วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ชำแหละแนวคิดแก้ ม.112: ว่าด้วยความเป็นสากล/ตะวันตก และการเป็น "นิติรัฐ" ที่แท้จริง


"มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"


คือไม่ได้ว่า ม.112 แตะไม่ได้ แต่เบื่อนักกฎหมายที่หัวคิดแข็งทื่อ คิดแต่จะต้องเป็นสากล เปรียบเทียบไทยแลนด์กับอีกหลายๆ แลนด์แล้วบอกว่าเราต้องปรับปรุง กฎหมายเรามันยังไม่ดี โอเคกฎหมายมันมีส่วนที่เป็นปัญหาจริงก็ว่ากันไป (โทษสูงไป เกิดการฟ้องร้องอย่างไร้ขอบเขต ฯลฯ) แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือทำไมเราต้องเดินตามตูดชาติอื่นไปเสียหมด ทำไมแก้กฎหมายไทยต้องไปลอกเมืองนอก ลอกแบบ (pattern) แต่เนื้อหาภายในเรามันไม่ใช่ เหมือนทุกวันนี้ที่ประชาธิปไตยของเรามันเริ่มจากการลอกฝรั่ง ผลก็เลยออกมาเละเพราะข้างในมันไม่ได้เป็นแบบที่ลอกมา หรือเพราะเส้นทางเกือบ 80 ปีของประชาธิปไตยไทยไม่ได้ทำให้คนไทยรู้จักตัวเอง และคิดแก้ปัญหาเองได้เลย

เอาเป็นว่า ถ้าเหตุุผลในการแก้กฎหมายมาตรานี้ของนักกฎหมายกลุ่มนี้อยู่ที่ประเด็นอยากเป็นสากล ผมว่ากลับไปคิดดูให้ดีๆ จะบอกว่าประเทศไทยเป็นมนุษย์ต่างดาวของโลกก็เอาเหอะ แต่ทุกประเทศมีอัตลักษณ์ มีตัวตน มีความแตกต่างกันมากมาย แล้วทำไมคุณถึงยังคงความแข็งทื่อทางความคิดแล้วบอกให้เราพุ่งตรงไปสู่จุดหมาย (สากล/ตะวันตก) เท่านั้น นี่มันความคิดแบบทำให้เป็นสมัยใหม่นิยม (Modernizationism) ชัดๆ ที่ต้องลอกคราบจารีตแบบเดิมออกให้หมด แล้วเอารูปแบบฝรั่ง (ที่ถูกตีตราว่าพัฒนา/ทันสมัย) มาสวมแทน คุณก็เห็นแล้วว่าทุนนิยม-อุตสาหกรรม สร้างปัญหาอย่างไรบ้างในโลกนี้ หรือเรื่องรัฐชาติ (Nation-State/รัฐเดียว-ชาติเดียว) ได้สร้างความแตกร้าวภายในประเทศต่างๆ มากมายแค่ไหน ถ้าคุณเห็นศพกองอยู่ตรงหน้าแล้วยังเดินหน้าก้าวตามไปเป็นศพต่อไป ผมคงต้องค้านแนวของคนกลุ่มนี้

อ่อ อีกประเด็นคือความตื่นตระหนกต่อจำนวนนักโทษที่กระทำความผิดกฎหมายมาตรานี้เพิ่มสูงขึ้นมาก และกรณีล่าสุด คือ คดีอากง ขอเรียนตรงๆว่า ถ้าผู้ต้องหาเหล่านั้นทำผิดจริงแล้วจะเต้นทำไม คือ ต้องแยกเรื่องคนทำความผิดถูกจับออกจากความเห็นใจ หรือความเหมือนทางอุดมการณ์ให้ออก และต้องแยกออกจากเรื่องปัญหาของตัวบทกฎหมายด้วย เพราะนั่นเป็นเรื่องของการรณรงค์แก้ไขต่อไป ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่จะนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษ อาจารย์บางคนถูกฟ้องคดีนี้แต่หลุดก็มี เพราะอัยการเค้าไม่ได้ดำเนินการมั่วซั่วถึงขนาดที่ฝ่ายสนับสนุนให้แก้ ม.112 อ้าง ขอเถอะว่าอย่าจุดประเด็นแล้วพาหลงประเด็นเพื่อเป้าหมายของกลุ่มตนอีกเลย (ออกแนวไปให้ถึงเป้าหมายโดยไม่เลือกว่าจะต้องใช้วิถีทางอย่างไร) ไม่ว่าจะอากง อาแป่ะ อาซิ้ม หรืออีก 108000 อา ก็ไม่อาจอยู่เหนือกฎหมายได้ นี่สิ "นิติรัฐ" ที่แท้จริง 


บ้านริมถนน AH123
16/01/2555 
21:01 น.

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีทำอ้างอิงใน Word


ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นรายงาน การวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
ถ้าหากยกข้อความบางตอนจากงานเขียนของคนอื่น (จะว่าก็อปแปะก็เอาเหอะ)
ไม่ว่าจะงานเงียนในหนังสือ บทความ หรืออินเตอร์เน็ต
ควรต้องมีการอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการให้ credit แก่ผู้เขียนด้วย
นอกจากนี้ หากเป็นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ก็ควรมีการอ้างว่าเอามาจากไหน
ทั้งเพื่อให้ credit เจ้าของข้อมูล และเพื่อปกป้องงานเขียนของตัวเอง เช่น ถ้าข้อมูลผิด ก็จะได้อ้างได้ว่า
มันผิดมาตั้งแต่เจ้าของข้อมูลนู่นแล้ว (แม้จริงๆจะเป็นความผิดของเราด้วยที่เลือกข้อมูลไม่ดีมาใช้ 555)

การอ้างอิงมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบอ้างในเนื้อหาที่เรียกว่า "นามปี" เช่น (กา กา, 2554: 24) คือ (ชื่อ นามสกุล, ปีที่พิมพ์: หน้า)
กับแบบตัวเล็กๆท้ายหน้ากระดาษ เรียกว่า "เชิงอรรถ" หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า "ฟุ๊ตโน๊ต" (footnote) 

การอ้างอิงที่จะสอนวันนี้ คือ แบบที่ 2 หรือแบบฟุ๊ตโน๊ต นั่นเอง
โดยจะเป็นการอ้างอิงในโปรแกรม MS Word ver. 2007

วิธีการทำก็ง่ายมาก โดยเฉพาะ Word 2007 ขึ้นไป คือ

1. ให้คลิกที่ท้ายข้อความที่เรายกมาจากงานเขียนคนอื่นที่ต้องการอ้างอิง เพื่อให้มันมีแท่งกระพริบๆ


2. สังเกตแถบด้านบน จะพบแถบ References (word ภาษาไทยอาจใช้คำว่า การอ้างอิง)


3. เมื่อกดแถบนั้นแล้ว จะมีแถบด้านล่างให้เลือกเยอะแยะมาก แต่แบ่งเป็นส่วนๆ ให้ดูในส่วนที่ 2 ล่างสุดที่เขียนว่า Footnotes (ถ้าเป็น word ไทยคงใช้คำว่า เชิงอรรถ) ให้กดตรงลูกศรท้ายคำนั้น


4. พอกดแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมา ให้เลือกปุ่มซ้ายสุด คือ Insert 


ส่วนตัวเลือกอื่นๆ ที่สำคัญ จะอธิบายสั้นๆ ดังนี้

- Location -> Footnote เป็นการให้เลือกว่าจะให้เชิงอรรถเราไปโผล่ที่ไหน ซึ่งก็คือ bottom of page หรือท้ายหน้ากระดาษ

- Format -> Number format ก็คือ เลือกจะใช้ชุดตัวเลขแบบไหน อาจเป็นเลขไทย (๑, ๒, ๓, ...) เลขอารบิก (1, 2, 3, ...) เป็นตัวอักษารภาษาอังกฤษ ซึ่งในที่นี้เป็นเลขอารบิก

- Format -> Start at คือ จะให้ตัวเลขมันเริ่มที่เท่าไร ในที่นี้เลือก 1 แต่ถ้าเราแยกไฟล์เป็นบทที่ 1, บทที่ 2, ..... ก็สามารถทำให้เลขมันต่อกันได้ด้วยเมนูนี้ 

5. พอกด Insert แล้ว ก็จะมีตัวเลขขึ้นมาหลังข้อความที่เราจะอ้าง แล้วก็มีตัวเลขอีกที่นึงด้านท้ายกระดาษ


6. ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การเขียนอ้างอิงที่มา ซึ่งคล้ายกับการเขียนบรรณานุกรม แต่เปลี่ยนจุด (.) เป็นจุลภาคหรือคอมมา (,) ทั้งหมด และต้องระบุหน้าด้วย เช่น

บรรณานุกรม -> กา กา. กากากา. กรุงเทพฯ: กากา, 2554.  

อ้างอิง -> กา กา, กากากา, (กรุงเทพฯ: กากา), 2554, 3.

และที่สำคัญสำหรับนักเรียน คือ การอ้างจากอินเตอร์เน็ต เพราะห้องสมุดคงไม่มีหนังสือเพียงพอ ซึ่งการในเว็บไม่มีหน้า ปีก็หายาก เลยใส่ข้อมูลเป็น ชื่อคนแต่ง ชื่อเรื่อง เข้าถึงวันที่ และจากเว็บอะไร เท่านี้พอ

บรรณานุกรม -> กา กา. กากากา, เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2554 จาก http://kookkai.co.th.

อ้างอิง -> กา กา, กากากา, เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2554 จาก http://kookkai.co.th.

7. จากนั้นก็ปรับแบบฟ้อนต์ และขนาดฟ้อนต์ให้เข้ากับเนื้อหา โดยเนื้อหาปกติจะใช้ฟ้อนต์ขนาด 16 ในส่วนอ้างอิงก็จะใช้ขนาด 14

8. ถ้าแหล่งข้อมูลเป็นอันเดียวกัน ใช้คำว่า เรื่องเดิม หรือ เรื่องเดียวกัน ได้เลย


หวังว่าคงไม่ยากเกินไปครับ