วันนี้เพิ่งซื้อและอ่านหนังสือรวมบทความของ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ชื่อ “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” ในเรื่องที่สองหรือบทความที่สอง “ไม่มีเมืองสระหลวงในสมัยสุโขทัย” (เคยตีพิมพ์ในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม เดือนเมษายน 2542) ได้อธิบายถึงความคลาดเคลื่อนของคำในสมัยหลัง จากการที่คนในสมัยหลังไม่เคยรู้จักกับคำคำนั้นมาก่อน โดยในเรื่องนี้ คือ ชื่อเมืองในสมัยสุโขทัยที่ชื่อว่า “สรลวงสองแคว” (อ่านว่า สะ-ระ-ลวง - เมืองพิษณุโลก) แต่ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์เกิดความคลาดเคลื่อนไปเป็น “สหลวงสองแคว” (น่าจะอ่านว่า สะ-หะ-หลวง) และต่อมาเป็น “สระหลวงสองแคว” ตามลำดับ และสุดท้ายถูกจับแยกเป็นสองเมือง คือ “สระหลวง” และ “สองแคว” โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาประวัติศาสตร์ไทย ทั้งที่จริงแล้วคือเมืองเดียวกัน จนนักวิชาการต่างพากันตามหาเมืองสระหลวง (รู้อยู่แล้วว่าเมืองสองแควคือพิษณุโลก) โดยพยายามใช้ชื่อเมืองที่แปลว่า สระขนาดใหญ่ เป็นตัวบ่งชี้สำคัญ (ซึ่งสุดท้ายก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าอยู่ที่ไหน เพราะมันไม่มี ฮี่ๆ) – ถ้าสนใจรายละเอียดทั้งหมดก็ลองหามาอ่านกัน ในเล่มมีทั้งหมด 12 เรื่อง ซึ่งให้ข้อโต้แย้งความคิดความเชื่อเดิมอย่างน่าสนใจและเป็นระบบระเบียบทางวิชาการ (เขาอ้างไว้)
เมื่ออ่านเรื่องนี้จบก็สะกิดใจถึงเรื่องแบบนี้ที่เคยผ่านสมองอืดๆของตัวเองไป เรื่องของเรื่องก็คือ ไปเจอชื่อคนที่ชื่อว่า ม.อีตีเมอร์ ปรากฏในประวัติเมืองจันทบุรี ดังนี้
“จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในประเทศไทย แต่เริ่มสร้างเมื่อใดไม่สามารถจะหาหลักฐานแน่นอนได้ ปรากฏหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ แคมโบช ซึ่งชาวฝรั่งเศสชื่อ ม.อิตีเมอร์ เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2444 ว่าได้มีบาทหลวงองค์หนึ่ง พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ที่ตำบลเขาสระบาป ในศิลาจารึกนั้นมีข้อความว่า เมื่อ 1,000 ปี ล่วงมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่า ควนคราบุรี เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ตั้งอยู่เชิงเขาสระบาป”
ข้อความเช่นนี้ (หมายความว่าเหมือนทุกตัวอักษร) ปรากฏในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจันทบุรีมากมาย (เช่น เว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้ไปคัดลอกข้อความข้างบนนี้มา) โดยไม่ได้อ้างถึงที่มา จึงทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วต้นฉบับมาจากแหล่งใด และชื่อ ม.อิตีเมอร์ ปรากฏครั้งแรกเมื่อใด แต่ถ้าจะให้เดาก็คงเป็นเรื่องในหนังสือ “ชุมนุมเรื่องจันทบุรี” เพราะหนังสือที่เขียนถึงประวัติเมืองจันทบุรีมีไม่กี่เล่ม
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าอีตาชาวฝรั่งเศสคนนี้เป็นใคร จะได้ไปค้นหนังสือต้นฉบับจริงๆมาดู ก็เลยเริ่มจากการแปลงคำว่า ม.อิตีเมอร์ ในภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็ได้ประมาณ M.Etimer, M.Iteemer, M.Itimer, ฯลฯ แล้วก็หาใน Google แต่ก็ล้มเหลว ไม่เจอชื่อนี้เลย แต่ยังเหลือเบาะแสอีกอย่าง คือ ชื่อหนังสือ “แคมโบช” (กัมพูชาในภาษาฝรั่งเศส) และปีที่พิมพ์ คือ พ.ศ.2448 คิดออกมาก็เป็น ค.ศ.1901 (ยังดีที่ใส่รายละเอียดมาบ้าง) ก็เลยลองค้นหาใน Google คราวนี้พอจะได้เบาะแสบ้าง แต่ชื่อหนังสือเป็น เลอ แคมโบช (Le Cambodge) ซึ่งพิมพ์เป็น 3 เล่ม ในช่วงปี 1900-1904 (ถ้าจำไม่ผิด) และคนแต่งกลายเป็น เอเตียน อายโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) แต่ปีที่พิมพ์มันใกล้เคียง ก็พอจะเดาได้ว่าคงมาถูกทางแล้ว
แต่จุดที่น่าสงสัยก็ คือ ทำไมชื่อคนแต่งถึงผิดพลาดไปได้ขนานใหญ่เช่นนี้ เมื่อสังเกตดีๆ ก็พบว่า ชื่อ Etienne นั้น ถ้าคนอ่านตาลายไปสักนิดเดียวก็อาจพลาดพลั้ง มองตัว n ที่ติดกันสองตัวเป็นตัว m ได้ และเมื่อรวมกับการแบ่งวรรคที่ผิดไปก็เลยกลายเป็น E-tie-me หรือ อิตีเมอร์ นั่นเอง (ตัว ร์ คงเติมเอง) ส่วน ม. นั้น เมื่อไม่ใช่ชื่อแล้ว ที่มาก่อนชื่อก็เหลือแค่คำนำหน้าชื่อ ถ้าภาษาอังกฤษก็เป็น มิสเตอร์ (Mister) แต่อายโมนิเยร์เป็นชาวฝรั่งเศส ดังนั้น ก็ต้องเป็นมองซิเออร์ (Monsieur) นั่นเอง
เหตุที่เกิดความคลาดเคลื่อนนี้ ก็คงเป็นเพราะผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีนั้น ไม่เคยได้รู้จักกับชื่อของเอเตียน อายโมนิเยร์มาก่อน เหมือนที่คนสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ (หมายถึง คนที่ศูนย์กลาง) ไม่เคยรู้จักชื่อเมืองสรลวงสองแคว จนที่สุดแล้วถูกแยกเป็นสองเมือง ยิ่งประกอบกับผู้เขียนคงเป็นคนรุ่นเก่าที่ไม่สันทัดภาษาฝรั่งเศสเท่าใดนักก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ หรืออีกแง่หนึ่ง ผู้เขียนอาจรู้ภาษาฝรั่งเศสพอสมควร ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เขียนนั้น ใช้คำว่ามองซิเออร์เอเตียน แทนที่จะเรียกชื่อ เอเตียน อายโมนิเยร์ แบบธรรมดา เพียงแต่อ่านชื่อผิดไป ขณะเดียวกัน ตัว n สองตัวในคำว่า Etienne ก็อาจจะชิดกันมาก จนทำให้ผู้เขียนเข้าใจผิดไปว่าเป็นตัว m จนกลายเป็น ม.อิตีเมอร์ไปในที่สุด
ก็คงสรุปอย่างง่ายๆว่า ม.อิตีเมอร์ เป็นคนเดียวกับ เอเตียน อายโมนิเยร์ แต่ผู้เขียนประวัติเมืองจันทบุรีคงไม่ได้รู้จักนามของนักโบราณคดีฝรั่งเศสคนนี้มาก่อนจึงอ่านผิด รวมถึงเหตุผลอื่นๆอย่างที่กล่าวไป ก็เลยทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในชื่อของอายโมนิเยร์ ก็หวังว่า ผู้ที่เจอกับชื่อ ม.อิตีเมอร์ โดยเฉพาะผู้สนใจศึกษาประวัติของเมืองหรือจังหวัดจันทบุรี แล้วสงสัยว่าเขาเป็นใครเผื่อจะได้ไปหาผลงานมาอ่านเพิ่มเติม ก็คงจะได้คำตอบอันเป็นที่น่าพอใจจากบทความนี้นะครับ
สุดท้าย ขอหยิบยกข้อความที่หน้าปกหนังสือฟื้นฝอยหาตะเข็บ ซึ่งกระชับและชัดเจนสำหรับการศึกษาทางประวัติศาสตร์มาลงไว้ด้วย “…หากหยิบหลักฐานดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์โบราณคดี…พิจารณาอย่างรอบคอบ ก็จะไม่ยากเลยที่จะพบเห็นความผิดพลาด…” ซึ่งบทความนี้ก็ได้ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆข้อหนึ่งไปแล้ว ^ ^
วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ความผิดแบบปรนัย (Objective)
หลังจากดูหนังเรื่อง หนีตามกาลิเลโอ มีอยู่ตอนหนึ่งที่เรย์ แม็คโดนัลด์ เถียงกับ ต่าย (season change) ต้องย้อนกลับไปก่อนทั้งคู่จะได้มาเถียงกันว่า ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์เพื่อเข้าใช้ห้องเขียนแบบและโดนพักการเรียน ก็เลยตัดสินใจชวนเพื่อนอีกคนคือ เต้ย ออกเดินทางไปยุโรป จนได้มาเจอเรย์ที่ฝรั่งเศส เอาล่ะ คงพอจะรู้ภูมิหลังไปแล้ว ก็ถึงประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ เรย์บอกว่า ที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์นั้นผิด และแน่นอนว่าก็คือผิดโดยไร้ข้อแก้ต่าง นั่นหมายความว่า ในความคิดของเรย์ มีความผิดแบบปรนัย (objective) ตายตัวอยู่
ในปัจจุบัน ความผิดแบบปรนัยที่ชัดเจนที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย รวมถึงความผิดที่อิงอยู่กับจารีต ประเพณี (อาจรวมถึงวัฒนธรรม เช่น ไม่ทำตามวัฒนธรรมอันดีงามของไทย) แน่นอนว่า ความผิดหลายสิ่งหลายอย่าง เราไม่เห็นด้วย อาทิ แม่ลูกอ่อนขโมยนมผงเพื่อเอาไปเลี้ยงลูกเพราะความจน การกระทำผิดเช่นนี้ได้รับความเห็นใจ และไม่อยากคิดว่าทำผิดจากสังคม และต้องการที่จะช่วยเหลือมากกว่าลงโทษหรือเอาผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะอธิบายกรณีนี้อย่างไร เพราะที่สุดแล้ว การลักขโมยที่เป็นความผิดตามกฎหมาย (รวมถึงตามจารีต) ก็ยังมีข้อหรือกรณียกเว้น (exception) ดังนั้น เราพอจะสรุปได้มั้ยว่าความผิดแบบปรนัย แท้จริงแล้วคือสิ่งที่ถูกสร้างว่าเป็นความผิด เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นที่สร้างคนผิด (เลว) และคนถูก (ดี) ขึ้นในสังคม และอีกเช่นกัน แท้จริงแล้ว การกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ก่อขึ้นก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการได้ทำสิ่งๆนั้น ถ้าไม่มีเรื่องของคุณค่า (ดี-เลว) รวมถึงเรื่องผิด-ถูก เข้าไป เพียงแต่อาจต้องการคำอธิบายที่สร้างความยอมรับให้แก่สังคม เพราะมนุษย์ต้อง (ถูกบังคับให้) อยู่ในสังคม และสังคมย่อมมีเรื่องคุณค่า เรื่องถูก-ผิด ในรูปของจารีต ประเพณี ดังนั้น มนุษย์ก็ยังคงต้องสร้างคำอธิบายแก่การกระทำของตน แม้จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ถ้ามนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคม
แล้วเรื่องที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์ล่ะ? นี่ก็แค่เรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคนที่เป็นครู กับนักเรียน (นักศึกษา) ซึ่งฝ่ายหนึ่ง (ถูกทำให้) ต้องรักษากฎระเบียบ อบรมสั่งสอนในทางที่สังคมต้องการ กับนักเรียนที่มักมีความคิดที่เหนือไปกว่านั้น แต่ก็พร้อมจะให้คำอธิบายในการกระทำของตน (ที่อาจารย์มักไม่ฟังเสมอ) ดังนั้น ถ้าไม่มีความผิดแบบตายตัวแล้ว ต่ายก็เพียงแค่อธิบายการกระทำของตนว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่สังคมรับไม่ได้เสียทีเดียว (อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ไม่เห็นความผิดอะไรถึงขั้นพักการเรียน) ขณะที่อาจารย์ ถ้าไร้ซึ่งความคิดที่โลกนี้มีความผิดแบบปรนัย ก็คงสามารถรับฟังคำอธิบายของต่ายได้ไม่ยาก และคงไม่ได้ข้ามโลกไปนั่งเถียงกับเรย์ที่ฝรั่งเศสเป็นแน่ ฮา..
สรุปแล้ว ความผิดแบบปรนัยก็เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมของผู้มีอำนาจ (ผู้ออกกฎหมาย ผู้นำสังคม ฯลฯ) เพื่อวัตถุประสงค์ (หรือข้ออ้าง) บางอย่าง เช่น รักษาความสงบของบ้านเมือง แต่จริงๆแล้ว กลับยังปรากฏกรณียกเว้น เนื่องจากการสร้างวาทกรรมย่อมกำหนดให้ทุกคนต้องเป็นไปตามนั้น และไม่ได้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย (เช่น วาทกรรมชาติไทย ที่คนในรัฐไทยเป็นเชื้อไทยไปเสียหมด) ซึ่งสะท้อนว่า ความผิดแบบปรนัยไม่มีจริง และสุดท้าย เราเพียงแค่ควรเปิดโอกาสให้แก่คำอธิบายของการกระทำในฐานะที่มนุษย์ต้องอยู่ในสังคม เป็นมนุษย์สังคม (จริงๆแล้วมันก็แค่การกระทำที่ไม่ได้ต้องการคำอธิบายอะไร) เพื่อให้เกิดความยอมรับ (หรือไม่ยอมรับ) ในการกระทำเท่านั้นใช่หรือไม่?
ในปัจจุบัน ความผิดแบบปรนัยที่ชัดเจนที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย รวมถึงความผิดที่อิงอยู่กับจารีต ประเพณี (อาจรวมถึงวัฒนธรรม เช่น ไม่ทำตามวัฒนธรรมอันดีงามของไทย) แน่นอนว่า ความผิดหลายสิ่งหลายอย่าง เราไม่เห็นด้วย อาทิ แม่ลูกอ่อนขโมยนมผงเพื่อเอาไปเลี้ยงลูกเพราะความจน การกระทำผิดเช่นนี้ได้รับความเห็นใจ และไม่อยากคิดว่าทำผิดจากสังคม และต้องการที่จะช่วยเหลือมากกว่าลงโทษหรือเอาผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะอธิบายกรณีนี้อย่างไร เพราะที่สุดแล้ว การลักขโมยที่เป็นความผิดตามกฎหมาย (รวมถึงตามจารีต) ก็ยังมีข้อหรือกรณียกเว้น (exception) ดังนั้น เราพอจะสรุปได้มั้ยว่าความผิดแบบปรนัย แท้จริงแล้วคือสิ่งที่ถูกสร้างว่าเป็นความผิด เป็นวาทกรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นที่สร้างคนผิด (เลว) และคนถูก (ดี) ขึ้นในสังคม และอีกเช่นกัน แท้จริงแล้ว การกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ก่อขึ้นก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการได้ทำสิ่งๆนั้น ถ้าไม่มีเรื่องของคุณค่า (ดี-เลว) รวมถึงเรื่องผิด-ถูก เข้าไป เพียงแต่อาจต้องการคำอธิบายที่สร้างความยอมรับให้แก่สังคม เพราะมนุษย์ต้อง (ถูกบังคับให้) อยู่ในสังคม และสังคมย่อมมีเรื่องคุณค่า เรื่องถูก-ผิด ในรูปของจารีต ประเพณี ดังนั้น มนุษย์ก็ยังคงต้องสร้างคำอธิบายแก่การกระทำของตน แม้จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ถ้ามนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคม
แล้วเรื่องที่ต่ายปลอมลายเซ็นอาจารย์ล่ะ? นี่ก็แค่เรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคนที่เป็นครู กับนักเรียน (นักศึกษา) ซึ่งฝ่ายหนึ่ง (ถูกทำให้) ต้องรักษากฎระเบียบ อบรมสั่งสอนในทางที่สังคมต้องการ กับนักเรียนที่มักมีความคิดที่เหนือไปกว่านั้น แต่ก็พร้อมจะให้คำอธิบายในการกระทำของตน (ที่อาจารย์มักไม่ฟังเสมอ) ดังนั้น ถ้าไม่มีความผิดแบบตายตัวแล้ว ต่ายก็เพียงแค่อธิบายการกระทำของตนว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่สังคมรับไม่ได้เสียทีเดียว (อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ไม่เห็นความผิดอะไรถึงขั้นพักการเรียน) ขณะที่อาจารย์ ถ้าไร้ซึ่งความคิดที่โลกนี้มีความผิดแบบปรนัย ก็คงสามารถรับฟังคำอธิบายของต่ายได้ไม่ยาก และคงไม่ได้ข้ามโลกไปนั่งเถียงกับเรย์ที่ฝรั่งเศสเป็นแน่ ฮา..
สรุปแล้ว ความผิดแบบปรนัยก็เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมของผู้มีอำนาจ (ผู้ออกกฎหมาย ผู้นำสังคม ฯลฯ) เพื่อวัตถุประสงค์ (หรือข้ออ้าง) บางอย่าง เช่น รักษาความสงบของบ้านเมือง แต่จริงๆแล้ว กลับยังปรากฏกรณียกเว้น เนื่องจากการสร้างวาทกรรมย่อมกำหนดให้ทุกคนต้องเป็นไปตามนั้น และไม่ได้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย (เช่น วาทกรรมชาติไทย ที่คนในรัฐไทยเป็นเชื้อไทยไปเสียหมด) ซึ่งสะท้อนว่า ความผิดแบบปรนัยไม่มีจริง และสุดท้าย เราเพียงแค่ควรเปิดโอกาสให้แก่คำอธิบายของการกระทำในฐานะที่มนุษย์ต้องอยู่ในสังคม เป็นมนุษย์สังคม (จริงๆแล้วมันก็แค่การกระทำที่ไม่ได้ต้องการคำอธิบายอะไร) เพื่อให้เกิดความยอมรับ (หรือไม่ยอมรับ) ในการกระทำเท่านั้นใช่หรือไม่?
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การพัฒนาของไทยกับงบด้านความมั่นคง (บทความรำลึก 14 ตุลา)
เนื่องในโอกาสครบรอบวันที่เผด็จการทหารสิ้นอำนาจ (ในทางทฤษฎี) จากการเมืองไทย จากเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อ 39 ปี กับ 1 วันที่แล้ว ตัวผู้เขียนไม่รู้ตื้นลึกหนาบางดีเท่ากับคนที่เกิดร่วมสมัย จึงอยากจะเขียนบทความก่นด่าทหารยุคปัจจุบันที่ใหญ่คับประเทศแทน เป็นการอุทิศแด่วีรชนที่ยืนหยัดกับคมกระสุน คมหอก คมดาบของเหล่าทหารของระบอบเผด็จการทหารในอดีต จนบาดเจ็บล้มตาย และสูญหาย
ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงจำนวนที่สูงมาก และหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย สิ่งที่เกิดควบคู่กันไปย่อมหนีไม่พ้นงบประมาณที่จะนำไปใช้พัฒนาประเทศที่น้อยลงเป็นเงาตามตัว คำถามสำหรับประเทศไทยวันนี้คือ งบประมาณด้านความมั่นคงจำเป็นต้องสูงขนาดนั้นหรือไม่? เราคงต้องดูกันว่างบด้านความมั่นคงสูงเพราะอะไร (จากปัญหาอะไร)? และสมเหตุสมผลหรือไม่?
ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญในอันดับต้นๆ และยืดเยื้อยาวนาน คือ ปัญหาชายแดนใต้ ปัญหานี้เกิดขึ้นแทบจะพร้อมๆกับการขีดเส้นรัฐ-ชาติ (Nation-state) ไทยใน พ.ศ.2435 ซึ่งได้ดูดเอาอำนาจท้องถิ่นทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง คือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหนึ่งในนั้นก็คือ อำนาจของเหล่าสุลต่านในคาบสมุทรมลายู ขณะที่ต่อมา ปัญหาถูกซ้ำเติมด้วยนักชาตินิยมอย่างจอมพล ป.พิบูลสงคราม (รวมถึงหลวงวิจิตรฯ) จนปัญหาลงสู่รากหญ้าอย่างเต็มตัว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างราชสำนักที่กรุงเทพฯ กับราชสำนักท้องถิ่นที่สูญอำนาจอีกต่อไป ขณะที่หลังวาทะ “โจรกระจอก” ของอดีตนายกฯทักษิณ ก็ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวประกาศตนว่าไม่ได้กระจอกอย่างลมปากนั้น ด้วยการก่อความไม่สงบอันนำไปสู่การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอย่างยากที่จะประเมินค่าได้อย่างต่อเนื่องและรุนแรง คำถามก็คือ รัฐไทยใช้งบกับปัญหานี้อย่างไร? แน่นอนว่า คำตอบต้องรวมค่าโง่หลายล้านบาทที่จ่ายไปกับเครื่องมือเต่าถุยที่ชื่อว่า GT200 และเงินเดือนที่ล่อให้ทหาร ตำรวจตาดำๆ (และจนๆ) ลงไปตายห่างไกลบ้านเกิดหลายร้อยกิโลฯ แล้วยังมีเงินที่ซื้ออาวุธให้ขบวนการปลดปล่อย (Liberation Movement) หยิบยืมไปใช้โดยไม่นำมาคืน และ ฯลฯ นี่คือผลงานของงบความมั่นคงที่ใช้ไปกับปัญหานี้ใช่หรือไม่? ท่านทั้งหลายคงสรุปเองในใจได้เองว่าคุ้มค่าหรือไม่ …
ปัญหาความมั่นคงต่อมาคือ ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหนีไม่พ้นกัมพูชากับปัญหาเขาพระวิหาร และดินแดนอื่นๆที่จะเป็นผลติดตามมาจากกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นระยะๆ และครั้งล่าสุดก็ช่วงไม่กี่ปีมานี้จนถึงปัจจุบัน (แม้จะซาๆลงไปบ้าง) แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นมรดกจากลัทธิอาณานิคม อันได้แก่ เจ้าอาณานิคมชื่อฝรั่งเศส ที่มาไล่เขมือบดินแดนแถบอินโดจีนและดินแดนของรัฐไทย แล้วงบที่ใช้กับปัญหานี้ล่ะ? เราไม่เห็นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากส่งทหารไปเป็นเป้านิ่งให้ทหารกัมพูชายิง ดังนั้น อย่ามาอ้างปัญหานี้เพื่อเรียกร้องงบบ้าบอคอแตก!
ปัญหาร่วมสมัยอีกปัญหา คือ ปัญหาการเมืองภายใน อันได้แก่ การชุมนุม และกลุ่มหัวรุนแรงที่ยังคง unidentified จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่คือข้อกังขากับการจัดงบมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่ไปจัดการ ทั้งที่ยังระบุเป้าหมายไม่ได้ … รวมถึงการจัดกำลังไปถล่มม็อบสีแดงเมื่อเมษา-พฤษภา เดือดที่ผ่านมา ทั้งที่ค่าเหนื่อยสูงลิ่วกับภารกิจพิเศษ แต่กำลังทหารกลับสังหารผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยมไปหลายศพ ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าเหนื่อยในการสลายม็อบตามหลักสากลเลยแม้แต่นิด แต่รัฐไทยก็รอดพ้นการประนามจากเวทีโลกในการปราบปรามผู้มีความคิดต่างทางการเมืองมาอย่างปาฏิหาริย์
ส่วนงบอีกอย่างที่ไม่เคยลดลง คือ การสั่งสมกำลังของกองทัพด้วยการเกณฑ์ทหาร โดยที่งบประมาณที่ใช้ไปนั้นมหาศาลในการจ่ายค่าแรงให้เด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์มาวิ่งเล่น ขัดรองเท้า ขับรถให้นายพล นายพันในกรมกอง แทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนาตนเองและประเทศ และจบด้วยการได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยรับใช้ชาติของ (วาทกรรม) ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ขณะที่รัฐไทยไม่ได้ทหารอาชีพมาประดับประเทศเสียด้วย (แต่เสียงบประมาณ และเสียบุคลากรไปโดยใช่เหตุ) แต่ประโยชน์ที่กองทัพคงมองเห็นคือ การดึงคนเข้าสู่กองทัพ การหลอมละลายคนให้เป็นกองทัพ (militarization) จนไม่คิดกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพอันเกรียงไกรของไทย และคิดเพียงกูจะปกป้องประเทศ (และชาติ) ของกูอย่างสุดชีวิตด้วยแรงชาตินิยมที่การเป็นทหารยัดใส่หัวพวกเขา (แค่ไม่ยัดก็ท่อง ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา) แล้วอย่างนี้เรียกว่าจำเป็นต้องคงงบอย่างนี้ไว้ใช่หรือไม่? ในการพัฒนาประเทศ เราต้องลดงบและขนาดกองทัพมิใช่หรือ? แต่ทำไมรัฐไทยจึงมุ่งไปในทางตรงข้าม ..
คำถามจึงเกิดว่า ควรเอางบด้านความมั่นคงที่ถลุงเล่นนี้ไปลงทุนในการพัฒนาประเทศหรือไม่? อย่างน้อยที่สุด เอาเงินเดือนพวกนี้ไปปรับปรุงการศึกษา ปรับปรุงระบบสาธารณสุข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และลดขนาดของกองทัพลง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ญี่ปุ่น ที่ไม่มีกองทัพ (ถูกบังคับให้ไม่มี) และสามารถใช้งบประมาณแผ่นดินไปในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่จนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญ คือ กองทัพไทยยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระดับสูงมาก และไม่มีทีท่าจะลดลง จึงเป็นไปได้น้อยที่เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะที่การพัฒนาก็ต้องพบกับนักการเมืองที่หิวโหย และพร้อมจะใช้งบประมาณที่เพิ่มมาจากงบความมั่นคงที่ลดลงเพื่อประโยชน์ของตน เลือดเนื้อของวีรชนเมื่อ 39 ปีก่อนกลับกลายเป็นสภาพปัจจุบันได้อย่างไร? เรารู้สึกชินชากับบทบาทของทหารในปัจจุบันได้อย่างไร? เรามุ่งพัฒนาประเทศหรือกองทัพกันแน่? หรือเหตุการณ์เมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนก็แค่เหตุการณ์ที่มีคนตาย และเราควรปล่อยให้วันหนึ่งทหารทำเช่นนั้นอีก ...
ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงจำนวนที่สูงมาก และหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย สิ่งที่เกิดควบคู่กันไปย่อมหนีไม่พ้นงบประมาณที่จะนำไปใช้พัฒนาประเทศที่น้อยลงเป็นเงาตามตัว คำถามสำหรับประเทศไทยวันนี้คือ งบประมาณด้านความมั่นคงจำเป็นต้องสูงขนาดนั้นหรือไม่? เราคงต้องดูกันว่างบด้านความมั่นคงสูงเพราะอะไร (จากปัญหาอะไร)? และสมเหตุสมผลหรือไม่?
ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญในอันดับต้นๆ และยืดเยื้อยาวนาน คือ ปัญหาชายแดนใต้ ปัญหานี้เกิดขึ้นแทบจะพร้อมๆกับการขีดเส้นรัฐ-ชาติ (Nation-state) ไทยใน พ.ศ.2435 ซึ่งได้ดูดเอาอำนาจท้องถิ่นทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง คือพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหนึ่งในนั้นก็คือ อำนาจของเหล่าสุลต่านในคาบสมุทรมลายู ขณะที่ต่อมา ปัญหาถูกซ้ำเติมด้วยนักชาตินิยมอย่างจอมพล ป.พิบูลสงคราม (รวมถึงหลวงวิจิตรฯ) จนปัญหาลงสู่รากหญ้าอย่างเต็มตัว ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างราชสำนักที่กรุงเทพฯ กับราชสำนักท้องถิ่นที่สูญอำนาจอีกต่อไป ขณะที่หลังวาทะ “โจรกระจอก” ของอดีตนายกฯทักษิณ ก็ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวประกาศตนว่าไม่ได้กระจอกอย่างลมปากนั้น ด้วยการก่อความไม่สงบอันนำไปสู่การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอย่างยากที่จะประเมินค่าได้อย่างต่อเนื่องและรุนแรง คำถามก็คือ รัฐไทยใช้งบกับปัญหานี้อย่างไร? แน่นอนว่า คำตอบต้องรวมค่าโง่หลายล้านบาทที่จ่ายไปกับเครื่องมือเต่าถุยที่ชื่อว่า GT200 และเงินเดือนที่ล่อให้ทหาร ตำรวจตาดำๆ (และจนๆ) ลงไปตายห่างไกลบ้านเกิดหลายร้อยกิโลฯ แล้วยังมีเงินที่ซื้ออาวุธให้ขบวนการปลดปล่อย (Liberation Movement) หยิบยืมไปใช้โดยไม่นำมาคืน และ ฯลฯ นี่คือผลงานของงบความมั่นคงที่ใช้ไปกับปัญหานี้ใช่หรือไม่? ท่านทั้งหลายคงสรุปเองในใจได้เองว่าคุ้มค่าหรือไม่ …
ปัญหาความมั่นคงต่อมาคือ ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหนีไม่พ้นกัมพูชากับปัญหาเขาพระวิหาร และดินแดนอื่นๆที่จะเป็นผลติดตามมาจากกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นระยะๆ และครั้งล่าสุดก็ช่วงไม่กี่ปีมานี้จนถึงปัจจุบัน (แม้จะซาๆลงไปบ้าง) แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นมรดกจากลัทธิอาณานิคม อันได้แก่ เจ้าอาณานิคมชื่อฝรั่งเศส ที่มาไล่เขมือบดินแดนแถบอินโดจีนและดินแดนของรัฐไทย แล้วงบที่ใช้กับปัญหานี้ล่ะ? เราไม่เห็นอะไรเป็นพิเศษ นอกจากส่งทหารไปเป็นเป้านิ่งให้ทหารกัมพูชายิง ดังนั้น อย่ามาอ้างปัญหานี้เพื่อเรียกร้องงบบ้าบอคอแตก!
ปัญหาร่วมสมัยอีกปัญหา คือ ปัญหาการเมืองภายใน อันได้แก่ การชุมนุม และกลุ่มหัวรุนแรงที่ยังคง unidentified จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่คือข้อกังขากับการจัดงบมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่ไปจัดการ ทั้งที่ยังระบุเป้าหมายไม่ได้ … รวมถึงการจัดกำลังไปถล่มม็อบสีแดงเมื่อเมษา-พฤษภา เดือดที่ผ่านมา ทั้งที่ค่าเหนื่อยสูงลิ่วกับภารกิจพิเศษ แต่กำลังทหารกลับสังหารผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยมไปหลายศพ ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าเหนื่อยในการสลายม็อบตามหลักสากลเลยแม้แต่นิด แต่รัฐไทยก็รอดพ้นการประนามจากเวทีโลกในการปราบปรามผู้มีความคิดต่างทางการเมืองมาอย่างปาฏิหาริย์
ส่วนงบอีกอย่างที่ไม่เคยลดลง คือ การสั่งสมกำลังของกองทัพด้วยการเกณฑ์ทหาร โดยที่งบประมาณที่ใช้ไปนั้นมหาศาลในการจ่ายค่าแรงให้เด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์มาวิ่งเล่น ขัดรองเท้า ขับรถให้นายพล นายพันในกรมกอง แทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนาตนเองและประเทศ และจบด้วยการได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยรับใช้ชาติของ (วาทกรรม) ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ขณะที่รัฐไทยไม่ได้ทหารอาชีพมาประดับประเทศเสียด้วย (แต่เสียงบประมาณ และเสียบุคลากรไปโดยใช่เหตุ) แต่ประโยชน์ที่กองทัพคงมองเห็นคือ การดึงคนเข้าสู่กองทัพ การหลอมละลายคนให้เป็นกองทัพ (militarization) จนไม่คิดกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพอันเกรียงไกรของไทย และคิดเพียงกูจะปกป้องประเทศ (และชาติ) ของกูอย่างสุดชีวิตด้วยแรงชาตินิยมที่การเป็นทหารยัดใส่หัวพวกเขา (แค่ไม่ยัดก็ท่อง ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา) แล้วอย่างนี้เรียกว่าจำเป็นต้องคงงบอย่างนี้ไว้ใช่หรือไม่? ในการพัฒนาประเทศ เราต้องลดงบและขนาดกองทัพมิใช่หรือ? แต่ทำไมรัฐไทยจึงมุ่งไปในทางตรงข้าม ..
คำถามจึงเกิดว่า ควรเอางบด้านความมั่นคงที่ถลุงเล่นนี้ไปลงทุนในการพัฒนาประเทศหรือไม่? อย่างน้อยที่สุด เอาเงินเดือนพวกนี้ไปปรับปรุงการศึกษา ปรับปรุงระบบสาธารณสุข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และลดขนาดของกองทัพลง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ญี่ปุ่น ที่ไม่มีกองทัพ (ถูกบังคับให้ไม่มี) และสามารถใช้งบประมาณแผ่นดินไปในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่จนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญ คือ กองทัพไทยยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระดับสูงมาก และไม่มีทีท่าจะลดลง จึงเป็นไปได้น้อยที่เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะที่การพัฒนาก็ต้องพบกับนักการเมืองที่หิวโหย และพร้อมจะใช้งบประมาณที่เพิ่มมาจากงบความมั่นคงที่ลดลงเพื่อประโยชน์ของตน เลือดเนื้อของวีรชนเมื่อ 39 ปีก่อนกลับกลายเป็นสภาพปัจจุบันได้อย่างไร? เรารู้สึกชินชากับบทบาทของทหารในปัจจุบันได้อย่างไร? เรามุ่งพัฒนาประเทศหรือกองทัพกันแน่? หรือเหตุการณ์เมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนก็แค่เหตุการณ์ที่มีคนตาย และเราควรปล่อยให้วันหนึ่งทหารทำเช่นนั้นอีก ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)