วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จากข้อความเพียงสั้นๆ Vol.1

จาก Facebook อาจารย์เชษฐา : ถ้านักศึกษาของเราไม่เคยต่อสู้เพื่อจะปกป้องสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิเหนือร่างกาย และการเลือกเครื่องแต่งกายของพวกเขาเมื่อได้เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาจะไม่สามารถจินตนาการถึงสิทธิที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น...[คำ ผกา, ‘ขอแสดงความยินดี’, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1563 (23-29 กรกฎาคม 2553), หน้า 91-92.]

ความเห็นส่วนตัว : เป็นข้อความที่กระแทกใจนักศึกษาอย่างเรายิ่งนัก และแม้จะถูกใจข้อความนี้ แต่ก็ควรระลึกเสมอว่า การไม่มีสำนึกถึงเรื่องสิทธิพื้นฐานอย่างการแต่งกายนั้น นำไปสู่การไร้จินตนาการถึงสิทธิที่ใหญ่กว่านั้นจริงหรือ? นอกจากนี้ ยังต้องดูบริบทต่างๆที่แวดล้อมตัวนักศึกษาด้วยว่า เป็นบริบทที่เอื้อแก่การมีสำนึกเหล่านี้หรือไม่ และคำถามต่อไปที่เป็นเชิงกลับของคำถามแรก ก็คือ ถ้านักศึกษามีสำนึกเรื่องสิทธิในการแต่งกายมาเรียนแล้ว พวกเขา (พวกเรานั่นแหละ) จะมีสำนึกในสิทธิที่ก้าวหน้าขึ้นจริงหรือไม่?

สรุป : ข้อความนี้เหมาะแก่การสร้างกระแสมากกว่า (เพราะสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะนักศึกษา) เพราะพร่องในเรื่องตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร ทั้งนี้ ข้อสรุปเกิดขึ้นจากเพียงข้อความสั้นๆนี้เท่านั้น มิได้หมายรวมถึงบทความที่ข้อความนี้ปรากฏอยู่ เพราะยังไม่ได้อ่าน (ฮี่ๆ) ซึ่งหากอ่านบทความทั้งหมดแล้ว อาจทำให้เข้าใจความคิดของผู้เขียนในเรื่องสิทธิมากขึ้น และคงจะดีถ้ามันสามารถกระตุ้นให้เกิดสำนึกเรื่องสิทธิขึ้นมาได้จริงๆ

หวังเหลือเกินว่า สักวันความคิดเรื่องสิทธิจะเกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยอย่างถ้วนหน้าสักที
T^T

3 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ผมเลือกข้อความบางส่วนของบทความเฉพาะที่ผมมีความรู้สึกไม่ต่างจากคุณ ผมไม่สามารถนำทั้งหมดของบทความมาแสดงได้ [ผมได้อ้างอิงให้คุณและคนอื่นๆที่สนใจติดตามอ่านตัวบทฉบับเต็ม] ถ้าคุณได้อ่านบทความนี้ทั้งหมด ผมว่าไม่ต้องไปพูดถึงบริบทอะไรเลย เพราะ Il n'y a rien hors de texte./ไม่มีอะไรอยู่นอกตัวบท ความจริงผมต้องการให้ชนชั้นนำแบบ ultra-conservative&reactionary ของคณะ...ได้อ่านตัวบทนี้ [ถ้าพวกมันมี tolerance พอที่จะรับฟังความเห็นต่าง] เพื่อที่มันจะได้เข้าใจสิ่งที่นักศึกษากลุ่มหนึ่งในคณะ...ที่ progressive & revolutionary ออกมาต่อต้านโครงการรณรงค์ให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบ 'เป๊ะ' ผมดีใจที่นักศึกษาเหล่านั้นมี critical perspective พวกเขากล้าคิด กล้าวิพากษ์ กล้าตั้งคำถามกับอะไรก็ตามที่ established และคนส่วนใหญ่ยอมรับปฏิบัติตามอย่างไร้เดียงสา ผมหวังว่าคุณคงตามอ่านตัวบทนี้ทั้งหมดนะ

    ตอบลบ
  3. สิทธิที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นที่ผู้เขียนตัวบทยกตัวอย่างคือ สิทธิในฐานะที่เป็นพลเมืองอันมีศักยภาพที่คิดวิเคราะห์ กำหนดรสนิยมให้แก่ขีวิตขอวตน การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง มิพักต้องพูดถึงการแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
    ความอีกตอนหนึ่งของตัวบทนี้ก็คือ ...ในคณะที่น่าจะมีกบฎ มีเสรีชน และมีปรัชญาที่เป็นมิตรต่อเสรีภาพ อิสรภาพ อย่างคณะที่เรียนเกี่ยวกับศิลปะ กลับมีระบบโซตัส และการรับน้องที่โหดหินไม่แพ้คณะวิศวะหรือเกษตร หรือแม้แต่คณะรัฐศาสตร์ที่น่าจะศรัทธาต่อประชาธิปไตยกลับมีกลิ่นอายของลำดับชั้นอำนาจแบบมหาดไทยอยู่มากเสียจนเราเชื่อว่าเมื่อพวกเขาเรียนจบออกไปคงเป็นแขนขาที่มีประสิทธิภาพของระบบราชการอย่างปราศจากข้อกังขา...
    และหากการรับน้อง ระบบโซตัส ระบบอาวุโส ความภาคภูมิในในเครื่องแบบนักศึกษา ความฟูมฟายฟุ่มเฟือยในพิธีกรรมการรับปริญญาจะเป็นเครื่องชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยได้ สิ่งที่เราเห็นกันอยู่ในตอนนี้คืออากาศแบบอนุรักษ์นิยมบวกสายลม แสงแดด กำลังหวนคืนสู่สังคมอย่างเป็นระบบ
    ยิ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ มีชื่อเสียง ยิ่งต้องพิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องแบบ เข็มกลัด หัวเข็มขัดของมหาวิทยาลัยที่สังกัด คือเครื่องหมายบอกสถานะและชนชั้น...
    ที่รัฐบาลแถลงกคงมีส่วนถูกอยู่บ้างว่า พรก.ฉุกเฉินนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อ 'คนดีๆ' เพราะระบบการศึกษาเราได้ผลิตคน 'ดี' ออกมาสู่ตลาดมากเหลือเกิน หากคนดีๆจะหมายถึง คนที่ปรารถนาความขัดแย้ง รังเกียจการถกเถียง ไม่ตั้งคำถาม รักที่จะอยู่อย่างสงบ เกลียดการปะทะทางความคิด ไม่ปรารถนาจะได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ตั้งคำถามต่อผู้อาวุโส รู้สึกปลอดภัยภายใต้ระบบเส้นสายการอุปถัมภ์ของรุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนพ้องร่วมสถาบัน หวาดกลัวการถูกโดดเดี่ยว จึงไม่กล้าพูด คิด และทำในสิ่งที่ต่างจากคนส่วนใหญ่ มหาวิทบยาลัยมนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเก่าแก่หรือใหม่ถอดด้ามจึงหมดบทบาทในฐานะที่เป็นพลังทางปัญญาของสังคมโดยสิ้นเชิง...
    ผู้เขียนตัวบท [คำ ผกา] จบบทความนี้ว่า ฉันนั่งมองนักศึกษาที่สามารถเอาป้ายชื่อพร้อมหมายเลขประจำตัวคล้องคอเดินไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจ นั่งมองใบหน้าไร้เดียงสาของนักศึกษาปีหนึ่งในชุดพละและเป้ในเครื่องแบบเหมือนเด็กอนุบาลแล้ว มีเพียงประโยคเดียวที่พูดได้ในเวลานี้คือ ขอแสดงความยินดีกับระบอบอำนาจนิยม

    ตอบลบ