วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยกเลิก ป.บัณฑิต เพื่อใคร?

หลังคุรุสภาแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีมติยกเลิกประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา หรือป.บัณฑิต นอกจากการโต้เถียงกัน (โดยที่คนทั่วไปไม่ได้ยิน และยอมรับมันโดยไม่ตั้งคำถาม) โดยเฉพาะความไม่พอใจจากนิสิตนักศึกษาที่อยากเป็นครู (หรืออย่างน้อยก็เสียผลประโยชน์ที่พึงได้อยู่เดิม) กับฝ่ายผู้กำหนดนโยบายแล้ว เรากลับเห็นความเคลื่อนไหวบางอย่างที่ตามมา ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

เมื่อไม่มี ป.บัณฑิตแล้ว สิ่งที่ต้องทำถ้าหากอยากเป็นครู (สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู) เหมือนจะมีทางแก้หลักก็คือ เรียนปริญญาโทในคณะครู … เพื่อให้ได้ชื่อว่าจบคณะครู และสามารถมีสิทธิ์เป็นครูได้โดยไม่ผิดกฎหมาย!

นั่นหมายความว่าอะไร? – ความเป็นครูไม่ได้ติดตัวคนมาโดยกำเนิด (ครูมืออาชีพ) แต่ความเป็นครูเกิดจากการรับรองตามกฎหมายว่ามีสิทธิ์ (อาชีพครู)

และแน่นอนว่า สิทธิ์ความเป็นครูตามกฎหมายมิได้คำนึงถึงเรื่องความรู้ความสามารถมากไปกว่า “มึงต้องจบคณะครู”

ศาสตร์หลายแขนงต้องการความรู้เฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย (ที่ลึกซึ้ง) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แต่เรากลับพบว่าครูผู้สอนวิชาเหล่านี้จบ “คณะครู” ที่ไม่ได้มีความรู้เฉพาะเหล่านี้มาก่อน ขณะที่ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางกลับถูกตัดสิทธิ์จากมติของคุรุสภาดังกล่าวข้างต้น โดยอ้างเพียงว่าครูล้นตลาดและต้องการ “กั๊ก” ตำแหน่งครูไว้ให้บัณฑิตคณะครู

นี่ได้สะท้อนความคิดของผู้กำหนดนโยบายที่เน้น “ปริมาณ” มากกว่า “คุณภาพ” และที่สำคัญ คือ นี่คือการละเลยคุณภาพของ “ครู” ผู้ซึ่งมีหน้าที่ในทางตรงต่อการให้ความรู้พื้นฐานแก่คนรุ่นถัดไป ซึ่งการศึกษา (และสาธารณสุข) ได้รับความสำคัญอย่างมากตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบตะวันตก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ (การศึกษา-ความรู้ความสามารถ/สาธารณสุข-สุขภาพที่ดี)

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะคาดหวังถึงความรู้ของคนรุ่นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด?

และสิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นมากไปกว่านั้นคือ เราอาจกำลังเห็นเบื้องหลังของนโยบายยกเลิก ป.บัณฑิต อย่างหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยต่างๆได้เร่ง (ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพ) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี เพื่อรองรับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครู ซึ่งแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายคงมหาศาลขึ้นอย่างมาก และผู้ที่ได้ประโยชน์คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง (เช่น คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ) โดยผลเสียไม่ได้ตกอยู่แค่กับนักศึกษาที่ไม่ได้จบคณะครูที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น แต่กลับมีผลแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอนาคตทางปัญญาของเด็กรุ่นถัดไป ดังนั้น ผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเล็กมากๆ (ที่ส่งผลเสียอย่างกว้างขวาง) คือเหตุผลของการยกเลิก ป.บัณฑิตใช่หรือไม่!

หมายเหตุ : ผู้เขียนมิได้มีเจตนาดูถูก "คณะครู" แต่อย่างใด เพียงต้องการแสดงความเลวร้ายและอยุติธรรมของระบบซึ่งมีคณะครูเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น และมิได้ดูหมิ่นนักศึกษาคณะครูเช่นกัน เพราะเพื่อนคณะครูบางท่านเก่งกาจกว่าผู้เขียนมากนัก

2 ความคิดเห็น:

  1. เอ่อ ... เค้านะ มีความคิดเห็นว่า ...

    หากไม่กั๊กเรื่องการจบครู แล้วเหล่าบรรดา บัณฑิต ที่จบครูล่ะ ???

    จะหางานได้จากที่ไหน ??? ... คนที่อยากเป็นครู ก็ต้องไปเรียน

    คณะที่จะต้องไปเป็นครู สงวนไว้กับการเป็นครู

    แต่ทว่า ... ในบางกระบวนวิชา หรือคณะนั้น ๆ เนี่ย ... คณะที่สอนคนให้เป็นครู มันไม่ได้มี หรือมันไม่ได้เปรื่องปราชญ์ได้โดนนักศึกษา

    หรือเนื้อหา เฮงซวย ห่วยแตก อะไรงี้เช่นกัน

    ยกตัวอย่างเช่น คนที่เรียนครูภาษาอังกฤษ กับคนที่เรียนธุรกิจภาษาอังกฤษ

    บางสถาบันถือว่าคนเรียน ธุรกิจภาษาอังกฤษ เจ๋งกว่า เริดกว่า แต่ที่เรียนครู แม่งอ่อนด้อย อะไรงี้อ่า ~ ก็ว่ากันไป

    ... อย่างเค้า ถ้าให้เค้าประเมินตนเอง เค้าว่าเค้าอาจจะเป็นไกด์ได้

    แต่ก็สงวนไว้ ซึ่งคนที่เรียนท่องเที่ยวมาเช่นกัน จะเป็นไกด์ให้ได้ ต้องอบรม

    ต้องไปนั่นนี่โน่น สอบบัตรไกด์ ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน กับที่ครูเคยประสบมา

    แล้วอัตราครูก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะว่าไปแล้ว พวกเพื่อนเค้าที่ไปเรียนอย่างอื่น

    แล้วหมิ่นต่อคนที่เีรียนครู ( ซึ่งเค้าว่า เค้าก็ไม่ได้สะทกสะท้านให้ระคายเคืองอะไรนะ แค่หมั่นไส้ )

    สุดท้าย ไปไหนไม่รอด ก็มาเรียนครู ... เช่นนี้ ... ถ้าเค้าชอบช่วยเหลือคน

    มีหลักจิตวิทยา ยิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริงลั้ลลา

    เค้าจะเป็นคุณหมอได้หรือไม่ ??? ... ก็ไม่ ! จริงเปล่า ???

    เพราะแม่งไม่ได้เก่ง เลข เก่งอะไรทางบุ๋นเลย เรียนจบมา ก็จะตายห่าอยู่แล้ว

    อาศัยที่เข้ากับเด็ก ๆ ลั้ลลา กล้าหน่อย ด้านหน่อย ขี้อายอีกนิด

    ว่ากันว่า คุณสมบัติของผู้สอน มันต้องแตกต่างกับคุณสมบัติ

    ของคนที่เป็น " ครู " อยู่แล้ว จริงรึเปล่า ??? @^_^@

    ป.ล เค้าคิดว่า ความเก่ง และความสามารถ ต้องยกนิ้วให้เลยล่ะ

    แต่คุณสมบัติบางประการของคนเก่ง บางคน !

    ... มันทำให้คน เติบโตด้วยคุณสมบัติสำหรับความเป็นคน ได้รึเปล่า ??? ...

    ตอบลบ
  2. คุณก็บอกว่าไม้ได้ดูถูก แต่คำพูดที่เขียนมันเกิณไป
    คุณว่า ความเป็นครูติดตัวมาโดยกำเนิด ทำไมไม่เรียนครู
    ก็เพราะคนที่มีความเป็นครูติดตัวมาโดยกำเนิดนี่แหละ
    ้เค้าถึง"เรียนคณครู"กัน แต่พวกที่เรียนแล้วมาเรียน ป.บัณฑิต
    คืดเรียนมาแล้วไม่รู้จาทำอะไรแล้วมาเรียนครู มาทำเป็นเดือด...ร้อน
    เวลาแค่ปีเดียวมันปลูกฝังความเป็นครูกันไม่ได้หรอก
    คุณอย่าพูดว่าตนเองเข้าใจ...คำว่าครูอาชีพกับความเป็นครู
    ไปมากกว่าคนที่เรียนครูและโดนปลูกฝังความเป็นครูตั้งแต่ก้าวแรกที่ก้าวเข้าสู่คณะครู
    มันทุเรด

    ตอบลบ