ Marx ต้องการทำสงครามชนชั้นเพื่อเปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมโดยมองจากประสบการณ์ในอังกฤษที่เป็นทุนนิยมอันมีเงื่อนไขของความขัดแย้งทางชนชั้นที่สุกงอมแล้ว แต่ทำไมการปฏิวัติอย่างที่ Marx อยากเห็น จึงไม่เกิด
1. ทุนนิยมปรับตัวในรูปของรัฐสวัสดิการ และล่าสุดผมตอบคุณไปแล้วคือการสลายทุกคนให้กลายเป็นผู้บริโภคอย่างเสมอภาคกัน
2. ในสังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยมก็สามารถข้ามขั้นตอนไปสู่สังคมนิยมได้ของ Marx ได้ เช่น รัสเซีย จีน คิวบา เวียดนาม ซึ่งผมตอบคุณไปแล้ว
3. ถ้าคุณจริงจังกับการศึกษาความคิดของ Marx จะเห็นวา Marx เคยเขียนถึงสังคมเอเชียที่พัฒนาไปเป็นทุนนิยมล่าช้าเพราะมีวิถีการผลิตที่เรียกว่า Asiatic mode of production
4. สังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยม Marx เชื่อว่า พรรคคอมมิวนิสต์ต้องมีบทบาทหลักในการปฏิวัติ [ประเด็นนี้ต้องพูดกันยาว โดยเฉพาะเรื่อง class-in-itself และ class-for-itself]
ก็น่าจะพอเข้าใจบริบทที่ทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งในโลกที่ 3 แทนที่ความขัดแย้งทางชนชั้น รวมถึงเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์นะครับ
1. ปัจจัยอะไรที่ทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นเฟดตัวไป และความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวมาเป็นประเด็นหลักแทนที่
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
ตอบแบบจะรีบไปห้องน้ำว่า
1.การสิ้นสุดของสงครามเย็น - การล่มสลายของคอมมิวนิสม์ในลักษณะของการแพร่ระบาด (contagion) – การใช้สำนึกทางชนชั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมการปฏิวัติชนชั้นแทบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
1. อ๋อ เข้าใจแล้ว เพราะคอมมิวนิสต์เน้นเรื่องชนชั้น การหมดบทบาทในกระแสหลักของคอมมิวนิสต์ก็เท่ากับเรื่องชนชั้นลดบทบาทลงไปด้วย
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายเท่าที่จำได้
อย่างไรก็ดี หลังจากการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์โซเวียตและหลังจากที่ประเทศจีนได้หันไปดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอันนำไปสู่การขยายตัวของความไม่เท่าเทียมกัน ดูเหมือนว่าความขัดแย้งทางชนชั้นก็ได้เริ่มลดบทบาทลงในฐานะเป็นต้นตอของการจับขั้วทางการเมือง (political polarisation) ในโลกกำลังพัฒนาและเปิดโอกาสให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้เข้ามามีบทบาทแทน
คงไม่มีการแตกแยกทางการเมือง (political division) รูปแบบใดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างยืดเยื้อเรื้อรังและรุนแรงในชาติกำลังพัฒนาทั้งหลายได้เท่ากับประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ (ethnicity)
ประชาชนในโลกที่สามแทบทั้งหมดได้ถูกดึงเข้าสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันบนพื้นฐานของภาษา วัฒนธรรม ศาสนา สีผิว และดูเหมือนว่าหลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้ทวีความรุนแรงจนขยายขอบเขตออกไปจนเกินกว่าที่จะเป็นแค่เพียงเรื่องของชนชั้นทางสังคมเศรษฐกิจเท่านั้น
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
แน่นอนว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ไมได้จำกัดขอบเขตอยู่แค่ในโลกที่สามเท่านั้น ทว่าความขัดแย้งดังกล่าวได้ผุดโผล่เมื่อไม่นานมานี้ในดินแดนหลายๆแห่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเช่นเซอร์เบีย ไอร์แลนด์เหนือ อดีตสหภาพโซวียต และแคนาคา อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์นี้กลับสร้างปัญหาอันขมขื่นโดยเฉพาะให้กับประเทศต่างๆที่มีการพัฒนาระดับต่ำ (LDCs) อันเป็นผลมาจากการแข่งขันอย่างเข้มข้นรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ขาดแคลน ดังนั้น แม้ว่าการเมืองในนาครของอเมริกา (American urban politics) ในบางครั้งสำแดงตัวออกมาลักษณะของการแข่งขันระหว่างชาวแองโกล-แซกซอน ชาวไอริช ชาวอิตาเลียน ชาวยิว ชาวอเมริกันที่พูดภาษาสเปน (Hispanics) และชาวอเมริกันแอฟริกัน (African Americans) แต่ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าวก็ไม่เคยรุนแรงเหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเชีย ประเทศเลบานอน และประเทศอินเดีย ในประเทศต่างๆเหล่านี้ หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่ขัดแย้งต่อสู้กันมีความรู้สึกว่าความอยู่รอดของพวกเขานั้นแขวนเอาไว้กับการกระจายงานในภาคสาธารณะ โอกาสในการศึกษา และโครงการพัฒนาของรัฐ
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:49 น.
แต่ทุนนิยมก็เป็นตัวการใหญ่ให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้น โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจไม่ใช่หรอครับอาจารย์ มันน่าจะยิ่งทวีความรุนแรงด้วยซ้ำไป ขณะที่ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์น่าจะควบคุมความขัดแย้งทางชนชั้นได้ดีกว่าอ่าครับ ผมก็เลยสงสัยอยู่นประเด็นนี้
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:06 น.
ผมไม่ได้บอกว่าความขัดแย้งทางชนชั้นหมดไปในโลกปัจจุบัน แต่มีบทบาทในการเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองน้อยกว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ในโลกทุนนิยมปัจจุบันหรือที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ทุนนิยมสามารถผลิตซ้ำตัวมันเองได้ในรูปแบบของการทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้าและการทำให้พวกเราไม่รู้สึกว่าเราถูกเอาเปรียบในสังคมบริโภคนิยม เรามีความเท่าทียใกนในการเข้าไปในห้องสรรสินค้าใช่หรือไม่ เรามีความเท่าเทียมกันในการ 'แดก' McDonald ใช่หรือไม่ หรือสินค้าบางอย่างเราซื้อของแท้ไม่ได้ แต่เราก็สามารถซื้อ imitation good ได้มิไช่หรือ
คุณคงเห็นขบวนการก่อการร้ายสากลของพวก Islamic Fundamentalism ใช่หรือไม่ จริงๆแล้วเขาทำสงครามกับทุนนิยม แต่อ้างความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ผมขอเน้นว่าความขัดแย้งทางชนชั้นยังไม่หายไป แต่มันมีบทบาทเป็นรองเท่านั้นสำหรับโลกกำลังพัฒนา
2. การที่ประเทศกำลังพัฒนาปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ผ่านขั้นทุนนิยมก่อนส่งผลอะไรต่อทฤษฎีของมาร์กซ์บ้างครับ
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
2. ยิ่งดีใหญ่ เพราะการปฏิวิติจะได้เกิดเร้ซขึ้นและเกิดขึ้นทั้วโลก ถ้า Marx ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงชอบใจมาก เพราะมีสาวกที่เอาการเอางานอย่าง Lenin, Mao, Ho Chi Minh, Castro, etc. ซึ่งล้วนเป็นทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิวัติในโลกที่สาม
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
2. แต่ทฤษฎีของมาร์กซ์ก็ผิดไป อย่างงี้ทฤษฎี 5 ขั้นสู่คอมมิวนิสต์มิเท่ากับถูกท้าทายหรอครับ แม้เป้าหมายจะยังคงเดิมก็ตาม
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:14 น.
ไม่ได้ถูกท้าทาย เพราะ Marx ต้องการทำสงครามชนชั้นเพื่อเปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมโดยมองจากประสบการณ์ในอังกฤษที่เป็นทุนนิยมอันมีเงื่อนไขของความขัดแย้งทางชนชั้นที่สุกงอมแล้ว แต่ทำไมการปฏิวัติอย่างที่ Marx อยากเห็น จึงไม่เกิด
1. ทุนนิยมปรับตัวในรูปของรัฐสวัสดิการ และล่าสุดผมตอบคุณไปแล้วคือการสลายทุกคนให้กลายเป็นผู้บริโภคอย่างเสมอภาคกัน
2. ในสังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยมก็สามารถข้ามขั้นตอนไปสู่สังคมนิยมได้ของ Marx ได้ เช่น รัสเซีย จีน คิวบา เวียดนาม ซึ่งผมตอบคุณไปแล้ว
3. ถ้าคุณจริงจังกับการศึกษาความคิดของ Marx จะเห็นวา Marx เคยเขียนถึงสังคมเอเชียที่พัฒนาไปเป็นทุนนิยมล่าช้าเพราะมีวิถีการผลิตที่เรียกว่า Asiatic mode of production
4. สังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยม Marx เชื่อว่า พรรคคอมมิวนิสต์ต้องมีบทบาทหลักในการปฏิวัติ [ประเด็นนี้ต้องพูดกันยาว โดยเฉพาะเรื่อง class-in-itself และ class-for-itself]
ก็น่าจะพอเข้าใจบริบทที่ทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งในโลกที่ 3 แทนที่ความขัดแย้งทางชนชั้น รวมถึงเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์นะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
พลอตเรื่องที่ซ้ำกัน (The Same Plot)
บทความนี้จะพูดถึงความซ้ำกันของพลอตเรื่องในช่วงปลายรัชสมัยของกษัตริย์ 2 พระองค์ พระองค์หนึ่งคือกษัตริย์ที่คนไทยรู้จักดี ถือว่าอยู่ในความสนใจของคนไทยเรื่อยมา คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับอีกพระองค์หนึ่งซึ่งคนไทยรู้จักพระองค์เพียงน้อยนิด ซึ่งช่วงเวลาอันสั้นของพระองค์มีผลอย่างมาก คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ นั่นเอง ทั้ง ๒ พระองค์สวรรคตอย่างเป็นปริศนา กษัตริย์พระองค์แรกถูกทำรัฐประหาร กับกษัตริย์อีกพระองค์นั้นถูกปลงพระชนม์ (พระองค์อยู่ในช่วงเวลาที่สยามเป็นประชาธิปไตยแล้ว ดังนั้น การสวรรคตของพระองค์จึงไม่ใช่การรัฐประหาร กล่าวคือ พระองค์ไม่ใช่ผู้มีอำนาจฝ่ายบริหารนั่นเอง) แต่การสวรรคตของทั้งสองไม่กระจ่างชัดจนวันนี้ ด้วยเหตุนี้ ข่าวลือที่มีพลอตเรื่องเดียวกันจึงเกิดขึ้น
พลอตเรื่องที่ซ้ำกัน
พลอตเรื่องที่ว่าก็คือ กษัตริย์ไทยทั้ง ๒ มิได้สวรรคตในเวลาที่สิ้นรัชกาล อันเนื่องมาจากทรงสละราชสมบัติให้กับผู้อื่น แล้วเสด็จไปประทับที่อื่นอย่างสงบในร่มพระศาสนา พระเจ้าตากสินทรงสละราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยาจักรี ส่วนรัชกาลที่ ๘ สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระอนุชาอันได้แก่ในหลวงองค์ปัจจุบัน พระองค์แรกทรงใช้ชีวิตที่เหลือ ณ ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนอีกพระองค์เสด็จไปทางเหนือสู่จังหวัดเชียงใหม่ ปฏิบัติตนเยี่ยงภิกษุในป่าอันห่างไกลผู้คน จะเห็นได้ว่าพลอตเรื่องของทั้ง ๒ พระองค์นั้นตรงกันอย่างน่าประหลาดใจ แม้ในตัวเนื้อหาจะมีความพิเศษพิสดารต่างกันไปบ้าง เหตุการณ์ของทั้ง ๒ พระองค์เกิดในเวลาต่างกันร้อยกว่าปี แต่เราไม่ทราบเลยว่าผู้คิดพลอตเรื่องนี้อยู่ในช่วงเวลาใด และเรื่องใดเกิดก่อนกัน หรือเรื่องใดมีอิทธิพลต่อเรื่องใด แม้พระเจ้าตากสินจะสวรรคตไปก่อนหน้า แต่พลอตเรื่องนี้ก็อาจไม่ได้เกิดก่อนพลอตเรื่องของในหลวงอานันท์ก็เป็นได้ ข้อนี้คงจะเข้าใจได้ดีหากทราบถึงจุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่องเช่นนี้เสียก่อน
แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถรู้จุดประสงค์ของผู้สร้างพลอตเรื่องอย่างแน่นอน แท้จริงได้ แต่หากเราพิจารณาถึงประโยชน์ที่เกิดแก่บุคคลต่างๆ เราก็อาจจะพอรู้ถึงจุดประสงค์และผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างพลอตเรื่องนี้ได้ แล้วพลอตเรื่องเช่นนี้นั้นส่งผลดีและเสียต่อใคร?
จุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่อง ใครสร้าง และเรื่องไหนมาก่อน?
เมื่อพิจารณาถึงผลดีนั้น ที่พอจะนึกได้อย่างง่ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นตกอยู่ที่ตัวผู้สืบทอดราชบัลลังก์นั่นเอง ที่จะทรงมีความชอบธรรมอย่างสูงในการเสด็จเถลิงสวรรยราชสมบัติ หากเป็นคำอธิบายแบบเก่าที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการทั้งหลายนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ก็จะทรงมีมลทินอย่างเลี่ยงไม่ได้จากการที่ทรงยึดอำนาจจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน ขณะที่ในหลวงองค์ปัจจุบันก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์เอง แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็นคำอธิบายตามพลอตเรื่องของข่าวลือที่มีผู้เชื่อถืออยู่พอสมควรนั้น กษัตริย์ผู้มาทีหลังทั้ง ๒ จะกลายเป็นผู้แบกรับภาระอันหนักอึ้งแทนกษัตริย์ทั้ง ๒ ที่ทรงสละราชสมบัติตัดช่องน้อยแต่พอตัวไปเสียก่อน ทั้งความชอบธรรมก็จะมีในระดับที่สูง เพราะการขึ้นครองราชย์นั้นเกิดขึ้นด้วยความยินยอมพร้อมใจของทั้งฝ่ายที่จากไป และฝ่ายที่กำลังจะขึ้นสู่อำนาจ
แต่ก็ใช่ว่าฝ่ายที่ไปจะไม่มีผลประโยชน์จากพลอตเรื่องเช่นนี้ พระเจ้าตากสินทรงถูกข้ออ้างในการทำรัฐประหารของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหารเล่นงานอยู่ไม่ใช่น้อย ทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินที่ล้มเหลว และเรื่องวิกลจริต ดังนั้น การสละราชสมบัติของพระองค์ก็อาจมองได้ว่าทรงเสียสละอำนาจที่ทรงมีอยู่เต็มมือทิ้งไปเพื่อให้ผู้มีความสามารถขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยที่ไม่ใช่แม้แต่ลูกหลานของพระองค์ด้วยซ้ำ ซึ่งย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของพระองค์อย่างมาก ส่วนในหลวงอานันท์ก็มีข่าวลือในเชิงเสียหายอยู่บ้าง เช่น ทรงทะเลาะกับพระราชมารดา ทรงรักอยู่กับสาวชาวต่างชาติ (สวิส) และจะทรงเล่นการเมือง พลอตเรื่องนี้ดูจะไม่ได้สร้างผลดีแก่ในหลวงอานันท์เท่าไรนัก เพราะแม้จะมีข่าวลือพวกนี้ แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่เสียหายร้ายแรงดังเช่นกรณีของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ดังนั้น พลอตเรื่องสละราชสมบัติจึงไม่ได้ให้ภาพความเสียสละเท่ากรณีของพระเจ้าตากสินเลย ทั้งอาจเป็นผลเสียในแง่สละราชสมบัติหนีไปเพราะทรงไม่พอใจคนอื่นรอบข้างจนดูเป็นคนเอาแต่ใจ ซึ่งก็ดูขัดกับพลอตเรื่องที่ว่าทรงหนีไปบวช เพราะเรื่องที่ทรงมีปัญหานั้นล้วนเป็นเรื่องทางโลกทั้งสิ้น คงไม่มีใครคิดว่าจะทรงต้องการหนีทางโลกไปตั้งแต่พระชนม์ยังน้อย
จากที่วิเคราะห์มานั้น
จะเห็นได้ว่าพลอตเรื่องนั้นดูจะสร้างผลดีเสียมากกว่า โดยเฉพาะในกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ทั้งสองฝ่ายกำผลประโยชน์ไปด้วยกัน แต่ถ้าดูให้ดีแล้ว ผู้ที่น่าจะได้ผลประโยชน์ก้อนใหญ่กว่าน่าจะเป็นผู้มาทีหลัง คือทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และในหลวงองค์ปัจจุบัน เพราะแน่นอนว่าความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์คงเทียบไม่ได้กับภาพลักษณ์เล็กๆน้อยๆที่อาจไม่มีคนสนใจด้วยซ้ำไป ดังนั้น จุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมในการขึ้นครองราชของกษัตริย์ ๒ พระองค์ในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และในหลวงภูมิพล รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งถ้าเป็นจุดประสงค์เช่นนี้จริงแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลอตเรื่องคงหนีไม่พ้นฝ่ายของผู้มาทีหลังหรือครองราชบัลลังก์ต่อนั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเพียงการวิเคราะห์คร่าวๆเท่านั้นเพื่อให้มุมมองในแง่ที่ว่าพลอตเรื่องนี้มีการเมืองแฝงอยู่ด้วย
แต่พลอตเรื่องของใครเกิดก่อนกันอันเกี่ยวเนื่องกับมิติทางเวลานั้น ต้องอาศัยการศึกษาอย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์แล้ว ก็เป็นไปได้ทั้ง ๒ กรณี คือ ถ้ากรณีในหลวงอานันท์เกิดก่อน ก็ต้องเป็นช่วง ๒๔๘๙ (ปีที่รัชกาลที่ ๘ สวรรคต) เป็นต้นไป ซึ่งฝ่ายผู้ฝักใฝ่ นับถือศรัทธาในตัวของพระเจ้าตากสินเห็นดีเห็นงามจึงนำไปใช้บ้าง ทั้งมีหลักฐานอะไรบริเวณนครศรีธรรมราชก็จับมาโยงเข้าเสียจนดูประหนึ่งเป็นกระแสประวัติศาสตร์อีกกระแสหนึ่ง ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ เป็นพลอตของสมเด็จพระเจ้าตากสินก่อนแล้วกรณีของในหลวงอานันท์ได้อิทธิพลไป กรณีเช่นนี้ก็คือ พลอตของสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้นเกิดมาก่อน ๒๔๘๙ กล่าวคือ พลอตเรื่องเช่นนี้นั้นดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น และเมื่อในหลวงอานันท์สวรรคตอย่างกระทันหันและอธิบายได้ยากแล้ว ข่าวลือเช่นนี้จึงกลับมาโดยสร้างประโยชน์ให้แก่การขึ้นครองราชย์ของในหลวงองค์ปัจจุบัน
แต่เมื่อเราคำนึงถึงความจำเป็นในการสร้างพลอตเรื่องเช่นนี้แล้ว การสร้างพลอตเรื่องพระเจ้าตากก่อน คือ พลอตเรื่องเช่นนี้มีมานานแล้ว (ก่อน ๒๔๘๙) ก็ดูเป็นไปได้น้อยกว่า แน่นอนว่า สถาบันกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีนั้นค่อนข้างมีเสถียรภาพอย่างสูง และค่อนข้างปลอดภัยจากการแย่งชิงราชสมบัติ ไม่เหมือนช่วงกรุงศรีอยุธยาที่การรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (แม้แต่กรณีสมเด็จช่วง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการก็แสดงความจงรักภักดี ไม่ได้คิดเป็นกษัตริย์เอง มิเช่นนั้นเราก็อาจได้มีกษัตริย์เชื้อสายเปอร์เซียดูบ้าง) อีกเหตุผล คือ เมื่อพิจารณาถึงการรู้หนังสือของประชาชนแล้ว ก่อนการศึกษาอย่างตะวันตกจะเข้ามาช่วงรัชกาลที่ ๕ นั้น ปัญญาชนไทยที่เป็นสามัญชนอันจะเป็นกำลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นก็น้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอะไรให้พลอตเรื่องเพื่อสร้างความชอบธรรมเช่นนี้เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยบริบททั้งหมดนี้ตรงข้ามกับในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งสถาบันกษัตริย์เข้าสู่ช่วงตกต่ำภายใต้การนำของคณะราษฎร โดยเฉพาะจอมพล ป. ที่ลดอำนาจสถาบันกษัตริย์ลงอย่างมาก ทั้งปัญญาชนไทยก็เริ่มมากขึ้น ดังนั้น พลอตเรื่องเช่นนี้ก็อาจจำเป็นต้องเกิดขึ้นมา โดยเฉพาะในกรณีที่ละเอียดอ่อนอย่างการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ที่อาจทำให้พระอนุชาของพระองค์ครองราชย์โดยไร้ความชอบธรรม และเมื่อพลอตเรื่องเช่นนี้ ที่ดูแล้วน่าสบายใจต่อคนทั่วไปมากกว่าเกิดขึ้น ผู้ศรัทธาในตัวพระเจ้าตากสินจึงอาจนำมาเป็นแบบอย่างบ้าง โดยนำไปเชื่อมกับนครศรีธรรมราช มีอะไรที่น่าจะเกี่ยวก็จับโยงกันจนกลายเป็น กระแสประวัติศาสตร์ประชาชน คือ คิดเอาเอง ไม่ได้ตรวจสอบ หรือใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เลย แต่แม้จะดูเป็นเรื่องเลื่อนลอย แต่ก็มีผู้เชื่อในความคิดเช่นนี้อยู่ไม่น้อย ซึ่งก็เรื่องทางจิตวิทยาที่คนคิดพลอตเรื่องอาจจะคาดไว้ก่อนแล้วหรือไม่ก็ได้ ที่สร้างเรื่องให้คนทั่วไปรู้สึกดีและเลือกที่จะเชื่อกับแนวคิดนี้มากกว่า หรืออีกแง่หนึ่งอาจเป็นฝ่ายราชวงศ์จักรีเองที่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้แก่พระปฐมบรมกษัตริย์ของตนก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็คงเกิดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพลอตเรื่องของในหลวงอานันท์ คือ ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพลอตของพระเจ้าตากสินอาจถูกสร้างเพื่อเป็นตัวอ้างอิงว่าเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งย่อมนำความน่าเขื่อถือที่เพิ่มขึ้นมาให้แก่เรื่องของในหลวงอานันท์ที่เกิดหลังกรณีพระเจ้าตากสิน
แม้ว่าจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเรื่องของใครเกิดก่อนกัน แต่แน่นอนว่าเราได้รู้ถึงการใช้การแก้ต่างโดยใช้ข่าวลือที่มีพลอตเรื่องอย่างดี ซึ่งความคิดนั้นอาจเกิดขึ้นนานมาแล้ว (กรณีพระเจ้าตากมาก่อน) หรือเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ (กรณีในหลวงอานันท์มาก่อน) ก็ได้ ซึ่งความคิดเช่นนี้ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยตัวมันเอง แต่ย่อมมีบริบทที่ผลักดันมันอยู่ ทั้งการเกิดขึ้นของปัญญาชน ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ หรือแม้แต่ความตกต่ำของสถาบันกษัตริย์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25
สรุป
โดยสรุปแล้ว บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าพลอตเรื่องนี้จะเกิดในเวลาใด หรือเกิดจากใคร (อาจไม่ใช่ฝ่ายที่มาทีหลังก็ได้) และไม่ว่าเรื่องใดจะเกิดก่อนกัน แต่พลอตเรื่องดังกล่าวนั้นมีนัยยะแฝงของเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยที่บางครั้งเราไม่ได้ตั้งคำถามต่อมัน จนหลายคนหลงเชื่อไปกับพลอตเรื่องที่ดูดี คือ ดูแล้วสมานฉันท์ ดูแล้วไม่เสียเลือดเสียเนื้อต่อกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องทางจิตวิทยาอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ที่สุดแล้ว มันก็ได้สร้างประโยชน์เรื่องความชอบธรรมแก่การครองราชย์ของผู้มาทีหลังทั้ง ๒ พระองค์ไปแล้ว นอกจากนี้ บทความนี้ยังต้องการสะท้อนว่าการเกิดขึ้นของพลอตเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกิดมาอย่างอิสระ แต่มีปัจจัยต่างๆที่ผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว ซึ่งบางทีอาจเป็นแค่การลอกเลียนพลอตจากหนังสือนิยายก็ได้ ดังนั้น พลอตเรื่องนี้ก็สามารถเป็นหน้าประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งได้เช่นกัน โดยที่ตัวมันเองก็คือความคิดของคนที่สร้างมันขึ้นมาภายใต้บริบทจำนวนหนึ่ง จนในที่สุด เมื่อมันเข้ากันได้กับคนจำนวนหนึ่ง มันจึงกลายเป็นกระแสประวัติศาสตร์ประชาชนที่ขาดการตรวจสอบ แต่ก็เป็นประโยชน์แก่ความชอบธรรมของคนบางกลุ่มบางพวกไปพร้อมๆกัน
พลอตเรื่องที่ซ้ำกัน
พลอตเรื่องที่ว่าก็คือ กษัตริย์ไทยทั้ง ๒ มิได้สวรรคตในเวลาที่สิ้นรัชกาล อันเนื่องมาจากทรงสละราชสมบัติให้กับผู้อื่น แล้วเสด็จไปประทับที่อื่นอย่างสงบในร่มพระศาสนา พระเจ้าตากสินทรงสละราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยาจักรี ส่วนรัชกาลที่ ๘ สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระอนุชาอันได้แก่ในหลวงองค์ปัจจุบัน พระองค์แรกทรงใช้ชีวิตที่เหลือ ณ ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนอีกพระองค์เสด็จไปทางเหนือสู่จังหวัดเชียงใหม่ ปฏิบัติตนเยี่ยงภิกษุในป่าอันห่างไกลผู้คน จะเห็นได้ว่าพลอตเรื่องของทั้ง ๒ พระองค์นั้นตรงกันอย่างน่าประหลาดใจ แม้ในตัวเนื้อหาจะมีความพิเศษพิสดารต่างกันไปบ้าง เหตุการณ์ของทั้ง ๒ พระองค์เกิดในเวลาต่างกันร้อยกว่าปี แต่เราไม่ทราบเลยว่าผู้คิดพลอตเรื่องนี้อยู่ในช่วงเวลาใด และเรื่องใดเกิดก่อนกัน หรือเรื่องใดมีอิทธิพลต่อเรื่องใด แม้พระเจ้าตากสินจะสวรรคตไปก่อนหน้า แต่พลอตเรื่องนี้ก็อาจไม่ได้เกิดก่อนพลอตเรื่องของในหลวงอานันท์ก็เป็นได้ ข้อนี้คงจะเข้าใจได้ดีหากทราบถึงจุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่องเช่นนี้เสียก่อน
แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถรู้จุดประสงค์ของผู้สร้างพลอตเรื่องอย่างแน่นอน แท้จริงได้ แต่หากเราพิจารณาถึงประโยชน์ที่เกิดแก่บุคคลต่างๆ เราก็อาจจะพอรู้ถึงจุดประสงค์และผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างพลอตเรื่องนี้ได้ แล้วพลอตเรื่องเช่นนี้นั้นส่งผลดีและเสียต่อใคร?
จุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่อง ใครสร้าง และเรื่องไหนมาก่อน?
เมื่อพิจารณาถึงผลดีนั้น ที่พอจะนึกได้อย่างง่ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นตกอยู่ที่ตัวผู้สืบทอดราชบัลลังก์นั่นเอง ที่จะทรงมีความชอบธรรมอย่างสูงในการเสด็จเถลิงสวรรยราชสมบัติ หากเป็นคำอธิบายแบบเก่าที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการทั้งหลายนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ก็จะทรงมีมลทินอย่างเลี่ยงไม่ได้จากการที่ทรงยึดอำนาจจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน ขณะที่ในหลวงองค์ปัจจุบันก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์เอง แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็นคำอธิบายตามพลอตเรื่องของข่าวลือที่มีผู้เชื่อถืออยู่พอสมควรนั้น กษัตริย์ผู้มาทีหลังทั้ง ๒ จะกลายเป็นผู้แบกรับภาระอันหนักอึ้งแทนกษัตริย์ทั้ง ๒ ที่ทรงสละราชสมบัติตัดช่องน้อยแต่พอตัวไปเสียก่อน ทั้งความชอบธรรมก็จะมีในระดับที่สูง เพราะการขึ้นครองราชย์นั้นเกิดขึ้นด้วยความยินยอมพร้อมใจของทั้งฝ่ายที่จากไป และฝ่ายที่กำลังจะขึ้นสู่อำนาจ
แต่ก็ใช่ว่าฝ่ายที่ไปจะไม่มีผลประโยชน์จากพลอตเรื่องเช่นนี้ พระเจ้าตากสินทรงถูกข้ออ้างในการทำรัฐประหารของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหารเล่นงานอยู่ไม่ใช่น้อย ทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินที่ล้มเหลว และเรื่องวิกลจริต ดังนั้น การสละราชสมบัติของพระองค์ก็อาจมองได้ว่าทรงเสียสละอำนาจที่ทรงมีอยู่เต็มมือทิ้งไปเพื่อให้ผู้มีความสามารถขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยที่ไม่ใช่แม้แต่ลูกหลานของพระองค์ด้วยซ้ำ ซึ่งย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของพระองค์อย่างมาก ส่วนในหลวงอานันท์ก็มีข่าวลือในเชิงเสียหายอยู่บ้าง เช่น ทรงทะเลาะกับพระราชมารดา ทรงรักอยู่กับสาวชาวต่างชาติ (สวิส) และจะทรงเล่นการเมือง พลอตเรื่องนี้ดูจะไม่ได้สร้างผลดีแก่ในหลวงอานันท์เท่าไรนัก เพราะแม้จะมีข่าวลือพวกนี้ แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่เสียหายร้ายแรงดังเช่นกรณีของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ดังนั้น พลอตเรื่องสละราชสมบัติจึงไม่ได้ให้ภาพความเสียสละเท่ากรณีของพระเจ้าตากสินเลย ทั้งอาจเป็นผลเสียในแง่สละราชสมบัติหนีไปเพราะทรงไม่พอใจคนอื่นรอบข้างจนดูเป็นคนเอาแต่ใจ ซึ่งก็ดูขัดกับพลอตเรื่องที่ว่าทรงหนีไปบวช เพราะเรื่องที่ทรงมีปัญหานั้นล้วนเป็นเรื่องทางโลกทั้งสิ้น คงไม่มีใครคิดว่าจะทรงต้องการหนีทางโลกไปตั้งแต่พระชนม์ยังน้อย
จากที่วิเคราะห์มานั้น
จะเห็นได้ว่าพลอตเรื่องนั้นดูจะสร้างผลดีเสียมากกว่า โดยเฉพาะในกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ทั้งสองฝ่ายกำผลประโยชน์ไปด้วยกัน แต่ถ้าดูให้ดีแล้ว ผู้ที่น่าจะได้ผลประโยชน์ก้อนใหญ่กว่าน่าจะเป็นผู้มาทีหลัง คือทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และในหลวงองค์ปัจจุบัน เพราะแน่นอนว่าความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์คงเทียบไม่ได้กับภาพลักษณ์เล็กๆน้อยๆที่อาจไม่มีคนสนใจด้วยซ้ำไป ดังนั้น จุดประสงค์ของการสร้างพลอตเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมในการขึ้นครองราชของกษัตริย์ ๒ พระองค์ในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และในหลวงภูมิพล รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งถ้าเป็นจุดประสงค์เช่นนี้จริงแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลอตเรื่องคงหนีไม่พ้นฝ่ายของผู้มาทีหลังหรือครองราชบัลลังก์ต่อนั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเพียงการวิเคราะห์คร่าวๆเท่านั้นเพื่อให้มุมมองในแง่ที่ว่าพลอตเรื่องนี้มีการเมืองแฝงอยู่ด้วย
แต่พลอตเรื่องของใครเกิดก่อนกันอันเกี่ยวเนื่องกับมิติทางเวลานั้น ต้องอาศัยการศึกษาอย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์แล้ว ก็เป็นไปได้ทั้ง ๒ กรณี คือ ถ้ากรณีในหลวงอานันท์เกิดก่อน ก็ต้องเป็นช่วง ๒๔๘๙ (ปีที่รัชกาลที่ ๘ สวรรคต) เป็นต้นไป ซึ่งฝ่ายผู้ฝักใฝ่ นับถือศรัทธาในตัวของพระเจ้าตากสินเห็นดีเห็นงามจึงนำไปใช้บ้าง ทั้งมีหลักฐานอะไรบริเวณนครศรีธรรมราชก็จับมาโยงเข้าเสียจนดูประหนึ่งเป็นกระแสประวัติศาสตร์อีกกระแสหนึ่ง ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ เป็นพลอตของสมเด็จพระเจ้าตากสินก่อนแล้วกรณีของในหลวงอานันท์ได้อิทธิพลไป กรณีเช่นนี้ก็คือ พลอตของสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้นเกิดมาก่อน ๒๔๘๙ กล่าวคือ พลอตเรื่องเช่นนี้นั้นดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น และเมื่อในหลวงอานันท์สวรรคตอย่างกระทันหันและอธิบายได้ยากแล้ว ข่าวลือเช่นนี้จึงกลับมาโดยสร้างประโยชน์ให้แก่การขึ้นครองราชย์ของในหลวงองค์ปัจจุบัน
แต่เมื่อเราคำนึงถึงความจำเป็นในการสร้างพลอตเรื่องเช่นนี้แล้ว การสร้างพลอตเรื่องพระเจ้าตากก่อน คือ พลอตเรื่องเช่นนี้มีมานานแล้ว (ก่อน ๒๔๘๙) ก็ดูเป็นไปได้น้อยกว่า แน่นอนว่า สถาบันกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีนั้นค่อนข้างมีเสถียรภาพอย่างสูง และค่อนข้างปลอดภัยจากการแย่งชิงราชสมบัติ ไม่เหมือนช่วงกรุงศรีอยุธยาที่การรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (แม้แต่กรณีสมเด็จช่วง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการก็แสดงความจงรักภักดี ไม่ได้คิดเป็นกษัตริย์เอง มิเช่นนั้นเราก็อาจได้มีกษัตริย์เชื้อสายเปอร์เซียดูบ้าง) อีกเหตุผล คือ เมื่อพิจารณาถึงการรู้หนังสือของประชาชนแล้ว ก่อนการศึกษาอย่างตะวันตกจะเข้ามาช่วงรัชกาลที่ ๕ นั้น ปัญญาชนไทยที่เป็นสามัญชนอันจะเป็นกำลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นก็น้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอะไรให้พลอตเรื่องเพื่อสร้างความชอบธรรมเช่นนี้เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยบริบททั้งหมดนี้ตรงข้ามกับในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งสถาบันกษัตริย์เข้าสู่ช่วงตกต่ำภายใต้การนำของคณะราษฎร โดยเฉพาะจอมพล ป. ที่ลดอำนาจสถาบันกษัตริย์ลงอย่างมาก ทั้งปัญญาชนไทยก็เริ่มมากขึ้น ดังนั้น พลอตเรื่องเช่นนี้ก็อาจจำเป็นต้องเกิดขึ้นมา โดยเฉพาะในกรณีที่ละเอียดอ่อนอย่างการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ ที่อาจทำให้พระอนุชาของพระองค์ครองราชย์โดยไร้ความชอบธรรม และเมื่อพลอตเรื่องเช่นนี้ ที่ดูแล้วน่าสบายใจต่อคนทั่วไปมากกว่าเกิดขึ้น ผู้ศรัทธาในตัวพระเจ้าตากสินจึงอาจนำมาเป็นแบบอย่างบ้าง โดยนำไปเชื่อมกับนครศรีธรรมราช มีอะไรที่น่าจะเกี่ยวก็จับโยงกันจนกลายเป็น กระแสประวัติศาสตร์ประชาชน คือ คิดเอาเอง ไม่ได้ตรวจสอบ หรือใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เลย แต่แม้จะดูเป็นเรื่องเลื่อนลอย แต่ก็มีผู้เชื่อในความคิดเช่นนี้อยู่ไม่น้อย ซึ่งก็เรื่องทางจิตวิทยาที่คนคิดพลอตเรื่องอาจจะคาดไว้ก่อนแล้วหรือไม่ก็ได้ ที่สร้างเรื่องให้คนทั่วไปรู้สึกดีและเลือกที่จะเชื่อกับแนวคิดนี้มากกว่า หรืออีกแง่หนึ่งอาจเป็นฝ่ายราชวงศ์จักรีเองที่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้แก่พระปฐมบรมกษัตริย์ของตนก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็คงเกิดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับพลอตเรื่องของในหลวงอานันท์ คือ ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพลอตของพระเจ้าตากสินอาจถูกสร้างเพื่อเป็นตัวอ้างอิงว่าเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งย่อมนำความน่าเขื่อถือที่เพิ่มขึ้นมาให้แก่เรื่องของในหลวงอานันท์ที่เกิดหลังกรณีพระเจ้าตากสิน
แม้ว่าจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเรื่องของใครเกิดก่อนกัน แต่แน่นอนว่าเราได้รู้ถึงการใช้การแก้ต่างโดยใช้ข่าวลือที่มีพลอตเรื่องอย่างดี ซึ่งความคิดนั้นอาจเกิดขึ้นนานมาแล้ว (กรณีพระเจ้าตากมาก่อน) หรือเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ (กรณีในหลวงอานันท์มาก่อน) ก็ได้ ซึ่งความคิดเช่นนี้ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยตัวมันเอง แต่ย่อมมีบริบทที่ผลักดันมันอยู่ ทั้งการเกิดขึ้นของปัญญาชน ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ หรือแม้แต่ความตกต่ำของสถาบันกษัตริย์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25
สรุป
โดยสรุปแล้ว บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าพลอตเรื่องนี้จะเกิดในเวลาใด หรือเกิดจากใคร (อาจไม่ใช่ฝ่ายที่มาทีหลังก็ได้) และไม่ว่าเรื่องใดจะเกิดก่อนกัน แต่พลอตเรื่องดังกล่าวนั้นมีนัยยะแฝงของเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยที่บางครั้งเราไม่ได้ตั้งคำถามต่อมัน จนหลายคนหลงเชื่อไปกับพลอตเรื่องที่ดูดี คือ ดูแล้วสมานฉันท์ ดูแล้วไม่เสียเลือดเสียเนื้อต่อกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องทางจิตวิทยาอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ที่สุดแล้ว มันก็ได้สร้างประโยชน์เรื่องความชอบธรรมแก่การครองราชย์ของผู้มาทีหลังทั้ง ๒ พระองค์ไปแล้ว นอกจากนี้ บทความนี้ยังต้องการสะท้อนว่าการเกิดขึ้นของพลอตเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกิดมาอย่างอิสระ แต่มีปัจจัยต่างๆที่ผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว ซึ่งบางทีอาจเป็นแค่การลอกเลียนพลอตจากหนังสือนิยายก็ได้ ดังนั้น พลอตเรื่องนี้ก็สามารถเป็นหน้าประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งได้เช่นกัน โดยที่ตัวมันเองก็คือความคิดของคนที่สร้างมันขึ้นมาภายใต้บริบทจำนวนหนึ่ง จนในที่สุด เมื่อมันเข้ากันได้กับคนจำนวนหนึ่ง มันจึงกลายเป็นกระแสประวัติศาสตร์ประชาชนที่ขาดการตรวจสอบ แต่ก็เป็นประโยชน์แก่ความชอบธรรมของคนบางกลุ่มบางพวกไปพร้อมๆกัน
วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เอกสารจีนกับประวัติศาสตร์ไทย
ก่อนจะเข้าสู่บทความนี้ ผู้อ่านควรเข้าใจก่อนว่า ประวัติศาสตร์ไทย นั้นคืออะไร ? นี่คือคำถามที่ต้องตอบเสียก่อน และคำตอบก็คงไม่ได้มีแค่คำตอบเดียว แต่เอาเป็นว่าถ้าตอบอย่างง่ายก็คงบอกได้ว่า ประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในดินแดนรัฐไทยปัจจุบัน อันกอปรขึ้นด้วยคนหลากหลายที่มา ซึ่งเมื่อพูดเช่นนี้ ก็จะได้ขอบเขตของประวัติศาสตร์ที่กว้างขึ้นจาก สุโขทัย-อยุธยา-ธนบุรี-รัตนโกสินทร์
เมื่อพูดถึงสุโขทัยว่าเหตุใดจึงเป็นจุดเริ่มของประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักนั้น ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะหลักฐานการบันทึกที่เก่าที่สุดนั้นเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย และแน่นอนว่าผู้ที่พบบันทึก อันได้แก่ จารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) นั้น ก็คือพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งจักรีวงศ์ อันทำให้สุโขทัยเข้าสู่ความรับรู้ของคนไทยจำนวนมากได้ดีกว่าประวัติศาสตร์ของล้านนาประเทศหรืออาณาจักรอย่างนครศรีธรรมราชในภาคใต้ที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในวงแคบๆ ทั้งที่สุโขทัยเองนั้นน่าจะมีความใกล้ชิดกับล้านนามากกว่าอยุธยาที่ถูกวางเป็นอาณาจักรภาคต่อของสุโขทัยในสายธารประวัติศาสตร์กระแสหลักด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นเช่นนี้ อาณาจักรรอบข้างที่เกิดขึ้นในสมัยเดียวกับสุโขทัย (ประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 13/พุทธศตวรรษที่ 18) หรือสมัยก่อนหน้านั้นที่ปัจจุบันน่าจะอยู่ในดินแดนรัฐไทยจึงหายไปจากความรับรู้ของคนไทย หรือกันไปอยู่เป็นชายขอบของประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก
ในยุคปัจจุบันที่เกิด ประวัติศาสตร์แนว alternative ได้แทรกตัวขึ้นมาได้สำเร็จ โดยเฉพาะภายใต้บริบทของแนวคิด Post-Modernism ที่ข้อโต้แย้งทางวิชาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาณาจักรเหล่านั้นจึงเริ่มปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง แต่ในทางประวัติศาสตร์นั้น หลักฐานถือเป็นสิ่งสำคัญ
ในภาวะที่อาณาจักรโบราณเหล่านั้นขาดแคลนหลักฐานที่เป็นบันทึกเพื่อยืนยันความมีอยู่ของตนเอง นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว การได้รู้จักกับเอกสารจีนถือเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง เพราะบันทึกของราชสำนักจีนนั้นมีระบบ มีความน่าเชื่อถือสูงอยู่แล้ว และนอกจากนั้น ราชสำนักจีนยังได้เริ่มตั้งกองงานชำระประวัติศาสตร์และจดบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7) จึงย่อมให้ภาพในช่วงเวลาก่อนสุโขทัยได้อย่างดี เช่น เอกสารจีนพาเรากลับไปรู้จักชื่ออย่าง พัน-พัน (เมืองใดเมืองหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู) ตางมาลิง (เมืองนครโบราณ) ปาไป่สีฟู่ (ล้านนา) เจอทู่ (เมืองแถบสงขลาหรือปัตตานี) ฯลฯ แม้แต่ภาพในประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักเองก็ต้องถูกกระทบ และเกิดข้อโต้แย้งจากหลักฐานที่น่าเชื่อถืออย่างเอกสารจีน แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้ภาพต่างๆที่มาช่วยเติมเต็มสิ่งที่เอกสารไทยขาดตกไปเช่นกัน
ดังนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับเอกสารจีนเหล่านั้นว่ามีที่มาอย่างไรกันบ้าง เรื่องนี้อาจารย์วินัย พงศ์ศรีเพียรได้เขียนไว้ใน เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ บอกไว้ว่าเอกสารจีนนั้นมีถึง 15 ประเภท แต่ไม่ได้ระบุว่ามีชนิดใดบ้าง แต่กล่าวถึงไว้ว่ามี 2 ประเภทที่สำคัญและมีความน่าเชื่อถือสูง คือ สือลู่ และเจิ้งสื่อ ดังนั้น เราจะมารู้จักกับเอกสารทั้ง 2 ประเภทนี้กัน
สือลู่ (Shi-lu)หรือ "บันทึกเรื่องจริง" มีที่มาที่ไปที่ค่อนข้างเป็นระบบซับซ้อน ผมขอเอายกข้อความในหนังสือของอาจารย์วินัยมาแยกเป็นขั้นๆ คือ 1. ทุกๆ 3 เดือน อาลักษณ์ในราชสำนักในความควบคุมของเสนาบดีผู้ใหญ่จะรวบรวมเอกสารที่เรียกว่า ฉี่จื๊อจู้ (จดหมายเหตุพระราชกิจ) เกี่ยวกับฝ่ายหน้าและฝ่ายในขององค์จักรพรรดิ และเอกสารที่เรียกว่า สื่อเจิ้งจี้ (บันทึกราชการปัจจุบัน) ส่งให้กองงานชำระประวัติศาสตร์ 2. บัณฑิตที่กองงานดังกล่าวจะรวบรวม เรียบเรียงเป็นเอกสารที่เรียกว่า ยื้อลี่ (บันทึกรายวัน) 3. เอาเอกสารราชการอื่นๆที่สำคัญมารวบรวมสาระ (น่าจะหมายถึงเรียบเรียง) กลายเป็น สือลู่ จนได้
เจิ้งสื่อ (น่าจะเป็นตัวภาษาจีน 帧史 zheng shi ซึ่งแปลคร่าวๆได้ว่า ประวัติศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ดีเลิศ)หรือ "ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ ฉบับหอหลวง" ก็มีที่มาจากสือลู่นั่นเอง กล่าวคือ สือลู่ที่สำเร็จแล้วนั้นก็คือข้อมูลที่จะนำมาเขียนเป็นเจิ้งสื่อนั่นเอง แต่จะเขียนเมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์แล้ว ก่อนหน้านี้ สือลู่ จะถูกผนึกลงหีบไว้ และเมื่อนำมาใช้เขียนเจิ้งสื่อเสร็จแล้วก็จะถูกทำลายไป (เพื่อป้องกันการแก้ประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ)
หลักฐานที่มีคุณค่ากว่าในทางประวัติศาสตร์ คือ สือลู่ เพราะเขียนขึ้นร่วมสมัย แต่เนื่องจากถูกทำลายไปมาก จึงเหลืออยู่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น ก็ต้องใช้ เจิ้งสื่อ ที่เรียบเรียงจากสือลู่อีกทีมาใช้ประกอบด้วย ปัจจุบัน เอกสารที่ได้รับการแปล และใช้กันมาก คือ หมิงสือลู่ (ก็คือสือลู่ที่เขียนในสมัยราชวงศ์หมิง) ที่ยังเหลืออยู่มากพอสมควร รวมทั้งหยวนสื่อ (เจิ้งสื่อของราชวงศ์หยวนที่เขียนเขียนขึ้นโดยราชวงศ์หมิงที่เข้ามาแทนที่)ด้วย
หลักฐานที่ว่าไปทั้ง เจิ้งสื่อ และ สือลู่ นั้นต่างเป็นเอกสารของทางราชการ แต่ยังมีเอกสารจีนอื่นๆอีกมาก โดยอาจารย์ต้วน ลี เซิง กล่าวว่ามีเอกสาร 3 ประเภท คือ เอกสารราชการอย่างที่กล่าวไปแล้วเป็นอันหนึ่ง ต่อมา คือ เอกสารและบันทึกจากคนหรือกลุ่มคนต่างๆที่ได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั้งทูต พ่อค้านักเดินเรือ ฯลฯ และสุดท้าย คือ เอกสารและจดหมายเหตุซึ่งเป็นพวกต้นฉบับเอกสารต่างๆ เช่น เอกสารเจริญสัมพันธไมตรี เอกสารที่ส่งมาจากหัวเมืองต่างๆ เอกสารพระบรมราชโองการ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว เอกสารจีนนั้นมีประโยชน์แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่ผู้ศึกษาปรวัติศาสตร์ไทยจะเลือกใช้ หรือเปิดใจต่อข้อมูลใหม่ๆเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด หากหน้าประวัติศาสตร์มีความเปลี่ยนแปลงไปจะเลือกคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ชาติที่ล้าหลัง-คลั่งชาติ (คำพูดคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ) แบบเดิม หรือยอมให้ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งได้ท้าทาย และเกิดการพิสูจน์และชำระกันต่อไป ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบว่าจะเลือกให้หน้าประวัติศาสตร์ของเราเป็นอย่างไรต่อไป ...
เอกสารประกอบการเขียน
ต้วน ลี เซิง. ประวัติศาสตร์ไทยในสายตาชาวจีน. กรุงเทพฯ : พิราบ, 2537.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. [บรรณาธิการ]. ปาไป่สีฟู่-ปาไป่ต้าเตี้ยน : เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2539.
เมื่อพูดถึงสุโขทัยว่าเหตุใดจึงเป็นจุดเริ่มของประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักนั้น ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะหลักฐานการบันทึกที่เก่าที่สุดนั้นเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย และแน่นอนว่าผู้ที่พบบันทึก อันได้แก่ จารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) นั้น ก็คือพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งจักรีวงศ์ อันทำให้สุโขทัยเข้าสู่ความรับรู้ของคนไทยจำนวนมากได้ดีกว่าประวัติศาสตร์ของล้านนาประเทศหรืออาณาจักรอย่างนครศรีธรรมราชในภาคใต้ที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในวงแคบๆ ทั้งที่สุโขทัยเองนั้นน่าจะมีความใกล้ชิดกับล้านนามากกว่าอยุธยาที่ถูกวางเป็นอาณาจักรภาคต่อของสุโขทัยในสายธารประวัติศาสตร์กระแสหลักด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นเช่นนี้ อาณาจักรรอบข้างที่เกิดขึ้นในสมัยเดียวกับสุโขทัย (ประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 13/พุทธศตวรรษที่ 18) หรือสมัยก่อนหน้านั้นที่ปัจจุบันน่าจะอยู่ในดินแดนรัฐไทยจึงหายไปจากความรับรู้ของคนไทย หรือกันไปอยู่เป็นชายขอบของประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก
ในยุคปัจจุบันที่เกิด ประวัติศาสตร์แนว alternative ได้แทรกตัวขึ้นมาได้สำเร็จ โดยเฉพาะภายใต้บริบทของแนวคิด Post-Modernism ที่ข้อโต้แย้งทางวิชาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาณาจักรเหล่านั้นจึงเริ่มปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง แต่ในทางประวัติศาสตร์นั้น หลักฐานถือเป็นสิ่งสำคัญ
ในภาวะที่อาณาจักรโบราณเหล่านั้นขาดแคลนหลักฐานที่เป็นบันทึกเพื่อยืนยันความมีอยู่ของตนเอง นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว การได้รู้จักกับเอกสารจีนถือเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง เพราะบันทึกของราชสำนักจีนนั้นมีระบบ มีความน่าเชื่อถือสูงอยู่แล้ว และนอกจากนั้น ราชสำนักจีนยังได้เริ่มตั้งกองงานชำระประวัติศาสตร์และจดบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7) จึงย่อมให้ภาพในช่วงเวลาก่อนสุโขทัยได้อย่างดี เช่น เอกสารจีนพาเรากลับไปรู้จักชื่ออย่าง พัน-พัน (เมืองใดเมืองหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู) ตางมาลิง (เมืองนครโบราณ) ปาไป่สีฟู่ (ล้านนา) เจอทู่ (เมืองแถบสงขลาหรือปัตตานี) ฯลฯ แม้แต่ภาพในประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักเองก็ต้องถูกกระทบ และเกิดข้อโต้แย้งจากหลักฐานที่น่าเชื่อถืออย่างเอกสารจีน แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้ภาพต่างๆที่มาช่วยเติมเต็มสิ่งที่เอกสารไทยขาดตกไปเช่นกัน
ดังนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับเอกสารจีนเหล่านั้นว่ามีที่มาอย่างไรกันบ้าง เรื่องนี้อาจารย์วินัย พงศ์ศรีเพียรได้เขียนไว้ใน เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ บอกไว้ว่าเอกสารจีนนั้นมีถึง 15 ประเภท แต่ไม่ได้ระบุว่ามีชนิดใดบ้าง แต่กล่าวถึงไว้ว่ามี 2 ประเภทที่สำคัญและมีความน่าเชื่อถือสูง คือ สือลู่ และเจิ้งสื่อ ดังนั้น เราจะมารู้จักกับเอกสารทั้ง 2 ประเภทนี้กัน
สือลู่ (Shi-lu)หรือ "บันทึกเรื่องจริง" มีที่มาที่ไปที่ค่อนข้างเป็นระบบซับซ้อน ผมขอเอายกข้อความในหนังสือของอาจารย์วินัยมาแยกเป็นขั้นๆ คือ 1. ทุกๆ 3 เดือน อาลักษณ์ในราชสำนักในความควบคุมของเสนาบดีผู้ใหญ่จะรวบรวมเอกสารที่เรียกว่า ฉี่จื๊อจู้ (จดหมายเหตุพระราชกิจ) เกี่ยวกับฝ่ายหน้าและฝ่ายในขององค์จักรพรรดิ และเอกสารที่เรียกว่า สื่อเจิ้งจี้ (บันทึกราชการปัจจุบัน) ส่งให้กองงานชำระประวัติศาสตร์ 2. บัณฑิตที่กองงานดังกล่าวจะรวบรวม เรียบเรียงเป็นเอกสารที่เรียกว่า ยื้อลี่ (บันทึกรายวัน) 3. เอาเอกสารราชการอื่นๆที่สำคัญมารวบรวมสาระ (น่าจะหมายถึงเรียบเรียง) กลายเป็น สือลู่ จนได้
เจิ้งสื่อ (น่าจะเป็นตัวภาษาจีน 帧史 zheng shi ซึ่งแปลคร่าวๆได้ว่า ประวัติศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ดีเลิศ)หรือ "ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ ฉบับหอหลวง" ก็มีที่มาจากสือลู่นั่นเอง กล่าวคือ สือลู่ที่สำเร็จแล้วนั้นก็คือข้อมูลที่จะนำมาเขียนเป็นเจิ้งสื่อนั่นเอง แต่จะเขียนเมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์แล้ว ก่อนหน้านี้ สือลู่ จะถูกผนึกลงหีบไว้ และเมื่อนำมาใช้เขียนเจิ้งสื่อเสร็จแล้วก็จะถูกทำลายไป (เพื่อป้องกันการแก้ประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ)
หลักฐานที่มีคุณค่ากว่าในทางประวัติศาสตร์ คือ สือลู่ เพราะเขียนขึ้นร่วมสมัย แต่เนื่องจากถูกทำลายไปมาก จึงเหลืออยู่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น ก็ต้องใช้ เจิ้งสื่อ ที่เรียบเรียงจากสือลู่อีกทีมาใช้ประกอบด้วย ปัจจุบัน เอกสารที่ได้รับการแปล และใช้กันมาก คือ หมิงสือลู่ (ก็คือสือลู่ที่เขียนในสมัยราชวงศ์หมิง) ที่ยังเหลืออยู่มากพอสมควร รวมทั้งหยวนสื่อ (เจิ้งสื่อของราชวงศ์หยวนที่เขียนเขียนขึ้นโดยราชวงศ์หมิงที่เข้ามาแทนที่)ด้วย
หลักฐานที่ว่าไปทั้ง เจิ้งสื่อ และ สือลู่ นั้นต่างเป็นเอกสารของทางราชการ แต่ยังมีเอกสารจีนอื่นๆอีกมาก โดยอาจารย์ต้วน ลี เซิง กล่าวว่ามีเอกสาร 3 ประเภท คือ เอกสารราชการอย่างที่กล่าวไปแล้วเป็นอันหนึ่ง ต่อมา คือ เอกสารและบันทึกจากคนหรือกลุ่มคนต่างๆที่ได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั้งทูต พ่อค้านักเดินเรือ ฯลฯ และสุดท้าย คือ เอกสารและจดหมายเหตุซึ่งเป็นพวกต้นฉบับเอกสารต่างๆ เช่น เอกสารเจริญสัมพันธไมตรี เอกสารที่ส่งมาจากหัวเมืองต่างๆ เอกสารพระบรมราชโองการ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว เอกสารจีนนั้นมีประโยชน์แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่ผู้ศึกษาปรวัติศาสตร์ไทยจะเลือกใช้ หรือเปิดใจต่อข้อมูลใหม่ๆเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด หากหน้าประวัติศาสตร์มีความเปลี่ยนแปลงไปจะเลือกคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ชาติที่ล้าหลัง-คลั่งชาติ (คำพูดคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ) แบบเดิม หรือยอมให้ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งได้ท้าทาย และเกิดการพิสูจน์และชำระกันต่อไป ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบว่าจะเลือกให้หน้าประวัติศาสตร์ของเราเป็นอย่างไรต่อไป ...
เอกสารประกอบการเขียน
ต้วน ลี เซิง. ประวัติศาสตร์ไทยในสายตาชาวจีน. กรุงเทพฯ : พิราบ, 2537.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. [บรรณาธิการ]. ปาไป่สีฟู่-ปาไป่ต้าเตี้ยน : เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2539.
วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การเขียนบรรณานุกรม (ฉบับปลาเน่าเน่า+)
บรรณานุกรม (Bibliography) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานเขียนเช่นกัน และสำคัญไม่แพ้ตัวเนื้อหาเลยก็ว่าได้ เพราะตัวรายชื่อหนังสือ ผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ที่ปรากฏในบรรณานุกรมนั่นเองที่จะเป็นตัวสร้างความน่าเชื่อถือให้กับงานวิชาการหรืองานเขียนอะไรก็แล้วแต่ของคุณ
แม้ว่าการเขียนบรรณานุกรมจะมีหลากหลายแบบตามเอกสารที่เรานำมาประกอบการเขียน แต่โดยหลักๆแล้ว สิ่งที่ต้องระบุลงไปก็หนีไม่พ้น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ แล้วก็ปีที่พิมพ์ ส่วนรายละเอียดอื่นๆก็ค่อยๆว่ากันไป
จริงๆ ที่เขียนขึ้นมานี่ก็เพื่อกันลืมเองด้วย 555+ ก็พยายามรวบรวม มาจากหลายๆเว็บไซท์ แล้วก็ดูแบบจากหนังสือบางเล่ม ก็ลองศึกษาดูแล้วกันครับ ถ้ามีเวลาก็อาจทำการอ้างอิงซึ่งก็สำคัญเช่นกันอีกอันครับ
หลักการเขียนบรรณานุกรม (คร่าวๆ)
1. คำว่า บรรณานุกรม พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ (คงรู้กันแล้ว แต่บางทีก็เห็นชิดซ้ายบ้าง ก็ว่ากันไป)
2. เรียงเอกสารจากภาษาไทยก่อน ตามด้วยภาษาอังกฤษ แล้วก็อินเตอร์เน็ท (บางทีก็แยกเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แล้วก็อินเตอร์เน็ทไปเลย หรือบางทีก็เอาอินเตอร์เน็ทไปรวมไว้ในภาษาไทยหรืออังกฤษเลย) แล้วแต่ละภาษาก็เรียงตามตัวอักษร (ถ้าไม่แม่นลองเปิดพจนานุกรมดู มันจะมีปัญหาตรงเรียงภาษาไทยเนี่ยแหละ)
3. กรณีผู้แต่งหลายคน
- 2 คน ใส่ "และ" คั่น เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทักษิณ ชินวัตร
- 3 คน ใส่ "จุลภาค" คั่นชื่อแรกกับชื่อสอง แล้วใส่ "และ" คั่นชื่อสองกับสาม เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ทักษิณ ชินวัตร และเนวิน ชิดชอบ
- มากกว่า 3 ใส่ชื่อคนแรก แล้วตามด้วย "และคณะ" เช่น สุเทพ เทือกสุบรรณ และคณะ
4. ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง (หรือหาไม่เจอ แม้พลิกซ้าย ขวา หน้า หลังเต็มที่แล้ว) ก็ไม่ต้องใส่ ให้เอาชื่อหนังสือขึ้นก่อนเลย
5. ถ้าเอกสาร 1 ชิ้นใส่ในบรรทัดเดียวไม่พอ บรรทัดต่อไปต้องเริ่มต้นที่ตัวอักษรที่ 9 หรืออีกนัยหนึ่งต้องเคาะ space bar ไป 8 ทีก่อนค่อยเริ่มใหม่
โดยสรุป แนวทางการเขียนก็จะเป็นอย่างนี้
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ (จะทำตัวใหญ่ ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้ก็ตามแต่). พิมพ์ครั้งที่ (ใส่เฉพาะเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์ครั้งแรก คือ 2-infinity). เมือง/จังหวัดที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. (อย่าลืมจุดปิดท้าย)
ตัวอย่าง
สาครคชเขตต์, หลวง. จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2436 ถึง พ.ศ.2447. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2552.
ข้อควรระวังอื่นๆ
1. ชื่อผู้แต่งนั้น มีข้อควรระวัง คือ
- ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่ออันได้แก่ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย (Mr. Mrs. Miss) ...
- เรื่องของยศต่างๆ ถ้าเป็นบรรดาศักดิ์ เช่น หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ กรมพระยา พระยา อะไรแนวๆนี้ ต้องเอายศไปไว้หลังชื่อ โดยใส่จุลภาคคั่น
ตัวอย่าง
คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์
- แต่ถ้าเป็นตำแหน่งทางวิชาการ หรือคำระบุอาชีพไม่ต้องใส่ ไม่ว่าจะเป็น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ (หมอ) เอ๊ะ แต่ทหารไม่แน่ใจ ถ้ารู้จะมาบอก 555+
- ต่อมาก็เรื่องของพระ (สมณศักดิ์) ไม่ต้องไปยุ่งกับเค้า มายังไง ใส่อย่างนั้น เช่น พระพยอมกัลยาโน หรือพระเทพวาที ก็ใส่ตามนี้ ยกเว้น พระที่เป็นเจ้า หรือพระสังฆราช
ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ
- ส่วนฝรั่งให้เอานามสกุลขึ้นก่อน แล้วใส่จุลภาคคั่น ตามด้วยชื่อ
ตัวอย่าง
Jackson, Michael.
- ถ้าเป็นแบบว่ารวมบทความ แล้วมีบรรณาธิการ ก็ใส่ชื่อบรรณาธิการ แล้วใส่ [บรรณาธิการ] ตาม
ตัวอย่าง
เหวง โตจิราการ , บรรณาธิการ.
Beckham, David, ed.
- ส่วนหนังสือแปลจะเป็นอีกรูปแบบนึง ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
2. ส่วนเมืองที่พิมพ์นั้น ถ้าช่วงที่พิมพ์ชื่อไหน ก็ใส่ชื่อนั้น เช่น พระนคร ก็ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ แล้วก็ถ้าไม่มี หรือหาแล้วหาอีกก็ไม่เจอให้ใส่ ม.ป.ท. แทน (น่าจะย่อมาจาก ไม่ปรากฏ[เมือง]ที่พิมพ์)
ตัวอย่าง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง. ม.ป.ท. : มติชน, 2310.
3. เรื่องของสำนักพิมพ์ เวลาใส่ ไม่ต้องใส่คำว่าสำนักพิมพ์ (งงมั้ย?? เช่น ใส่ไปเลยว่า มติชน ศรีปัญญา ฯลฯ) แล้วก็ถ้าเป็นหนังสือใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะระบุชื่อสำนักพิมพ์ชัดเจน แต่ถ้าเป็นหนังสือเก่าๆ บางทีมันไม่มีสำนักพิมพ์ แต่จะมีโรงพิมพ์บอกครับ ก็ใส่โรงพิมพ์แทน แต่คราวนี้ต้องใส่คำว่าโรงพิมพ์ไปด้วย จะได้รู้ว่าเป็นโรงพิมพ์นะ ไม่ใช่สำนักพิมพ์
ตัวอย่าง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพญามังราย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์หลินปิง, 2456.
4. สุดท้ายก็เรื่องของปีที่พิมพ์ ถ้าไม่มี ระบุไม่ได้ ให้ใส่ ม.ป.ป. แทนครับ (น่าจะย่อมาจาก ไม่ปรากฏปี[ที่พิมพ์])
ที่ว่าไปนี่ แค่เรื่องของหนังสือเล่มธรรมดาครับ ก็คงไม่ยากนัก ต่อไปก็จะว่ากันถึงหนังสือรูปแบบต่างๆ อาจไม่ครอบคลุมทั้งหมดทุกชนิดนะครับ ก็ต้องขออภัยด้วย
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือชนิดอื่นๆ
1. ว่ากันที่หนังสือแปลก่อนแล้วกัน สิ่งที่ต้องเพิ่มมาแน่นอนก็คือชื่อคนแปล ดังนั้น หนังสือแปลจึงต้องระบุทั้งคนเขียนในภาษาต้นฉบับ แล้วก็คนที่แปล (อาจจะแปลเป็นไทย หรือแปลจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษอะไรก็ว่าไป)
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง (ต้นฉบับ). ชื่อหนังสือ (ที่แปลแล้ว) แปลจาก (ชื่อหนังสือต้นฉบับ) โดย (คนแปล). เมืองหรือจังหวัดที่พิมพ์ (เล่มที่แปล) : สำนักพิมพ์ (ฉบับที่แปล), ปีที่พิมพ์ (เล่มที่แปล). (อย่าลืมจุด 555+)
ตัวอย่าง
ฮอลล์, ดี อี จี. ประวัติศาสตร์โลก แปลจาก The World History โดย อู๊ด เป็นต่อ. ปัตตานี : หลบระเบิด, 3412.
Yingthai Jaingam. History of Thailand translated by Barack Obama. London : Oxford, 1989. (คือว่าไม่ต้องบอกว่าแปลจากชื่อเรื่องอะไรสำหรับภาษาอังกฤษ)
2. บทความจากวารสาร (journal) สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือสิ่งที่ปรากฏบนหน้าปกนั่นแหละครับ เช่น ปีที่พิมพ์ ฉบับที่ อะไรแนวๆนี้ ลองไปดูกันครับ อาจจะงงนิดๆ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็น่าจะง่ายขึ้น
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง (บทความที่ใช้). "ชื่อบทความ.(เห็นมั้ยว่ามีจุดด้วย!!!)" ชื่อวารสาร ปีที่. (จุด) ฉบับที่ (เดือน ปี): หน้า.
ตัวอย่าง
จตุพร พรหมพันธุ์. "แดงนรก หมวยยกล้อ" แดงซะ 5. 1 (มกราคม-มีนาคม 2553): 45-46.
3. จากอินเตอร์เน็ท แน่นอนว่าต้องมีชื่อเว็บไซท์ แล้วก็ชื่อเรื่อง ผู้แต่งอาจจะหาไม่เจอก็เอาชื่อเรื่องขึ้นก่อนครับ
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. [ออนไลน์] (ถ้าภาษาอังกฤษก็ใช้ Online). ชื่อเรื่อง. เข้าใช้เมื่อ (วันที่ เดือน ปี), จาก (url ของเว็บไซท์).
ตัวอย่าง
แช่ม แช่มรัมย์. [ออนไลน์]. เมายันสว่าง. เข้าใช้เมื่อ 1 มกราคม 2554, จาก http://www.maoyunchao.com/. --> อันนี้แบบมีคนแต่ง
แดงแล้วไง. [ออนไลน์]. เข้าใช่เมื่อ 3 สิงหาคม 2445, จาก http://www.dangdang.co.th/. --> อันนี้ไม่มีคนแต่ง
ปล. เวลาทำจริงใน Word ก็คลิกขวา เอาการเชื่อมโยงออกด้วยครับ url เว็บจะได้ไม่เป็นสีฟ้า แล้วก็เปลี่ยนฟ้อนต์ให้มันเหมือนๆกันด้วยล่ะ 55+
4. จากวิทยานิพนธ์ (thesis) แน่นอนต้องมีสถาบัน ชื่อปริญญาอะไรพวกนี้เข้ามาเพิ่มเติม ไปดูกันเลยดีกว่า
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา (ชื่อปริญญา) ภาควิชา (ถ้ามี) คณะ มหาวิทยาลัย, ปี.
ตัวอย่าง
กา บิน. ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นระหว่างปี 2456-2458. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
ก็คงจะมีเท่านี้ครับ คิดว่าที่เอามาแต่ละอันน่าจะเป็นอันที่ใช้บ่อยๆ (สังเกตจากตัวเอง) ก็หวังว่าผู้ที่เข้ามาใช้คงจะได้ประโยชน์ไปบ้างแหละ ไม่ใช่แต่คนที่จะทำงานเท่านั้น แต่ผู้อ่านทั้งหลายก็ควรจะรู้เช่นกัน เพื่อที่จะได้ทราบถึงข้อมูลที่คนเขียนหนังสือเขาเอามาใช้เขียน ซึ่งเราอาจจะอยากรู้อยากเห็นเพิ่มเติมแล้วก็ไปหาข้อมูลเหล่านั้นมาอ่านเพิ่ม ซึ่งถ้าอ่านบรรณานุกรมไม่ออกก็คงทำได้ยากนิดหน่อย (แต่ก็ไม่ยากมาก เพราะมันก็ค่อนข้างตรงตัว) แต่ประโยชน์ที่มากที่สุดก็คงไม่พ้นตัวเอง 555+ เพราะทำไว้กันลืม พอจะทำรายงานก็คงต้องมาหาในบล็อกตัวเองเนี่ยแหละ คงไม่มีคนอื่นเข้ามาใช้สักเท่าไรหรอก ลาละ หิววๆๆๆๆ
แม้ว่าการเขียนบรรณานุกรมจะมีหลากหลายแบบตามเอกสารที่เรานำมาประกอบการเขียน แต่โดยหลักๆแล้ว สิ่งที่ต้องระบุลงไปก็หนีไม่พ้น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ แล้วก็ปีที่พิมพ์ ส่วนรายละเอียดอื่นๆก็ค่อยๆว่ากันไป
จริงๆ ที่เขียนขึ้นมานี่ก็เพื่อกันลืมเองด้วย 555+ ก็พยายามรวบรวม มาจากหลายๆเว็บไซท์ แล้วก็ดูแบบจากหนังสือบางเล่ม ก็ลองศึกษาดูแล้วกันครับ ถ้ามีเวลาก็อาจทำการอ้างอิงซึ่งก็สำคัญเช่นกันอีกอันครับ
หลักการเขียนบรรณานุกรม (คร่าวๆ)
1. คำว่า บรรณานุกรม พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ (คงรู้กันแล้ว แต่บางทีก็เห็นชิดซ้ายบ้าง ก็ว่ากันไป)
2. เรียงเอกสารจากภาษาไทยก่อน ตามด้วยภาษาอังกฤษ แล้วก็อินเตอร์เน็ท (บางทีก็แยกเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แล้วก็อินเตอร์เน็ทไปเลย หรือบางทีก็เอาอินเตอร์เน็ทไปรวมไว้ในภาษาไทยหรืออังกฤษเลย) แล้วแต่ละภาษาก็เรียงตามตัวอักษร (ถ้าไม่แม่นลองเปิดพจนานุกรมดู มันจะมีปัญหาตรงเรียงภาษาไทยเนี่ยแหละ)
3. กรณีผู้แต่งหลายคน
- 2 คน ใส่ "และ" คั่น เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทักษิณ ชินวัตร
- 3 คน ใส่ "จุลภาค" คั่นชื่อแรกกับชื่อสอง แล้วใส่ "และ" คั่นชื่อสองกับสาม เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ทักษิณ ชินวัตร และเนวิน ชิดชอบ
- มากกว่า 3 ใส่ชื่อคนแรก แล้วตามด้วย "และคณะ" เช่น สุเทพ เทือกสุบรรณ และคณะ
4. ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง (หรือหาไม่เจอ แม้พลิกซ้าย ขวา หน้า หลังเต็มที่แล้ว) ก็ไม่ต้องใส่ ให้เอาชื่อหนังสือขึ้นก่อนเลย
5. ถ้าเอกสาร 1 ชิ้นใส่ในบรรทัดเดียวไม่พอ บรรทัดต่อไปต้องเริ่มต้นที่ตัวอักษรที่ 9 หรืออีกนัยหนึ่งต้องเคาะ space bar ไป 8 ทีก่อนค่อยเริ่มใหม่
โดยสรุป แนวทางการเขียนก็จะเป็นอย่างนี้
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ (จะทำตัวใหญ่ ตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้ก็ตามแต่). พิมพ์ครั้งที่ (ใส่เฉพาะเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์ครั้งแรก คือ 2-infinity). เมือง/จังหวัดที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. (อย่าลืมจุดปิดท้าย)
ตัวอย่าง
สาครคชเขตต์, หลวง. จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2436 ถึง พ.ศ.2447. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2552.
ข้อควรระวังอื่นๆ
1. ชื่อผู้แต่งนั้น มีข้อควรระวัง คือ
- ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่ออันได้แก่ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย (Mr. Mrs. Miss) ...
- เรื่องของยศต่างๆ ถ้าเป็นบรรดาศักดิ์ เช่น หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ กรมพระยา พระยา อะไรแนวๆนี้ ต้องเอายศไปไว้หลังชื่อ โดยใส่จุลภาคคั่น
ตัวอย่าง
คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์
- แต่ถ้าเป็นตำแหน่งทางวิชาการ หรือคำระบุอาชีพไม่ต้องใส่ ไม่ว่าจะเป็น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ (หมอ) เอ๊ะ แต่ทหารไม่แน่ใจ ถ้ารู้จะมาบอก 555+
- ต่อมาก็เรื่องของพระ (สมณศักดิ์) ไม่ต้องไปยุ่งกับเค้า มายังไง ใส่อย่างนั้น เช่น พระพยอมกัลยาโน หรือพระเทพวาที ก็ใส่ตามนี้ ยกเว้น พระที่เป็นเจ้า หรือพระสังฆราช
ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ
- ส่วนฝรั่งให้เอานามสกุลขึ้นก่อน แล้วใส่จุลภาคคั่น ตามด้วยชื่อ
ตัวอย่าง
Jackson, Michael.
- ถ้าเป็นแบบว่ารวมบทความ แล้วมีบรรณาธิการ ก็ใส่ชื่อบรรณาธิการ แล้วใส่ [บรรณาธิการ] ตาม
ตัวอย่าง
เหวง โตจิราการ , บรรณาธิการ.
Beckham, David, ed.
- ส่วนหนังสือแปลจะเป็นอีกรูปแบบนึง ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
2. ส่วนเมืองที่พิมพ์นั้น ถ้าช่วงที่พิมพ์ชื่อไหน ก็ใส่ชื่อนั้น เช่น พระนคร ก็ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ แล้วก็ถ้าไม่มี หรือหาแล้วหาอีกก็ไม่เจอให้ใส่ ม.ป.ท. แทน (น่าจะย่อมาจาก ไม่ปรากฏ[เมือง]ที่พิมพ์)
ตัวอย่าง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง. ม.ป.ท. : มติชน, 2310.
3. เรื่องของสำนักพิมพ์ เวลาใส่ ไม่ต้องใส่คำว่าสำนักพิมพ์ (งงมั้ย?? เช่น ใส่ไปเลยว่า มติชน ศรีปัญญา ฯลฯ) แล้วก็ถ้าเป็นหนังสือใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะระบุชื่อสำนักพิมพ์ชัดเจน แต่ถ้าเป็นหนังสือเก่าๆ บางทีมันไม่มีสำนักพิมพ์ แต่จะมีโรงพิมพ์บอกครับ ก็ใส่โรงพิมพ์แทน แต่คราวนี้ต้องใส่คำว่าโรงพิมพ์ไปด้วย จะได้รู้ว่าเป็นโรงพิมพ์นะ ไม่ใช่สำนักพิมพ์
ตัวอย่าง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพญามังราย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์หลินปิง, 2456.
4. สุดท้ายก็เรื่องของปีที่พิมพ์ ถ้าไม่มี ระบุไม่ได้ ให้ใส่ ม.ป.ป. แทนครับ (น่าจะย่อมาจาก ไม่ปรากฏปี[ที่พิมพ์])
ที่ว่าไปนี่ แค่เรื่องของหนังสือเล่มธรรมดาครับ ก็คงไม่ยากนัก ต่อไปก็จะว่ากันถึงหนังสือรูปแบบต่างๆ อาจไม่ครอบคลุมทั้งหมดทุกชนิดนะครับ ก็ต้องขออภัยด้วย
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือชนิดอื่นๆ
1. ว่ากันที่หนังสือแปลก่อนแล้วกัน สิ่งที่ต้องเพิ่มมาแน่นอนก็คือชื่อคนแปล ดังนั้น หนังสือแปลจึงต้องระบุทั้งคนเขียนในภาษาต้นฉบับ แล้วก็คนที่แปล (อาจจะแปลเป็นไทย หรือแปลจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษอะไรก็ว่าไป)
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง (ต้นฉบับ). ชื่อหนังสือ (ที่แปลแล้ว) แปลจาก (ชื่อหนังสือต้นฉบับ) โดย (คนแปล). เมืองหรือจังหวัดที่พิมพ์ (เล่มที่แปล) : สำนักพิมพ์ (ฉบับที่แปล), ปีที่พิมพ์ (เล่มที่แปล). (อย่าลืมจุด 555+)
ตัวอย่าง
ฮอลล์, ดี อี จี. ประวัติศาสตร์โลก แปลจาก The World History โดย อู๊ด เป็นต่อ. ปัตตานี : หลบระเบิด, 3412.
Yingthai Jaingam. History of Thailand translated by Barack Obama. London : Oxford, 1989. (คือว่าไม่ต้องบอกว่าแปลจากชื่อเรื่องอะไรสำหรับภาษาอังกฤษ)
2. บทความจากวารสาร (journal) สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือสิ่งที่ปรากฏบนหน้าปกนั่นแหละครับ เช่น ปีที่พิมพ์ ฉบับที่ อะไรแนวๆนี้ ลองไปดูกันครับ อาจจะงงนิดๆ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็น่าจะง่ายขึ้น
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง (บทความที่ใช้). "ชื่อบทความ.(เห็นมั้ยว่ามีจุดด้วย!!!)" ชื่อวารสาร ปีที่. (จุด) ฉบับที่ (เดือน ปี): หน้า.
ตัวอย่าง
จตุพร พรหมพันธุ์. "แดงนรก หมวยยกล้อ" แดงซะ 5. 1 (มกราคม-มีนาคม 2553): 45-46.
3. จากอินเตอร์เน็ท แน่นอนว่าต้องมีชื่อเว็บไซท์ แล้วก็ชื่อเรื่อง ผู้แต่งอาจจะหาไม่เจอก็เอาชื่อเรื่องขึ้นก่อนครับ
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. [ออนไลน์] (ถ้าภาษาอังกฤษก็ใช้ Online). ชื่อเรื่อง. เข้าใช้เมื่อ (วันที่ เดือน ปี), จาก (url ของเว็บไซท์).
ตัวอย่าง
แช่ม แช่มรัมย์. [ออนไลน์]. เมายันสว่าง. เข้าใช้เมื่อ 1 มกราคม 2554, จาก http://www.maoyunchao.com/. --> อันนี้แบบมีคนแต่ง
แดงแล้วไง. [ออนไลน์]. เข้าใช่เมื่อ 3 สิงหาคม 2445, จาก http://www.dangdang.co.th/. --> อันนี้ไม่มีคนแต่ง
ปล. เวลาทำจริงใน Word ก็คลิกขวา เอาการเชื่อมโยงออกด้วยครับ url เว็บจะได้ไม่เป็นสีฟ้า แล้วก็เปลี่ยนฟ้อนต์ให้มันเหมือนๆกันด้วยล่ะ 55+
4. จากวิทยานิพนธ์ (thesis) แน่นอนต้องมีสถาบัน ชื่อปริญญาอะไรพวกนี้เข้ามาเพิ่มเติม ไปดูกันเลยดีกว่า
รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา (ชื่อปริญญา) ภาควิชา (ถ้ามี) คณะ มหาวิทยาลัย, ปี.
ตัวอย่าง
กา บิน. ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นระหว่างปี 2456-2458. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
ก็คงจะมีเท่านี้ครับ คิดว่าที่เอามาแต่ละอันน่าจะเป็นอันที่ใช้บ่อยๆ (สังเกตจากตัวเอง) ก็หวังว่าผู้ที่เข้ามาใช้คงจะได้ประโยชน์ไปบ้างแหละ ไม่ใช่แต่คนที่จะทำงานเท่านั้น แต่ผู้อ่านทั้งหลายก็ควรจะรู้เช่นกัน เพื่อที่จะได้ทราบถึงข้อมูลที่คนเขียนหนังสือเขาเอามาใช้เขียน ซึ่งเราอาจจะอยากรู้อยากเห็นเพิ่มเติมแล้วก็ไปหาข้อมูลเหล่านั้นมาอ่านเพิ่ม ซึ่งถ้าอ่านบรรณานุกรมไม่ออกก็คงทำได้ยากนิดหน่อย (แต่ก็ไม่ยากมาก เพราะมันก็ค่อนข้างตรงตัว) แต่ประโยชน์ที่มากที่สุดก็คงไม่พ้นตัวเอง 555+ เพราะทำไว้กันลืม พอจะทำรายงานก็คงต้องมาหาในบล็อกตัวเองเนี่ยแหละ คงไม่มีคนอื่นเข้ามาใช้สักเท่าไรหรอก ลาละ หิววๆๆๆๆ
วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Music) ของไทย
การจะเขียนเรื่องนี้ สิ่งที่ยากที่สุดคงอยู่ที่การจะ define หรือนิยามคำว่าแนวเพลง Alternative การตีกรอบแนวเพลงนี้ต้องการสร้างเพียงกรอบกว้างๆ เนื่องจากจุดประสงค์ของบทความนี้ คือ การแสดงให้เห็นความหลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงไปของแนวเพลงนี้
ก่อนอื่น หากเรารู้ความหมายของคำ Alternative ย่อมจะช่วยให้เราเข้าใจบทความนี้ได้มากขึ้น Alternative ก็คือ ทางเลือก ซึ่งแปลตรงๆตัว แนวเพลงนี้ก็คือแนวเพลงทางเลือก ดังนั้น การจะ define แนวเพลงนี้จึงขอระบุไว้ว่า
แนวที่ไม่ได้มาจากค่ายใหญ่ที่เน้น Pop, Rock อกหัก หรือ Pop Rock, Pop Dance, R&B แม้แต่ลูกทุ่ง หรือสรุปง่ายๆ คือ เพลงที่ไม่ได้เป็นกระแสหลัก (Main Stream) ของสังคมนั่นเอง อย่างเช่น บี้ เดอะ สตาร์ เบิร์ด ธงไชย บอดี้สแลม โปเตโต้ อัสนี วสันต์ ฯลฯ แต่บางครั้ง เจ้าแนวกระแสหลักพวกนี้ก็มาจากแนวทางเลือกได้เหมือนกัน อย่างเช่น Hip Hop ที่ครั้งหนึ่งเคยมีคนฟังเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป แนวเพลง Hip Hop ถือว่าเข้ามาอยู่ในกระแสหลักได้ตามวงการเพลงในสหรัฐฯ แต่ในไทยนั้น ความนิยมก็ต้องถือว่ายังห่างไกลกับเพลง Rock และ Pop ซึ่งครองตลาดเรื่อยมา และขณะเดียวกัน เพลง Main Stream ก็อาจเป็นแนว Alternative ได้ ถ้าหากเป็นการสร้างสรรค์ให้แตกต่างไป ซึ่งอาจเป็นคำร้อง ทำนอง วิธีคิด วิธีเล่น
เอาล่ะ แล้วเพลงอัลเทอร์เนทีฟของเรานั้นเป็นแนวอะไรกันบ้าง กูรูหลายสำนักจิ้มไปที่ วง Modern Dog แต่ทำไมเพลง Rock 3-4 ชิ้นถึงเข้ากลุ่มได้ จากการวิเคราะห์แล้ว ก็อาจพอสรุปได้ว่า คำร้อง ทำนอง รวมถึงวิธีการร้องที่ต่างไป แต่ก่อนเพลงร็อคอาจจะร้องให้เพราะ ให้กินใจ ให้โยกตามอย่างเช่น ไมโคร อัสนี วสันต์ โลโซ แต่สำหรับวงหมาทันสมัยนั้น เนื้อร้อง ทำนอง ต่างออกไป นึกถึงกฎเกณฑ์น้อยลง ขณะที่ป๊อดนักร้องนำนั้น ก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ มีวิธีการร้องที่ต่างไปอย่างชัดเจน
แต่จริงๆแล้ว ผมคิดว่า Modern Dog นั้นอาจเป็นเำพียงวง Alternative ที่ติดตลาดวงแรก เพราะเพลง Alternative นั้น ย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่จะถูกถ่ายทอดออกมาหรือไม่ และเป็นที่รู้จักหรือไม่ อย่าง Modern Dog ตอนนี้ ผมก็คิดว่าพวกเขาเป็น Main Stream แล้วล่ะ เพราะคนทั่วประเทศรู้จัก แนวเพลงนี้จึงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นหนึ่งในกระแสหลัก
ยุคต่อๆมา ค่าย Bekery ก็กลายเป็นเพลงทางเลือกที่ได้รับความนิยม หรือเป็นที่รู้จักมากที่สุด แนวเพลงที่หลากหลาย ทั้ง Dance ที่ต่างไป โดยกลายเป็นเด็กสาวที่ร้องแบบเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเหล่า Dojocity ทั้งหลาย ทั้ง H, Trium Kingdom, Niece และวงสุดท้ายที่ผมรู้จัก คือ Mister Sister ที่ร้องเพลง อาม่าดุ หรือจะเป็น Rap อย่าง Joey Boy ที่ค่อยๆแจ้งเกิดขึ้นมา รวมถึง Silly Fools ที่มีต้นกำเนิดมาจาก Bekery เช่นกัน ซึ่งก็ถือว่าเ้ป็นวงร็อคที่แตกต่าง โดยเฉพาะดนตรีที่แน่น ไม่ใช่ Pop Rock แบบทั่วๆไป และเสียงร้องที่ไม่เหมือนใครของโต ซึ่งแม้ทุกวันนี้นักร้องจะเป็นเบนแล้ว แต่วงนี้คุณภาพไม่เคยตกจริงๆ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเพราะๆ ซึ้งๆ แนวบอยด์ โกสิยพงษ์ ซึ่งก็กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นหลัง และัสร้างยี่ห้อบอยด์ โกสิฯ ขึ้นมาได้
หลังจากนั้น แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟก็ผ่านมาอีกหลายแนวทั้ง Hip Hop, Metal ซึ่งก็ยังคงอยู่บ้าง หายไปบ้าง อย่าง Metal หรือ Hardcore ที่พาตัวเองจากอัลเทอร์เนทีฟมาสู่กระแสหลักได้ โดยการนำของน้าแมว จีระศักดิ์ แต่เพลงแนวนี้ก็กลับไปเป็นอัลเทอร์เนทีฟอีกครั้ง เนื่องจากความนิยมตกลงไปมาก ส่วน Hip Hop นั้น ผมคิดว่ายังคงขยายตัวไปเรื่อยๆ เราเห็นคนแต่งตัวเป็น B Boy B Girl เพิ่มขึ้น เราไปที่ไหนก็เห็นกำแพงถูกพ่น (แบบสวยงาม สร้างสรรค์) หรือการรวมกลุ่มของวัยรุ่นก็มีที่ซ้อมเต้นแนว Hip Hop กัน ส่วนทำไมแนวนี้หาย แนวนี้เพิ่มก็มีปัจจัยอันหลากหลายเช่นกัน ทั้งกิจกรรมที่มากับแนวเพลงที่ช่วยยึดกลุ่มผู้นิยมแนวเพลงนั้น หรือการแต่งกาย การยอมรับของสังคม มีส่วนหมดครับ
ดนตรีไทยก็เคยสอดแทรกขึ้นมาเป็น Alternative เช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากภาพยนตร์ โหมโรง ซึ่งผมจำได้ว่ายังซื้อซีดี ของอาจารย์ที่เล่นเป็นขุนอินเลย ขณะที่คนไทยก็แห่กันไปเรียนระนาดเป็นการใหญ่ แต่กระแสก็ดร็อปไปตามการเวลา แต่ทุกวันนี้ก็ยังพบเห็นคนชอบดนตรีไทยเยอะพอควรครับ
แล้วปัจจุบันล่ะ แนวเพลงไหนกันที่เป็น Alternative ก็ Reggae Ska ไง รวมไปถึง Jazz ซึ่งมาแรงจริงๆ ไอ้เจ้าเร็กเก้นี่ถือว่ากระแสมาตั้งแต่เมื่อปี 2 ปีก่อนที่เพลงดูเธอทำติดตลาด คิดลมบน ลอยสูงหลายเดือน จนโฆษณาซุปไก่ หรือรังนกอะไรสักอย่างยังต้องเอาไปเป็นเพลงประกอบ น้าจ๊อบ บรรจบแกเด็ดจริงๆ สำหรับเพลงนี้ ต่อแต่นั้น เพลงแนวนี้ก็มาเรื่อยๆของมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะแนวนี้เข้ากับคนไทยที่สนุกสนาน เฮฮา และแล้ว Bob Marley ที่อยู่เฉยๆของแกก็กลายเป็น Hero ของคนจำนวนไม่น้อย หลายคนถักผมเดดร็อค หลายคนใส่เสื้อแดง เขียว เหลือง หรือหาอะไรก็ได้ที่มี 3 สีเนี่ยมาใส่ เป็นอันรู้กันว่าเรา เรกเก้ นะ 55+
จนกระทั่งไม่นานมานี้ สักปีนึงได้ที่วงเรกเก้ (หรือว่าสก๊าาาาา !!) ก็ผุดมาเยอะแยะไปหมด อาจรวมไปถึงแนวเพลงใกล้เคียงอย่าง Bossanova ที่ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน รวมถึง Jazz ที่คนสนใจเยอะขึ้นเรื่อยๆ คณะดุริยางค์ที่ต่างๆ ก็เปิดสอนสาขานี้โดยเฉพาะ ผลงาน Jazz ก็มีเรื่อยๆ รายการ 108 ดนตรีก็เพิ่งเปิด project ใหม่ คือ Jazz Dream Team เพิ่อหายอดฝีมือของแต่ละชิ้นเครื่องมือในวงแจ๊สมารวมกัน รออีกไม่นาน ผมว่า Jazz ก็จะเป็นที่นิยมเช่นกัน แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ฟังยากอยู่บ้าง ก็อยู่ที่ว่าจะสามารถ adapt ให้คนฟังฟังง่ายขึ้นได้หรือไม่ อาจออกมาในรูปของ Pop Jazz 55+ ซึ่งตัวอย่างก็มี อย่างคุณโก้ Sax Man
เอาล่ะ นี่ก็คือภาพรวมๆ ที่อาจจะพอมองเห็นได้ในภาพรวม มีอีกหลายอย่างที่ขาดตกไป เพราะเรื่องนี้เขียนกันเป็นเล่มๆได้เลย ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์ไปบ้าง อย่างน้อยก็ในแง่ที่ดนตรีไม่ได้มีแค่ Pop & Rock ลองฟังเพลงให้หลากหลาย คุณก็อาจจะได้พบโลกใหม่ๆ สีสันใหม่ๆในชีวิตครับ
ก่อนอื่น หากเรารู้ความหมายของคำ Alternative ย่อมจะช่วยให้เราเข้าใจบทความนี้ได้มากขึ้น Alternative ก็คือ ทางเลือก ซึ่งแปลตรงๆตัว แนวเพลงนี้ก็คือแนวเพลงทางเลือก ดังนั้น การจะ define แนวเพลงนี้จึงขอระบุไว้ว่า
แนวที่ไม่ได้มาจากค่ายใหญ่ที่เน้น Pop, Rock อกหัก หรือ Pop Rock, Pop Dance, R&B แม้แต่ลูกทุ่ง หรือสรุปง่ายๆ คือ เพลงที่ไม่ได้เป็นกระแสหลัก (Main Stream) ของสังคมนั่นเอง อย่างเช่น บี้ เดอะ สตาร์ เบิร์ด ธงไชย บอดี้สแลม โปเตโต้ อัสนี วสันต์ ฯลฯ แต่บางครั้ง เจ้าแนวกระแสหลักพวกนี้ก็มาจากแนวทางเลือกได้เหมือนกัน อย่างเช่น Hip Hop ที่ครั้งหนึ่งเคยมีคนฟังเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป แนวเพลง Hip Hop ถือว่าเข้ามาอยู่ในกระแสหลักได้ตามวงการเพลงในสหรัฐฯ แต่ในไทยนั้น ความนิยมก็ต้องถือว่ายังห่างไกลกับเพลง Rock และ Pop ซึ่งครองตลาดเรื่อยมา และขณะเดียวกัน เพลง Main Stream ก็อาจเป็นแนว Alternative ได้ ถ้าหากเป็นการสร้างสรรค์ให้แตกต่างไป ซึ่งอาจเป็นคำร้อง ทำนอง วิธีคิด วิธีเล่น
เอาล่ะ แล้วเพลงอัลเทอร์เนทีฟของเรานั้นเป็นแนวอะไรกันบ้าง กูรูหลายสำนักจิ้มไปที่ วง Modern Dog แต่ทำไมเพลง Rock 3-4 ชิ้นถึงเข้ากลุ่มได้ จากการวิเคราะห์แล้ว ก็อาจพอสรุปได้ว่า คำร้อง ทำนอง รวมถึงวิธีการร้องที่ต่างไป แต่ก่อนเพลงร็อคอาจจะร้องให้เพราะ ให้กินใจ ให้โยกตามอย่างเช่น ไมโคร อัสนี วสันต์ โลโซ แต่สำหรับวงหมาทันสมัยนั้น เนื้อร้อง ทำนอง ต่างออกไป นึกถึงกฎเกณฑ์น้อยลง ขณะที่ป๊อดนักร้องนำนั้น ก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ มีวิธีการร้องที่ต่างไปอย่างชัดเจน
แต่จริงๆแล้ว ผมคิดว่า Modern Dog นั้นอาจเป็นเำพียงวง Alternative ที่ติดตลาดวงแรก เพราะเพลง Alternative นั้น ย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่จะถูกถ่ายทอดออกมาหรือไม่ และเป็นที่รู้จักหรือไม่ อย่าง Modern Dog ตอนนี้ ผมก็คิดว่าพวกเขาเป็น Main Stream แล้วล่ะ เพราะคนทั่วประเทศรู้จัก แนวเพลงนี้จึงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นหนึ่งในกระแสหลัก
ยุคต่อๆมา ค่าย Bekery ก็กลายเป็นเพลงทางเลือกที่ได้รับความนิยม หรือเป็นที่รู้จักมากที่สุด แนวเพลงที่หลากหลาย ทั้ง Dance ที่ต่างไป โดยกลายเป็นเด็กสาวที่ร้องแบบเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเหล่า Dojocity ทั้งหลาย ทั้ง H, Trium Kingdom, Niece และวงสุดท้ายที่ผมรู้จัก คือ Mister Sister ที่ร้องเพลง อาม่าดุ หรือจะเป็น Rap อย่าง Joey Boy ที่ค่อยๆแจ้งเกิดขึ้นมา รวมถึง Silly Fools ที่มีต้นกำเนิดมาจาก Bekery เช่นกัน ซึ่งก็ถือว่าเ้ป็นวงร็อคที่แตกต่าง โดยเฉพาะดนตรีที่แน่น ไม่ใช่ Pop Rock แบบทั่วๆไป และเสียงร้องที่ไม่เหมือนใครของโต ซึ่งแม้ทุกวันนี้นักร้องจะเป็นเบนแล้ว แต่วงนี้คุณภาพไม่เคยตกจริงๆ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเพราะๆ ซึ้งๆ แนวบอยด์ โกสิยพงษ์ ซึ่งก็กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นหลัง และัสร้างยี่ห้อบอยด์ โกสิฯ ขึ้นมาได้
หลังจากนั้น แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟก็ผ่านมาอีกหลายแนวทั้ง Hip Hop, Metal ซึ่งก็ยังคงอยู่บ้าง หายไปบ้าง อย่าง Metal หรือ Hardcore ที่พาตัวเองจากอัลเทอร์เนทีฟมาสู่กระแสหลักได้ โดยการนำของน้าแมว จีระศักดิ์ แต่เพลงแนวนี้ก็กลับไปเป็นอัลเทอร์เนทีฟอีกครั้ง เนื่องจากความนิยมตกลงไปมาก ส่วน Hip Hop นั้น ผมคิดว่ายังคงขยายตัวไปเรื่อยๆ เราเห็นคนแต่งตัวเป็น B Boy B Girl เพิ่มขึ้น เราไปที่ไหนก็เห็นกำแพงถูกพ่น (แบบสวยงาม สร้างสรรค์) หรือการรวมกลุ่มของวัยรุ่นก็มีที่ซ้อมเต้นแนว Hip Hop กัน ส่วนทำไมแนวนี้หาย แนวนี้เพิ่มก็มีปัจจัยอันหลากหลายเช่นกัน ทั้งกิจกรรมที่มากับแนวเพลงที่ช่วยยึดกลุ่มผู้นิยมแนวเพลงนั้น หรือการแต่งกาย การยอมรับของสังคม มีส่วนหมดครับ
ดนตรีไทยก็เคยสอดแทรกขึ้นมาเป็น Alternative เช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากภาพยนตร์ โหมโรง ซึ่งผมจำได้ว่ายังซื้อซีดี ของอาจารย์ที่เล่นเป็นขุนอินเลย ขณะที่คนไทยก็แห่กันไปเรียนระนาดเป็นการใหญ่ แต่กระแสก็ดร็อปไปตามการเวลา แต่ทุกวันนี้ก็ยังพบเห็นคนชอบดนตรีไทยเยอะพอควรครับ
แล้วปัจจุบันล่ะ แนวเพลงไหนกันที่เป็น Alternative ก็ Reggae Ska ไง รวมไปถึง Jazz ซึ่งมาแรงจริงๆ ไอ้เจ้าเร็กเก้นี่ถือว่ากระแสมาตั้งแต่เมื่อปี 2 ปีก่อนที่เพลงดูเธอทำติดตลาด คิดลมบน ลอยสูงหลายเดือน จนโฆษณาซุปไก่ หรือรังนกอะไรสักอย่างยังต้องเอาไปเป็นเพลงประกอบ น้าจ๊อบ บรรจบแกเด็ดจริงๆ สำหรับเพลงนี้ ต่อแต่นั้น เพลงแนวนี้ก็มาเรื่อยๆของมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะแนวนี้เข้ากับคนไทยที่สนุกสนาน เฮฮา และแล้ว Bob Marley ที่อยู่เฉยๆของแกก็กลายเป็น Hero ของคนจำนวนไม่น้อย หลายคนถักผมเดดร็อค หลายคนใส่เสื้อแดง เขียว เหลือง หรือหาอะไรก็ได้ที่มี 3 สีเนี่ยมาใส่ เป็นอันรู้กันว่าเรา เรกเก้ นะ 55+
จนกระทั่งไม่นานมานี้ สักปีนึงได้ที่วงเรกเก้ (หรือว่าสก๊าาาาา !!) ก็ผุดมาเยอะแยะไปหมด อาจรวมไปถึงแนวเพลงใกล้เคียงอย่าง Bossanova ที่ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน รวมถึง Jazz ที่คนสนใจเยอะขึ้นเรื่อยๆ คณะดุริยางค์ที่ต่างๆ ก็เปิดสอนสาขานี้โดยเฉพาะ ผลงาน Jazz ก็มีเรื่อยๆ รายการ 108 ดนตรีก็เพิ่งเปิด project ใหม่ คือ Jazz Dream Team เพิ่อหายอดฝีมือของแต่ละชิ้นเครื่องมือในวงแจ๊สมารวมกัน รออีกไม่นาน ผมว่า Jazz ก็จะเป็นที่นิยมเช่นกัน แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ฟังยากอยู่บ้าง ก็อยู่ที่ว่าจะสามารถ adapt ให้คนฟังฟังง่ายขึ้นได้หรือไม่ อาจออกมาในรูปของ Pop Jazz 55+ ซึ่งตัวอย่างก็มี อย่างคุณโก้ Sax Man
เอาล่ะ นี่ก็คือภาพรวมๆ ที่อาจจะพอมองเห็นได้ในภาพรวม มีอีกหลายอย่างที่ขาดตกไป เพราะเรื่องนี้เขียนกันเป็นเล่มๆได้เลย ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์ไปบ้าง อย่างน้อยก็ในแง่ที่ดนตรีไม่ได้มีแค่ Pop & Rock ลองฟังเพลงให้หลากหลาย คุณก็อาจจะได้พบโลกใหม่ๆ สีสันใหม่ๆในชีวิตครับ
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อสังเกตความเห็นของทั้ง2ฝ่าย
เมื่อคืนนี้มีโอกาสได้ฟังคุณจาตุรนต์ ฉายแสง ผู้ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ทางฝั่งเสื้อแดงหรือฝ่ายค้านแสดงความคิดเห็นในรายการตอบโจทย์ทางทีวีไทย ผมคิดว่าู้ผู้ดำเนินรายการทำได้ดีทีเดียว เพราะถามจนแสดงให้เห็นความคิดของคุณจาตุรนต์ได้ชัดเจนพอควร และก็คงเป็นความคิดที่คุณจาตุรนต์ต้องการสื่อแก่ประชาชนทั่วไปเช่นกัน
แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือความเห็นต่อทางออกของสังคมในขณะนี้ คุณจาตุรนต์กล่าวว่า ตามความเห็นของเขา เขาให้เวลารัฐบาล 3 เดือนหากจริงใจต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ทางออกคือยุบสภาทันที อันสอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มเสื้อแดง
ทำไมคุณจาตุรนต์จึงเชื่อเช่นนั้น? แน่นอนว่าคงเอ่ยลอยๆขึ้นไม่ได้ มันต้องมีสภาวะบางอย่างที่ทำให้ไม่เชื่อ ซึ่งผมก็ข้องใจมาตั้งแต่ที่คุณจตุพรบอกว่าไม่เชื่อ แต่ผมยังไม่ได้เหตุผลที่ชัดเจน วันนี้คุณจาตุรนต์ได้ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้น
เหตุผล คือ มติพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปีก่อนมีว่าไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ !!! แม้คุณอภิสิทธิ์จะเป็นนายกฯ และพร้อมจะแก้เพียงใด แต่เมื่อคนข้างหลังยังไม่เห็นด้วยเช่นนี้ ก็ยากที่จะแก้ไขสำเร็จ ... รวมทั้งที่ผ่านมา พรรคร่วมยังเสนอแก้แค่ 2 ประเด็น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการทำให้กติกาการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ข้อชี้แจงนี้ทำให้ผมเข้าใจ และอีกหลายคนก็น่าจะเข้าใจได้ถึงเหตุผลของฝ่ายคนเสื้อแดงหรือฝ่ายค้าน
แต่ประเด็นหนึ่งที่ผมติดใจ และข้องใจที่สุดในคำพูดของคุณจาตุรนต์ คือ ประชาธิปไตยที่เลวที่สุดยังดีกว่าเผด็จการที่ดีที่สุด !?!?! มันสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ระบอบทักษิณคือประชาธิปไตยที่เลวที่สุดใช่หรือไม่? ข้อความนี้ถือเป็นการบลัพอย่างรุนแรงระหว่างระบอบการปกครอง 2 แบบ คือ ประชาธิปไตยกับเผด็จการ ซึ่งแท้จริงแล้ว คนส่วนหนึ่งรวมทั้งผมด้วยไม่คิดเช่นนี้เป็นแน่ เพราะแต่ละระบอบย่อมมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกัน การบอกว่าสิ่งหนึ่งดีย่อมมีคนเห็นเช่นกันว่าสิ่งเดียวกันนั้นไม่ดี เรื่องนี้คุยกันได้อีกยาว แต่สรุปว่านี่เป็นเรื่องที่ผมผิดหวังมากที่สุดสำหรับคุณจาตุรนต์เมื่อคืน
สำหรับทางฝ่ายรัฐบาลนั้น ช่องทางสื่อสารตอนนี้ คือ NBT หรือช่องหอยม่วงของคนเสื้อแดงนั่นเอง รัฐบาลนี้ไม่ได้ต่างไปจากรัฐบาลทักษิณหรือรัฐบาลนอมินีทั้ง 2 ชุด เพราะยังคงใช้ประโยชน์จากสื่อของรัฐเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
เมื่อคืนผมทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานาน คือ เปิดช่อง NBT นี้เอง บังเอิญมันเป็นรายการพูดคุยกัน 3 คน (หนึ่งในนั้นเป็นนักวิชาการ) และกำลังโจมตีคนเสื้อแดงอย่างหนัก เรื่องสำคัญ คือ การกล่าวว่า คนเสื้อแดงนำความเท็จมาปลุกระดม พร้อมทั้งตัดต่อภาพเหตุการณ์ของกลุ่มเสื้อแดง เช่น เหตุการณ์ทุบรถนายกฯ และคณะ ที่กระทรวงมหาดไทยปีก่อน พร้อมนำเสียงแกนนำบนเวทีมาเสริม รวมถึงคำพูดของคุณจตุพรระหว่างการเจรจานัดที่ 2 มาใส่ด้วย
ข้อกล่าวหานี้ผมไม่เห็นด้วย เพราะทุกวันนี้คนไทยก็ยังไม่รู้ว่าอะไรคือความจริง แล้วจะกล่าวได้อย่างไรว่าอะไรคือความเท็จ สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลควรทำมากกว่า คือ ดำเนินการตามกฎหมายให้ได้ความจริงโดยเร็ว เพื่อจะได้พูดได้เต็มปากว่าอีกฝ่ายใช้ความเท็จมาปลุกระดม สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็แค่อาศัยความคลุมเครือเพื่อหาประโยชน์ใส่ตนเท่านั้น ...
ขอแถมทิ้งท้ายอีกนิด คือ กรณีทูตสหรัฐฯบอกว่าสนับสนุนการเจรจา ต่อต้านความรุนแรง แต่สิ่งที่สหรัฐฯทำตลอดมาคือความรุนแรงมิใช่หรือ? สหรัฐฯเจรจากับบิน ลาเด็นไหม? ... ไม่แน่นอน มีแต่ส่งทหารเข้าไปในตะวันออกกลาง แม้แต่ยุคของโอบามาก็ตามที ซึ่งทำให้ผมผิดหวังกับตัวผู้นำท่านนี้จริงๆ ผมเคยชื่นชม และออกจะเห็นด้วยกับโนเบลสันติภาพเมื่อปีก่อน แต่ตอนนี้เริ่มไม่เสียแล้วครับ ... ดังนั้น สหรัฐฯอย่างมาพูดอย่างนี้เลยครับ มันเบาจนหูผมไม่ได้ยินเลย
มันไร้น้ำหนักครับ !!!!
แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือความเห็นต่อทางออกของสังคมในขณะนี้ คุณจาตุรนต์กล่าวว่า ตามความเห็นของเขา เขาให้เวลารัฐบาล 3 เดือนหากจริงใจต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ทางออกคือยุบสภาทันที อันสอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มเสื้อแดง
ทำไมคุณจาตุรนต์จึงเชื่อเช่นนั้น? แน่นอนว่าคงเอ่ยลอยๆขึ้นไม่ได้ มันต้องมีสภาวะบางอย่างที่ทำให้ไม่เชื่อ ซึ่งผมก็ข้องใจมาตั้งแต่ที่คุณจตุพรบอกว่าไม่เชื่อ แต่ผมยังไม่ได้เหตุผลที่ชัดเจน วันนี้คุณจาตุรนต์ได้ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้น
เหตุผล คือ มติพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปีก่อนมีว่าไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ !!! แม้คุณอภิสิทธิ์จะเป็นนายกฯ และพร้อมจะแก้เพียงใด แต่เมื่อคนข้างหลังยังไม่เห็นด้วยเช่นนี้ ก็ยากที่จะแก้ไขสำเร็จ ... รวมทั้งที่ผ่านมา พรรคร่วมยังเสนอแก้แค่ 2 ประเด็น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการทำให้กติกาการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ข้อชี้แจงนี้ทำให้ผมเข้าใจ และอีกหลายคนก็น่าจะเข้าใจได้ถึงเหตุผลของฝ่ายคนเสื้อแดงหรือฝ่ายค้าน
แต่ประเด็นหนึ่งที่ผมติดใจ และข้องใจที่สุดในคำพูดของคุณจาตุรนต์ คือ ประชาธิปไตยที่เลวที่สุดยังดีกว่าเผด็จการที่ดีที่สุด !?!?! มันสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ระบอบทักษิณคือประชาธิปไตยที่เลวที่สุดใช่หรือไม่? ข้อความนี้ถือเป็นการบลัพอย่างรุนแรงระหว่างระบอบการปกครอง 2 แบบ คือ ประชาธิปไตยกับเผด็จการ ซึ่งแท้จริงแล้ว คนส่วนหนึ่งรวมทั้งผมด้วยไม่คิดเช่นนี้เป็นแน่ เพราะแต่ละระบอบย่อมมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกัน การบอกว่าสิ่งหนึ่งดีย่อมมีคนเห็นเช่นกันว่าสิ่งเดียวกันนั้นไม่ดี เรื่องนี้คุยกันได้อีกยาว แต่สรุปว่านี่เป็นเรื่องที่ผมผิดหวังมากที่สุดสำหรับคุณจาตุรนต์เมื่อคืน
สำหรับทางฝ่ายรัฐบาลนั้น ช่องทางสื่อสารตอนนี้ คือ NBT หรือช่องหอยม่วงของคนเสื้อแดงนั่นเอง รัฐบาลนี้ไม่ได้ต่างไปจากรัฐบาลทักษิณหรือรัฐบาลนอมินีทั้ง 2 ชุด เพราะยังคงใช้ประโยชน์จากสื่อของรัฐเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
เมื่อคืนผมทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานาน คือ เปิดช่อง NBT นี้เอง บังเอิญมันเป็นรายการพูดคุยกัน 3 คน (หนึ่งในนั้นเป็นนักวิชาการ) และกำลังโจมตีคนเสื้อแดงอย่างหนัก เรื่องสำคัญ คือ การกล่าวว่า คนเสื้อแดงนำความเท็จมาปลุกระดม พร้อมทั้งตัดต่อภาพเหตุการณ์ของกลุ่มเสื้อแดง เช่น เหตุการณ์ทุบรถนายกฯ และคณะ ที่กระทรวงมหาดไทยปีก่อน พร้อมนำเสียงแกนนำบนเวทีมาเสริม รวมถึงคำพูดของคุณจตุพรระหว่างการเจรจานัดที่ 2 มาใส่ด้วย
ข้อกล่าวหานี้ผมไม่เห็นด้วย เพราะทุกวันนี้คนไทยก็ยังไม่รู้ว่าอะไรคือความจริง แล้วจะกล่าวได้อย่างไรว่าอะไรคือความเท็จ สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลควรทำมากกว่า คือ ดำเนินการตามกฎหมายให้ได้ความจริงโดยเร็ว เพื่อจะได้พูดได้เต็มปากว่าอีกฝ่ายใช้ความเท็จมาปลุกระดม สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็แค่อาศัยความคลุมเครือเพื่อหาประโยชน์ใส่ตนเท่านั้น ...
ขอแถมทิ้งท้ายอีกนิด คือ กรณีทูตสหรัฐฯบอกว่าสนับสนุนการเจรจา ต่อต้านความรุนแรง แต่สิ่งที่สหรัฐฯทำตลอดมาคือความรุนแรงมิใช่หรือ? สหรัฐฯเจรจากับบิน ลาเด็นไหม? ... ไม่แน่นอน มีแต่ส่งทหารเข้าไปในตะวันออกกลาง แม้แต่ยุคของโอบามาก็ตามที ซึ่งทำให้ผมผิดหวังกับตัวผู้นำท่านนี้จริงๆ ผมเคยชื่นชม และออกจะเห็นด้วยกับโนเบลสันติภาพเมื่อปีก่อน แต่ตอนนี้เริ่มไม่เสียแล้วครับ ... ดังนั้น สหรัฐฯอย่างมาพูดอย่างนี้เลยครับ มันเบาจนหูผมไม่ได้ยินเลย
มันไร้น้ำหนักครับ !!!!
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ฮูล่า ฮูป (hula hoop)
จากรายการ ทันโลก ทางทีวีไทยคืนนี้ (27 กุมภาฯ) นำเสนอหลายเรื่องที่น่าสนใจ หนึ่งในนันคือเรื่องของเจ้าห่วงฮูล่า ฮูป นี่เอง ที่กลับมาฮิตกันในหมู่ชาวมะกันผู้รักสุขภาพ เท่าที่จำความได้ มันก็มีอยู่แล้วเมื่อผมเกิด เนื้อหาในรายการบอกว่าประวัติของมันต้องย้อนไปที่ราวยุคทศวรรษ 1950 ที่ออสเตรเลีย ก่อนจะแพร่ไปยังสหรัฐฯ แต่ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วย และเมื่อลองเปิดเว็บหาข้อมูลสักหน่อยก็พบว่า มันเป็นของเล่นโบราณตั้งแต่สมัยกรีกนู่น ทำจากเหล็ก ไม้ หรือเถาวัลย์ ก่อนที่ประมาณคริสตศักาช 1300 มันจะเข้ามาที่อังกฤษ แต่ยังเป็นในลักษณะทำกันตามบ้านมากกว่า (homemade) ต่อมาเมื่อราวปี 1800 ต้นๆ นักแล่นเรือชาวอังกฤษแล่นไปพบกับการเต้นฮูล่าที่เกาะฮาวายอิ (Hawaii) ซึ่งจุดนี้เองได้ทำให้การหมุนห่วงรอบเอว (hooping) กับการเต้นฮูล่า (hula dancing) มาอยู่คู่กันเป็น hula hoop นั่นเอง
ฮูล่า ฮูป ถูกผลิตอย่างเป็นจริงเป็นจังโดยบริษัท วาม-โอ (Wham-O) บริษัทผลิตของเล่นที่เริ่มต้นในปี 1948 โดย ริชาร์ เคอร์ (Richard Knerr) และ อาเธอร์ เมลิน (Arthur Melin) บริษัทนี้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (trademark) Hula Hoop ® ด้วย และนำออกขายราวๆปลายทศวรรษ 1950 และขายได้กว่า
20 ล้านอัน ในราคา 1.98 เหรียญ ในเวลาเพียง 6 เดือน (โอ้ววว ทันตา ฮ่าๆ)
สถิติเกียวกับเจ้าห่วงฮูล่าก็มีมากมาย ทั้งนานที่สุด ใช้ห่วงเยอะที่สุด อย่างเช่น คารีนา โอทส์ (Kareena Oates) สาวออสซี่ก็ทำสถิติเป็นผู้ที่สามารถเล่นห่วง 100 ห่วง แล้วหมุนได้ 3 รอบ (สงสัยจะถึงคอ)
ปัจจุบัน ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะผู้รักสุขภาพได้กลับมาสนใจเจ้าห่วงนี้อีกครั้ง โดยได้นำมาประยุกต์ ใส่ท่าเต้นให้สวยงาม ดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น โดยผู้ร่วมกิจกรรมอ้างว่าสามารถลดสัดส่วนได้ทุกส่วนเลย สำหรับคนรักสุขภาพชาวไทยก็ลองดูละกัน น่าจะได้ผลทั้งหุ่นดี แล้วก็สุขภาพดีด้วย
ฮูล่า ฮูป ถูกผลิตอย่างเป็นจริงเป็นจังโดยบริษัท วาม-โอ (Wham-O) บริษัทผลิตของเล่นที่เริ่มต้นในปี 1948 โดย ริชาร์ เคอร์ (Richard Knerr) และ อาเธอร์ เมลิน (Arthur Melin) บริษัทนี้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (trademark) Hula Hoop ® ด้วย และนำออกขายราวๆปลายทศวรรษ 1950 และขายได้กว่า
20 ล้านอัน ในราคา 1.98 เหรียญ ในเวลาเพียง 6 เดือน (โอ้ววว ทันตา ฮ่าๆ)
สถิติเกียวกับเจ้าห่วงฮูล่าก็มีมากมาย ทั้งนานที่สุด ใช้ห่วงเยอะที่สุด อย่างเช่น คารีนา โอทส์ (Kareena Oates) สาวออสซี่ก็ทำสถิติเป็นผู้ที่สามารถเล่นห่วง 100 ห่วง แล้วหมุนได้ 3 รอบ (สงสัยจะถึงคอ)
ปัจจุบัน ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะผู้รักสุขภาพได้กลับมาสนใจเจ้าห่วงนี้อีกครั้ง โดยได้นำมาประยุกต์ ใส่ท่าเต้นให้สวยงาม ดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น โดยผู้ร่วมกิจกรรมอ้างว่าสามารถลดสัดส่วนได้ทุกส่วนเลย สำหรับคนรักสุขภาพชาวไทยก็ลองดูละกัน น่าจะได้ผลทั้งหุ่นดี แล้วก็สุขภาพดีด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)