วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Planaonao vs Chetta Vol.1

Planaonao Plus : มี 2 เรื่องที่สงสัยจากการเรียนวันนี้ครับ (21 กรกฎาคม 2553)

1. ปัจจัยอะไรที่ทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นเฟดตัวไป และความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวมาเป็นประเด็นหลักแทนที่
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
ตอบแบบจะรีบไปห้องน้ำว่า
1.การสิ้นสุดของสงครามเย็น - การล่มสลายของคอมมิวนิสม์ในลักษณะของการแพร่ระบาด (contagion) – การใช้สำนึกทางชนชั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมการปฏิวัติชนชั้นแทบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
1. อ๋อ เข้าใจแล้ว เพราะคอมมิวนิสต์เน้นเรื่องชนชั้น การหมดบทบาทในกระแสหลักของคอมมิวนิสต์ก็เท่ากับเรื่องชนชั้นลดบทบาทลงไปด้วย
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายเท่าที่จำได้
อย่างไรก็ดี หลังจากการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์โซเวียตและหลังจากที่ประเทศจีนได้หันไปดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอันนำไปสู่การขยายตัวของความไม่เท่าเทียมกัน ดูเหมือนว่าความขัดแย้งทางชนชั้นก็ได้เริ่มลดบทบาทลงในฐานะเป็นต้นตอของการจับขั้วทางการเมือง (political polarisation) ในโลกกำลังพัฒนาและเปิดโอกาสให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้เข้ามามีบทบาทแทน
คงไม่มีการแตกแยกทางการเมือง (political division) รูปแบบใดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างยืดเยื้อเรื้อรังและรุนแรงในชาติกำลังพัฒนาทั้งหลายได้เท่ากับประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ (ethnicity)
ประชาชนในโลกที่สามแทบทั้งหมดได้ถูกดึงเข้าสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันบนพื้นฐานของภาษา วัฒนธรรม ศาสนา สีผิว และดูเหมือนว่าหลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้ทวีความรุนแรงจนขยายขอบเขตออกไปจนเกินกว่าที่จะเป็นแค่เพียงเรื่องของชนชั้นทางสังคมเศรษฐกิจเท่านั้น
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:52 น.
แน่นอนว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ไมได้จำกัดขอบเขตอยู่แค่ในโลกที่สามเท่านั้น ทว่าความขัดแย้งดังกล่าวได้ผุดโผล่เมื่อไม่นานมานี้ในดินแดนหลายๆแห่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเช่นเซอร์เบีย ไอร์แลนด์เหนือ อดีตสหภาพโซวียต และแคนาคา อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์นี้กลับสร้างปัญหาอันขมขื่นโดยเฉพาะให้กับประเทศต่างๆที่มีการพัฒนาระดับต่ำ (LDCs) อันเป็นผลมาจากการแข่งขันอย่างเข้มข้นรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ขาดแคลน ดังนั้น แม้ว่าการเมืองในนาครของอเมริกา (American urban politics) ในบางครั้งสำแดงตัวออกมาลักษณะของการแข่งขันระหว่างชาวแองโกล-แซกซอน ชาวไอริช ชาวอิตาเลียน ชาวยิว ชาวอเมริกันที่พูดภาษาสเปน (Hispanics) และชาวอเมริกันแอฟริกัน (African Americans) แต่ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าวก็ไม่เคยรุนแรงเหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเชีย ประเทศเลบานอน และประเทศอินเดีย ในประเทศต่างๆเหล่านี้ หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่ขัดแย้งต่อสู้กันมีความรู้สึกว่าความอยู่รอดของพวกเขานั้นแขวนเอาไว้กับการกระจายงานในภาคสาธารณะ โอกาสในการศึกษา และโครงการพัฒนาของรัฐ
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:49 น.
แต่ทุนนิยมก็เป็นตัวการใหญ่ให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้น โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจไม่ใช่หรอครับอาจารย์ มันน่าจะยิ่งทวีความรุนแรงด้วยซ้ำไป ขณะที่ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์น่าจะควบคุมความขัดแย้งทางชนชั้นได้ดีกว่าอ่าครับ ผมก็เลยสงสัยอยู่นประเด็นนี้
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:06 น.
ผมไม่ได้บอกว่าความขัดแย้งทางชนชั้นหมดไปในโลกปัจจุบัน แต่มีบทบาทในการเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองน้อยกว่าความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ในโลกทุนนิยมปัจจุบันหรือที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ทุนนิยมสามารถผลิตซ้ำตัวมันเองได้ในรูปแบบของการทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้าและการทำให้พวกเราไม่รู้สึกว่าเราถูกเอาเปรียบในสังคมบริโภคนิยม เรามีความเท่าทียใกนในการเข้าไปในห้องสรรสินค้าใช่หรือไม่ เรามีความเท่าเทียมกันในการ 'แดก' McDonald ใช่หรือไม่ หรือสินค้าบางอย่างเราซื้อของแท้ไม่ได้ แต่เราก็สามารถซื้อ imitation good ได้มิไช่หรือ
คุณคงเห็นขบวนการก่อการร้ายสากลของพวก Islamic Fundamentalism ใช่หรือไม่ จริงๆแล้วเขาทำสงครามกับทุนนิยม แต่อ้างความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
ผมขอเน้นว่าความขัดแย้งทางชนชั้นยังไม่หายไป แต่มันมีบทบาทเป็นรองเท่านั้นสำหรับโลกกำลังพัฒนา

2. การที่ประเทศกำลังพัฒนาปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ผ่านขั้นทุนนิยมก่อนส่งผลอะไรต่อทฤษฎีของมาร์กซ์บ้างครับ
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 4:37 น.
2. ยิ่งดีใหญ่ เพราะการปฏิวิติจะได้เกิดเร้ซขึ้นและเกิดขึ้นทั้วโลก ถ้า Marx ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงชอบใจมาก เพราะมีสาวกที่เอาการเอางานอย่าง Lenin, Mao, Ho Chi Minh, Castro, etc. ซึ่งล้วนเป็นทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิวัติในโลกที่สาม
Planaonao Plus 22 กรกฎาคมเวลา 11:52 น.
2. แต่ทฤษฎีของมาร์กซ์ก็ผิดไป อย่างงี้ทฤษฎี 5 ขั้นสู่คอมมิวนิสต์มิเท่ากับถูกท้าทายหรอครับ แม้เป้าหมายจะยังคงเดิมก็ตาม
Puanghut Chetta 22 กรกฎาคมเวลา 20:14 น.
ไม่ได้ถูกท้าทาย เพราะ Marx ต้องการทำสงครามชนชั้นเพื่อเปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมโดยมองจากประสบการณ์ในอังกฤษที่เป็นทุนนิยมอันมีเงื่อนไขของความขัดแย้งทางชนชั้นที่สุกงอมแล้ว แต่ทำไมการปฏิวัติอย่างที่ Marx อยากเห็น จึงไม่เกิด
1. ทุนนิยมปรับตัวในรูปของรัฐสวัสดิการ และล่าสุดผมตอบคุณไปแล้วคือการสลายทุกคนให้กลายเป็นผู้บริโภคอย่างเสมอภาคกัน
2. ในสังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยมก็สามารถข้ามขั้นตอนไปสู่สังคมนิยมได้ของ Marx ได้ เช่น รัสเซีย จีน คิวบา เวียดนาม ซึ่งผมตอบคุณไปแล้ว
3. ถ้าคุณจริงจังกับการศึกษาความคิดของ Marx จะเห็นวา Marx เคยเขียนถึงสังคมเอเชียที่พัฒนาไปเป็นทุนนิยมล่าช้าเพราะมีวิถีการผลิตที่เรียกว่า Asiatic mode of production
4. สังคมที่ยังไม่เป็นทุนนิยม Marx เชื่อว่า พรรคคอมมิวนิสต์ต้องมีบทบาทหลักในการปฏิวัติ [ประเด็นนี้ต้องพูดกันยาว โดยเฉพาะเรื่อง class-in-itself และ class-for-itself]

ก็น่าจะพอเข้าใจบริบทที่ทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งในโลกที่ 3 แทนที่ความขัดแย้งทางชนชั้น รวมถึงเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์นะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 กรกฎาคม 2553 เวลา 05:58

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย [ไม่ใช่เกล็ดปลา]

    ตอบลบ