ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นรายงาน การวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
ถ้าหากยกข้อความบางตอนจากงานเขียนของคนอื่น (จะว่าก็อปแปะก็เอาเหอะ)
ไม่ว่าจะงานเงียนในหนังสือ บทความ หรืออินเตอร์เน็ต
ควรต้องมีการอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการให้ credit แก่ผู้เขียนด้วย
นอกจากนี้ หากเป็นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ก็ควรมีการอ้างว่าเอามาจากไหน
ทั้งเพื่อให้ credit เจ้าของข้อมูล และเพื่อปกป้องงานเขียนของตัวเอง เช่น ถ้าข้อมูลผิด ก็จะได้อ้างได้ว่า
มันผิดมาตั้งแต่เจ้าของข้อมูลนู่นแล้ว (แม้จริงๆจะเป็นความผิดของเราด้วยที่เลือกข้อมูลไม่ดีมาใช้ 555)
การอ้างอิงมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบอ้างในเนื้อหาที่เรียกว่า "นามปี" เช่น (กา กา, 2554: 24) คือ (ชื่อ นามสกุล, ปีที่พิมพ์: หน้า)
กับแบบตัวเล็กๆท้ายหน้ากระดาษ เรียกว่า "เชิงอรรถ" หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า "ฟุ๊ตโน๊ต" (footnote)
การอ้างอิงที่จะสอนวันนี้ คือ แบบที่ 2 หรือแบบฟุ๊ตโน๊ต นั่นเอง
โดยจะเป็นการอ้างอิงในโปรแกรม MS Word ver. 2007
วิธีการทำก็ง่ายมาก โดยเฉพาะ Word 2007 ขึ้นไป คือ
1. ให้คลิกที่ท้ายข้อความที่เรายกมาจากงานเขียนคนอื่นที่ต้องการอ้างอิง เพื่อให้มันมีแท่งกระพริบๆ
2. สังเกตแถบด้านบน จะพบแถบ References (word ภาษาไทยอาจใช้คำว่า การอ้างอิง)
3. เมื่อกดแถบนั้นแล้ว จะมีแถบด้านล่างให้เลือกเยอะแยะมาก แต่แบ่งเป็นส่วนๆ ให้ดูในส่วนที่ 2 ล่างสุดที่เขียนว่า Footnotes (ถ้าเป็น word ไทยคงใช้คำว่า เชิงอรรถ) ให้กดตรงลูกศรท้ายคำนั้น
4. พอกดแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมา ให้เลือกปุ่มซ้ายสุด คือ Insert
ส่วนตัวเลือกอื่นๆ ที่สำคัญ จะอธิบายสั้นๆ ดังนี้
- Location -> Footnote เป็นการให้เลือกว่าจะให้เชิงอรรถเราไปโผล่ที่ไหน ซึ่งก็คือ bottom of page หรือท้ายหน้ากระดาษ
- Format -> Number format ก็คือ เลือกจะใช้ชุดตัวเลขแบบไหน อาจเป็นเลขไทย (๑, ๒, ๓, ...) เลขอารบิก (1, 2, 3, ...) เป็นตัวอักษารภาษาอังกฤษ ซึ่งในที่นี้เป็นเลขอารบิก
- Format -> Start at คือ จะให้ตัวเลขมันเริ่มที่เท่าไร ในที่นี้เลือก 1 แต่ถ้าเราแยกไฟล์เป็นบทที่ 1, บทที่ 2, ..... ก็สามารถทำให้เลขมันต่อกันได้ด้วยเมนูนี้
5. พอกด Insert แล้ว ก็จะมีตัวเลขขึ้นมาหลังข้อความที่เราจะอ้าง แล้วก็มีตัวเลขอีกที่นึงด้านท้ายกระดาษ
6. ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การเขียนอ้างอิงที่มา ซึ่งคล้ายกับการเขียนบรรณานุกรม แต่เปลี่ยนจุด (.) เป็นจุลภาคหรือคอมมา (,) ทั้งหมด และต้องระบุหน้าด้วย เช่น
บรรณานุกรม -> กา กา. กากากา. กรุงเทพฯ: กากา, 2554.
อ้างอิง -> กา กา, กากากา, (กรุงเทพฯ: กากา), 2554, 3.
และที่สำคัญสำหรับนักเรียน คือ การอ้างจากอินเตอร์เน็ต เพราะห้องสมุดคงไม่มีหนังสือเพียงพอ ซึ่งการในเว็บไม่มีหน้า ปีก็หายาก เลยใส่ข้อมูลเป็น ชื่อคนแต่ง ชื่อเรื่อง เข้าถึงวันที่ และจากเว็บอะไร เท่านี้พอ
บรรณานุกรม -> กา กา. กากากา, เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2554 จาก http://kookkai.co.th.
อ้างอิง -> กา กา, กากากา, เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2554 จาก http://kookkai.co.th.
7. จากนั้นก็ปรับแบบฟ้อนต์ และขนาดฟ้อนต์ให้เข้ากับเนื้อหา โดยเนื้อหาปกติจะใช้ฟ้อนต์ขนาด 16 ในส่วนอ้างอิงก็จะใช้ขนาด 14
8. ถ้าแหล่งข้อมูลเป็นอันเดียวกัน ใช้คำว่า เรื่องเดิม หรือ เรื่องเดียวกัน ได้เลย
8. ถ้าแหล่งข้อมูลเป็นอันเดียวกัน ใช้คำว่า เรื่องเดิม หรือ เรื่องเดียวกัน ได้เลย
หวังว่าคงไม่ยากเกินไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น