ภาพจาก http://dxing.at-communication.com/en/a5_bhutan/ |
วัดบนผาสูงเช่นนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในภูฏาน |
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ส่งต่อตำแหน่งแก่เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ภาพจาก http://www.boston.com/bigpicture/2008/11/bhutan_crowns_a_new_king.html |
อย่างไรก็ดี ภูฏานในรอบครึ่งทศวรรษที่ผ่านมากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่สิ่งใหม่ๆหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปี 2008
บรรยากาศการติดป้ายก่อนการเลือกตั้งสาธิต (mock election) ปี 2007 ก่อนเลือกจริงๆในปี 2008 ภาพจาก http://www.theage.com.au/news/world/poll-may-make-bhutan-grossly-nationally-unhappy/2007/04/27/1177459979137.html |
การศึกษาเกี่ยวกับภูฏานในปัจจุบันมีมากขึ้น ทั้งโดยนักวิชาการในและต่างประเทศ แม้จะยังคงมีการคัดกรอง (censor) ภายในประเทศอยู่ก็ตาม ผู้เขียนได้แปลบทคัดย่อบางบทความที่น่าสนใจมาลงไว้ ความจริงอยากอ่านบทความเต็มๆ แต่ด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงจึงทำได้เพียงอ่านและแปลบทคัดย่อ ซึ่งน่าจะช่วยเปิดมุมมองใหม่ต่อประเทศนี้ได้บ้าง
เนปาลและภูฏานในปี 2009: งานหนักในการเปลี่ยนผ่าน
มาเฮนทรา ลาโวติ (Mahendra Lawoti)
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในเนปาลและภูฏาน
เดินหน้าสู่ความท้าทายมากมายในปี 2009 ทั้งการรวมตัวของกองกำลังลัทธิเหมา (Maoist
combatants) การแบ่งขั้วของเหล่าพรรคการเมือง การเรียกร้อง
(assertion) ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น
และกองกำลังติดอาวุธที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด
ได้ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญและการมุ่งสู่ความมีเสถยีรภาพทางการเมืองล่าช้าออกไป
ส่วนในภูฏาน
การเรียกร้องสิทธิ์ทางสังคมต่อการจำกัดสิทธิ์และการเลือกปฏิบัติก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
Lawoti, Mahendra, ‘Nepal and Bhutan in 2009: Transition Travails?’, Asian Survey 50, 1 (2010), 164-72.
ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ภูฏาน: ภายใต้ม่านเงาของมิตรภาพอินเดีย-ภูฏาน
พรานาฟ คูมาร์ (Kumar, Pranav)
ภูฏานอยู่ระหว่างสองมหาอำนาจเอเชียอย่างอินเดียและจีน ซึ่งภูฏานต้องจัดการรับมือให้ดี ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Bhutan_%E2%80%93_People's_Republic_of_China_relations |
บทคัดย่อ
ในอดีต
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างภูฏานและจีนนั้นกระทำผ่านทิเบต แต่การเข้ายึดครองทิเบตของจีนและการลุกฮือในทิเบตทำให้ความหวั่นกลัวแทรกซึมเข้าสู่ภูฏาน
อันเป็นเหตุให้ต้องปิดพรมแดนทางเหนือในปี 1960 อย่างไรก็ดี
ภูฏานได้ปรับมาใช้นโยบายที่เปิดมากขึ้นในทศวรรษ 1970 และค่อยๆเพิ่มการติดต่อระหว่างเพื่อนบ้านทั้งสอง
(ภูฏานและจีน - ผู้แปล) การพูดคุยเรื่องพรมแดนซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1984 มีผลให้เกิดข้อตกลง
(agreement) ในปี 1998 เพื่อคงไว้ซึ่งสันติภาพและความสงบสุขตามแนวชายแดน
ขณะที่จีนและภูฏานไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตหรือการค้าตามกฎหมาย (legal trade) แต่ความสนใจของจีนต่อภูมิภาคเอเชียใต้รวมทั้งภูฏานก็ได้เติบโตขึ้น ดังนั้น ภูฏานจึงเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
(dilemma) ในการไม่ทำให้กระทบความสนใจและความรู้สึก (sentiments)
ของเพื่อนดั้งเดิมอย่างอินเดีย
ขณะที่ในเวลาเดียวกันก็ต้องตอบสนองต่อการติดต่อและการแก้ปัญหาชายแดนอย่างสันติและเร่งด่วนกับจีน
ในความสัมพันธ์ระหว่างจีนและภูฏาน (Sino-Bhutanese relationship) ปัจจัยจากอินเดียยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด
พลวัต (dynamics) ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียและความสนใจและการดำเนินการทางยุทธศาสตร์ของอินเดียและจีนในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยจะเป็นส่วนสำคัญมากต่อการร่างนโยบายต่างๆของภูฏานต่อจีน
Kumar Pranav, ‘Sino-Bhutanese Relations: Under the Shadow of India–Bhutan Friendship’, China Report 46, 3 (2010), 243-52.
Brooks, Jeremy S., ‘Buddhism, Economics, and Environmental Values: A Multilevel Analysis of Sustainable Development Efforts in Bhutan’, Society & Natural Resources: An International Journal 24, 7 (2010), 637-55.
ระบบคุณค่าทางพุทธศาสนา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม: การวิเคราะห์แบบพหุระดับของความพยายามพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูฏาน
เจเรมี เอส. บรู๊คส์ (Brooks, Jeremy S.)
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มักปฏิเสธผลกระทบต่างๆของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่อวัฒนธรรมดั้งเดิม
ขณะที่นักวิจัยบางคนชี้ว่าการพัฒนาช่วยให้ระบบคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม (environmental
values) ดีขึ้น แต่ (นักวิจัย) คนอื่นๆยังคงยืนยันว่ามันคุกคามความเชื่อดั้งเดิมและบรรทัดฐาน
(norms) ซึ่งโอบอุ้มความนับถือต่อสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้ ผม (ผู้เขียนบทความ)
พบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ ศาสนา
และบรรทัดฐานในชุมชนเชื่อมโยงกับคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมอย่างไรใน 13 หมู่บ้าน ใน 3
ชุมชน
ในภูฏาน การใช้การวิเคราะห์ทางสถิติการถดถอยโลจิสติกแบบพหุระดับ (multilevel
logistic regression) วิเคราะห์ 4 ปัญหาเกี่ยวกับระบบคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม และพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นปัจจัยทางศาสนาที่เป็นตัวชี้นำที่เหนือกว่า
(หรือมีผลมากกว่า – ผู้แปล) ต่อคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนแนวคิด
“การอนุรักษ์และการพัฒนา” และมากไปกว่านั้น บรรทัดฐานของชุมชนดั้งเดิมได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เล็กน้อยกับระบบคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ดี บรรทัดฐานต่อสิ่งแวดล้อมในระดับชาติซึ่งเป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลและบางส่วนวางอยู่บนพื้นฐานของหลักพุทธศาสนาอาจกำลังถูกทำให้ปรากฏออกมา
แม้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจจะสำคัญอย่างชัดเจน
แต่แนวคิดการพัฒนาของภูฏานชี้ให้เห็นฉันทามติในแนวดิ่ง (top-down
commitment) ต่อสิ่งแวดล้อมที่แสดงออกด้วย (couched in) คำสอนทางศาสนาอาจช่วยสนับสนุนระบบคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น