วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับอายุและศิลปะของทับหลังรุ่นแรกที่พบในจังหวัดจันทบุรี

ทับหลังศิลปะไพรกเมง อายุปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบที่โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรีชิ้นหนึ่ง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานพระนคร ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าชมพร้อมกับผู้เข้าร่วมอบรมภาษาเขมรท่านอื่นๆ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖


ทับหลังศิลปะไพรกเมง (เดิมกำหนดเป็นถาลาบริวัต) พบที่จังหวัดจันทบุรี
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ในวงเหรียญมีรูปครุฑยุดนาค?
จารึกช่องสระแจง พบที่จังหวัดสระแก้ว
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ในช่วงก่อนนี้มีการกำหนดศิลปะทับหลังชิ้นนี้เป็นถาลาบริวัต แต่ปัจจุบันจัดเป็นไพรกเมง คือ มีมกรคลายเส้นโค้ง (พวงมาลัย?) มีวงเหรียญที่มีรูปบุคคล (ครุฑยุดนาค?) วางเชื่อมอยู่เป็นระยะ ซึ่งชิ้นที่สมบูรณ์ควรมี ๓ เหรียญ? และมีลายพวงอุบะห้อยย้อยเป็นจังหวะ

ศิลปะแบบไพรกเมงมีต้นแบบที่กลุ่มโบราณสถานสมโบร์ไพรกุก (ป่าที่สมบูรณ์หรืออุดมไปด้วยคูหา คือ ปราสาท?) ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองอีศานปุระ? ที่พระเจ้าอีศานวรมันที่ ๑ กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรเจนละ (ครองราชย์ราวๆ พ.ศ. ๑๑๕๘-๑๑๘๐?) ย้ายเมืองหลวงมาที่นี่

ทับหลังรุ่นเดียวกับชิ้นนี้ยังพบอีก ๓ ชิ้น? เก็บรักษาที่จันทบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกชิ้นกำหนดศิลปะเป็นถาลาบริวัตไปหมด แต่เท่าทีดูแล้วควรกำหนดใหม่เป็นไพรกเมง และไพรกเมง-กำปงพระ (มีความผสมผสานกัน) มากกว่า เพราะวงโค้งที่มีวงเหรียญคั่นเป็นระยะแบบทับหลังในรูปได้กลายเป็นเส้นตรงไปแล้ว และเริ่มมีลายพรรณพฤกษาประกอบ ซึ่งที่สมโบร์ไพรกุกก็พบปราสาทบางหลังมีทับหลังแบบไพรกเมงกับไพรกเมง-กำปงพระ อยู่ในหลังเดียวกัน


ที่จันทบุรีมีการพบจารึกรุ่นเก่าที่จารึกด้วยอักษรรุ่นเก่าซึ่งยังใกล้เคียงกับอักษรต้นแบบจากอินเดียใต้ราชวงศ์ปัลลวะมาก คือ จารึกวัดทองทั่ว-ไชยชุมพล (จบ. ๓-๔) ซึ่งน่าจะเป็นส่วนประกอบของศาสนสถาน (ปราสาท) จารึกหลักนี้มีคำสำคัญเป็นชื่อกษัตริย์ คือ ศฺรีศานวรฺมฺม หรือ พระเจ้าอีศานวรมันที่ ๑

ดังนั้น การกำหนดศิลปะทับหลังซึ่งพบที่จันทบุรีชิ้นนี้ (คือชิ้นในภาพ) ใหม่เป็นแบบไพรกเมง และชิ้นอื่นซึ่งเก็บรักษาที่จันทบุรีเป็นไพรกเมง-กำปงพระ ทำให้เกิดความสอดคล้องไปด้วยกันได้ดีกับอายุสมัยของจารึก คือ ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๑ ซึ่งอิทธิพลของเจนละได้ควบรวมฟูนันอย่างสมบูรณ์ และได้ขยายอาณาเขตเพิ่มเติมจากสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมันมายังแถบจันทบุรี (สมัยพระเจ้ามเหนทรวรมันพบจารึกถึงแค่ที่สระแก้ว คือ จารึกช่องสระแจง) ถือเป็นอิทธิพลเขมรที่เก่าที่สุดที่พบในจังหวัดจันทบุรี น่าเสียดายที่ตัวปราสาท (ซึ่งควรเป็นปราสาทอิฐ?) ไม่หลงเหลือแล้ว

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

สงกรานต์: การยึดมั่นในความตายตัวของสังคมไทย

"สงกรานต์" ลาวออกเสียงว่า "สังขาน" เช่นเดียวกับล้านนา (กร ออกเสียงเป็น ข) ป้ายในรูปนี้จึงติดว่า "งานปะกวด นางสังขาน นะคอนหฺลวงวฺยงจัน (เวียงจันทน์)"

งานปะกวด นางสังขาน นะคอนหฺลวงวฺยงจัน ปะจำปี พ.ส 2556 , ค.ส 2013
จาก page Laos Pictures (http://www.facebook.com/LaosPictures)

สงกรานต์ เป็นคำยืมภาษาสันสกฤต (สงฺกฺรานติ) คำเดิมต้องออกเสียง สังกรานต์ เพราะแขกไม่มีสระโอะ แต่ไทยยืมมาแล้วเปลี่ยนเสียงสระไป ขณะที่ล้านนาและลาวไม่ได้เปลี่ยน ยังออกเสียงว่า "สัง" ไม่ใช่ "สง"

สงกรานต์ แปลตามรากศัพท์ว่า เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (going from one place to another) ซึ่งหมายถึง การที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสถิตอีกราศีหนึ่ง

"๑ ปี จึงมีสงกรานต์ ๑๒ ครั้ง เพราะมี ๑๒ ราศี" แต่สงกรานต์ที่สำคัญที่สุด คือ พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสถิตราศีเมษ ไทยเรียกวันดังกล่าวว่า วันมหาสงกรานต์ ภาคเหนือเรียก "สังขานล่อง" วันนี้คือวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ ประมาณ ๖๐ ปีก่อนจนถึงปีที่แล้วตรงกับวันตามปฏิทินสุริยคติ คือ ๑๓ เมษายน แต่ตั้งแต่ปีนี้ไปอีกประมาณ ๖๐ ปี จะตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน


วัยรุ่นชาวลาวเล่นสงกรานต์ที่เมืองหลวงพระบาง โดยมีคำอธิบายว่า
"traditional photo is ended, please enjoy real Water festival foto"
จาก page Luang Prabang Moradok (
http://www.facebook.com/luangprabang.mdr)

วันถัดมาเป็นวันเนาว์ หรือวันเนา หรือวันดา เป็นวันที่รอให้พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษให้หมดเสียก่อน แล้ววันถัดมาที่พระอาทิตย์สถิตราศีเมษทั้งหมดแล้ว จึงจะเป็นวันเถลิงศก ภาคเหนือเรียก "พญาวัน" คือ เป็นวันที่สำคัญใหญ่กว่าวันทั้งปวง (พญา เป็นคำยืมภาษามอญ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ ไทยรับมาใช้หลายรูปทั้ง พรญา พระยา พญา) "ปีนี้ก็เลื่อนจากวันที่ ๑๕ เมษายน ไปเป็น ๑๖ เมษายนด้วย"

การเลื่อนวันสงกรานต์เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะคัมภีร์ที่ใช้คำนวณเป็นของเก่าที่ย่อมคลาดเคลื่อนไปเรื่อยๆ (คลาดเคลื่อนไปจากการคำนวณทางดาราศาสตร์) เมื่อเราใช้คัมภีร์เก่าในการคำนวณปฏิทินก็ต้องเลื่อนวันตามที่คำนวณได้


รูปการเล่นน้ำสงกรานต์ของชาวลาวที่หลวงพระบางที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
จาก page Luang Prabang Moradok (http://www.facebook.com/luangprabang.mdr)
อย่างไรก็ดี ความเคยชินมักทำให้เกิดความคิดที่แน่นิ่งตายตัวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และคิดว่าจะดำรงอยู่เช่นนี้ตลอดไปไร้ซึ่งความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมักนำไปสู่ปัญหา ในประเด็นวันสงกรานต์เกิดปัญหา คือ ทางภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องไม่ยอมเปลี่ยนเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นวันที่ ๑๔ ไปจนถึงวันที่ ๑๖ เราจึงฉลองสงกรานต์เคลื่อน(เร็ว)ไป ๑ วัน และถ้ายังไม่หยุดทัศนคติที่จะคงเทศกาลสงกรานต์ให้แน่นิ่งไว้เช่นนี้ (ทั้งที่ในอดีตเราก็เลื่อนมาเรื่อยๆ จนมาหยุดที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ประมาณ ๖๐ ปี จนถึงปีก่อน) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือปัจจัยใดๆ ก็ตาม อีกประมาณ ๖๐ ปีข้างหน้า เทศกาลสงกรานต์ก็จะเคลื่อน(เร็ว)ไป ๒ วัน และเคลื่อนไป ๑ วันอีกประมาณทุกๆ ๖๐ ปี

แน่นอนว่าความคลาดเคลื่อนของคัมภีร์เก่าต้องมีการแก้ปัญหา มิเช่นนั้น วันสงกรานต์อาจเคลื่อนไปจนถึงเดือนพฤษภาคมได้ (แต่ก็เป็นเวลายาวนานเกิน ๑,๐๐๐ ปี) แต่ปัญหาที่ใกล้กว่านั้น คือ เรากลับละเลยความถูกต้องแล้วกลับยึดเอาความแน่นิ่งตายตัวที่มาจากความเคยชิน ซึ่งแม้จะไม่เกิดปัญหาใดๆ ร้ายแรง แต่นั่นก็เท่ากับเลือกที่จะเบือนหน้าใส่ผลการคำนวณจากคัมภีร์ซึ่งยึดถืออยู่ หากต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ควรให้เหตุผลและชี้แจงแก่ประชาชน มิใช่จัดการอย่างลอยๆ และทำให้คนที่ไม่รู้อยู่แล้วไม่ต้องรู้ตลอดไป ... นี่ไม่ใช่ลักษณะอันควรเกิดในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กำลังฟักตัวของไทย !!!

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

What a fucking stereotype on me (and other guy)?


          The man is the leader. This word is the significant example of the world of stereotype. Guys should be for everything his lover wants, and if not, you are bad! I think everyone has his or her own identity and do everything in his or her way. But most people look the world like it has many exact rules that existed since the earth was born. The man is stronger than woman so the man must lead, if you are behind you are a bad guy. So Yingluck should go to the kitchen and cook for her family and Aung San Su Kyi should go back to look after her children better, anything wrong?

          Why the wide sight did not be put in our eyes? Discourses (Thai: vadakram) that created by many powers, such as traditional leaders, religion, media, and everyone that can let his or her thought to the public, are the most effective factor to our way of thought. If an actor who love his mom so much tell us through the TV program that the nice guy should love mom and it impress many people in the society, loving mom will become the good attitude of that society. And in the same way, the soap opera that the leading actor take care of his wife in everything she want, the responsibility of the man that should do for another sex, especially the wife, will come to the position that every man should be there. Moreover, Stereotype can be considered as violence. It hurt many people on earth and will do more and more.

          I think we cannot destroy the thick wall like stereotype easily. It was absorbed deeply in everyone thought. In the other hand, we do not want someone to affect us with stereotype so we have to learn to open our heart for different thinking and accept it to appear in our society. The third gender is another fine instance for fighting against the world of stereotype and can change the thought in the world to have better sight on them. If all of stereotype issue can be adjust in the better way, our world could be a happier world.